วันที่ 29 มนาคม 2566 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า
ไวรัสหลายชนิดที่ก่อโรคในมนุษย์เป็นไวรัสที่รับเชื้อมาจากสัตว์ตัวกลางโดยตรง โดยไวรัสมักจะก่อโรคในมนุษย์บางชนิดรุนแรงมาก เช่น ไวรัส Marburg, Nipah, Rabies หรือ H5N1 แต่ส่วนใหญ่แล้วไวรัสมักจะหยุดที่คนที่ได้รับเชื้อมา และ ไม่มีการแพร่ต่อจากคนสู่คน ถ้ามีก็จะอยู่ในวงที่จำกัด มีไวรัสบางชนิดเท่านั้นที่สามารถกระโดดจากสัตว์สู่คนแล้วกลายเป็นไวรัสของคนไปได้ในที่สุด ที่ชัดเจนที่สุดคือ HIV-1 จากลิง และ SARS-CoV-2 จากสัตว์ตัวกลางที่ยังไม่ตกลงว่าเป็นตัวอะไรกันแน่ ภาพนี้จะเห็นว่า โรคพิษสุนัขบ้า หรือ Rabies เป็นโรคที่ติดคนได้ แต่คนที่ติดเชื้อไม่เคยแพร่เชื้อต่อให้คนอื่นได้เลย ส่วนไวรัสอื่นๆก็มีโอกาสติดจากคนสู่คนได้มากน้อยต่างกันตามสีที่แสดงในภาพ
ประเด็นที่สำคัญคือ ไวรัสมีวิวัฒนาการเช่นเดียวกันข้อมูลในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต เช่น ไวรัสฝีดาษลิง ซึ่งยังอยู่กลุ่มสีเหลือง (moderate) อาจเข้มขึ้น แพร่ได้ง่ายขึ้นระหว่างคน จนกลายเป็นโรคของคนได้ในที่สุดเช่นกัน ไวรัสจะเปลี่ยนโฮสต์ได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสมครับ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี