“สงกรานต์มอญปากลัดหรือเมืองพระประแดง” สงกรานต์มอญรามัญเมืองนครเขื่อนขันธ์ จากบรรพชนมอญ มาสู่ลูกหลานที่ร่วมสืบสานอนุรักษ์รักษาไว้นานกว่า 200 ปี
18 เมษายน 2566 งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง หรือสงกรานต์ปากลัด จัดถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของชาวมอญหรือรามัญที่มีชื่อเสียง เป็นงานประเพณีเก่าแก่ของบรรพบุรุษชาวรามัญ หรือชาวมอญเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปัจจุบันคือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมืองนครเขื่อนขันธ์ สร้างเมืองขึ้นตั้งแต่ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ราชวงศ์จักรี ดังนั้นงานประเพณีสงกรานต์เมืองนครเขื่อนขันธ์หรือ อำเภอพระประแดง จึงนับว่าเป็นงานประเพณีท้องถิ่นเก่าแก่ ตกสืบทอดกันมามีอายุนานกว่า 200 ปี ในปี พ.ศ.2566
ในช่วงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี โดยพระองค์ได้ทรงสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์หรือ อ.พระประแดงในปัจจุบันเมื่อช่วงปี พ.ศ.2358 และในกาลครั้งนี้พระองค์ได้ทรงให้อพยพชาวมอญสามโคก เมืองปทุมธานี ซึ่งเป็นกลุ่มของพระยามหาโยธา(เจ่ง) หรือพระยาเจ่ง ประมาณ 300 ครอบครัว เดินทางมาปลูกบ้านเรือนอาศัยเป็นหมู่บ้านชาวมอญจำนวน 13 หมู่บ้านรวมกันอยู่ในพื้นที่ตัวเมืองนครเขื่อนขันธ์
โดยภายหลังจากสร้างบ้านเรือยอยู่อาศัยแล้วกลุ่มชาวมอญกลุ่มนี้ได้มีการนำขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมประเพณีของชนชาวมอญนำติดมาด้วย และได้มีการจัดการแสดงละเล่นร่วมอนุรักษ์รักษาตลอดมาตราบจนถึงทุกวันนี้ และได้พยายามสืบสานต่อกันด้วยการจัดกิจกรรมท้องถิ่นที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่รู้ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ทั้งชาวไทยและต่างประเทศรู้จักงานสงกรานต์มอญพระประแดงกันดี อาทิเช่น ขบวนแห่นกแห่ปลา ขบวนแห่นางสงกรานต์เมืองมอญพระประแดง ประเพณีการกวนกาละแมมอญ ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ การแสดงการเล่นสะบ้ารามัญตามหมู่บ้านมอญกว่า 13 หมู่บ้านในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์
ซึ่งประชาชนเชื้อสายชาวไทยรามัญพระประแดงนั้นได้พยายามร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้นเป็นประจำทุกปีจนถือกันเป็นประเพณีร่วมรักษาอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงามให้คงอยู่เป็นที่ภาคภูมิใจแก่ลูกหลานชาวไทยรามัญเมืองมอญพระประแดงได้สืบทอดกันจนทุกวันนี้
นางจิระพร วชิรเขื่อนขันธ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพระประแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ในฐานะประธานการจัดงานสงกรานต์พระประแดงปี 2566 กล่าวว่า “จังหวัดสมุทรปราการร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานฉะเชิงเทรา ข้าราชการอำเภอพระประแดง ส่วนราชการท้องถิ่นเทศบาลเมืองพระประแดง เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอพระประแดง พ่อค้า ประชาชนและกลุ่มภาคเอกชน ร่วมจัดงานประเพณีสงกรานต์สงกรานต์ปากลัดหรือสงกรานต์พระประแดง ประจำปี 2566 โดยกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-23 เมษายน 2566 ตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไปบริเวณตัวอำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ“
ซึ่งงานประเพณีสงกรานต์พระประแดงนับว่าเป็นงานประเพณีเก่าแก่อายุนานเกือบ 200 ปี สืบทอดกันมาตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ประชาชนในท้องถิ่นร่วมกันอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่สืบไป จนกลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และได้รับการยกย่องให้เป็นงานประเพณีวัฒนธรรมปรเพณีที่สวยงามระดับชาติ ช่วยสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรปราการในแต่ละปีที่ผ่านมา สำหรับหัวใจหลักของงานประเพณีสงกรานต์ปากลัดหรือสงกรานต์พระประแดง โดยในวันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2566
ซึ่งมีการจัดงานนั้นในช่วงภาคเช้าจะมีพิธีการทำบุญเลี้ยงพระตามประเพณีเก่าแก่ของบรรพบุรุษชาวมอญเมืองนครเขื่อนขันธ์หรือ อ.พระประแดง ที่บริเวณด้านหน้าที่ว่าการ อ.พระประแดง จากนั้นในช่วงตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นวันสำคัญของงานประเพณีในปี 2566 ของงานประเพณีสงกรานต์ปากลัดหรือสงกรานต์พระประแดง โดยมี นายศุภมิตร ชินศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดงาน และร่วมขบวนแห่นางสงกรานต์และขบวนรถบุปผาชาติที่สวยงามเด่นสง่าตระการตา เป็นเอกลักษณ์จำนวนกว่า 13 ขบวน
โดยเคลื่อนขบวนออกจากหน้าโรงเรียนอำนวยวิทย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ขากนั้นจะเคลื่อนขบวนไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนพระราชวิริยาภรณ์ไปสิ้นสุดขบวนที่บริเวณวัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่ประชาชนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวมอญพระประแดงนั้นเคารพนับถือ ทั้งนี้เพื่อประกอบพิธีกรรมการปล่อยนกปล่อยปลา ตามความเชื่อของบรรพบุรุษชาวมอญพระประแดง อันเป็นการร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลในวันสงกรานต์ชาวมอญพระประแดงแต่ละปีมาจนทุกวันนี้
นอกจากนี้ภายในการจัดงานยังมีกิจกรรมจำนวนมาก เชิญเที่ยวชมการละเล่นพื้นเมือง(สะบ้ารามัญ) ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า และตามหมู่บ้านรามัญ อ.พระประแดง การแสดงทะแยมอญ ประเพณีการกวนกาละแมของดีเมืองพระประแดง และเลือกชิมอาหาร ขนมพื้นบ้าน ทีมีรสชาติอร่อย หอมหวานและสะอาดนานาชนิด จึงขอเชิญมาเที่ยวชมงานประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยรามัญเชื้อสายชาวมอญปากลัด”
นายโชติพงศ์ เปล่งวิทยา นายอำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า “ในเรื่องของการดูแลรักษาความปลอดภัยของประชาชนจำนวนมากที่เดินทางเที่ยวชมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ปี 2566 โดยเฉพาะการเล่นสาดน้ำสงกรานต์และปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ได้มอบหมายให้ พ.ต.อ.ประเสริฐสุข เฮงสุวรรณ ผกก.สภ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ประสานการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 2 กองร้อย มาร่วมกับกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอำเภอพระประแดง สารวัตรทหารเรือเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจน้ำ และกำลังเจ้าหน้าที่จากสถานีตำรวจใกล้เคียง สมาชิกอาสาสมัครนักวิทยุสมัครเล่น(วีอาร์)จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 500 นาย จัดกำลังวางแผนงานคอยดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพื้นที่การจัดงานสงกรานต์พระประแดงตั้งแต่ช่วงวันที่ 21 – 23 เมษายน 2566
พร้อมขอความร่วมมือด้านการจราจรของเจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่ใกล้เคียง สภ.สำโรงใต้ สภ.พระสมุทรเจดีย์ สน.ราษฏร์บูรณะ และ สน.ทุ่งครุ หน่วยรถกู้ชีพโรงพยาบาลบางจาก โรงพยาบาลบางปะกอก 3 อาสาสมัครของมูลนิธิป่อเต็กตึ้งและอาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญู จัดกำลังร่วมกันเข้ามาดูแลทุกพื้นที่ของการจัดงาน เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นจนกว่าเสร็จสิ้นภาระกิจของการจัดงานในปี 2566 ดังนั้นในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ปี 2566 นี้ซึ่งจะมีวันหยุดหลายวันจะมีประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก โดยสารเรือเพื่อท่องเที่ยวทางน้ำ ทั้งในแม่น้ำเจ้าพระยาและลำคลองต่างๆทำให้การเดินเรือในช่วงดังกล่าวคับคั่ง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่จะเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันเวลาดังกล่าว ทางสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 สาขาสมุทรปราการ ได้กำหนดมาตรการรองรับโดยได้ประสานขอความร่วมมือจากเรือสินค้าขนาดใหญ่ ที่นำเรือเข้า - ออก บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขอให้เดินเรือช้าๆ เพื่อป้องกันอันตรายต่อเรือของนักท่องเที่ยว พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจสภาพของท่าเรือ โป๊ะ เรือรับจ้าง หากพบว่าชำรุด ก็จะให้หยุดให้บริการจนกว่าจะซ่อมแซมเสร็จ รวมทั้ง ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิต
อาทิ เสื้อชูชีพ ห่วงยาง ให้เพียงพอ นอกจากนั้น ยังได้นำเรือตรวจการณ์ออกตรวจตรา และจัดเจ้าหน้าที่ดูแลตามโป๊ะและท่าเรือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชน
โดยเฉพาะในช่วงระหว่างวันที่ 21-23 เมษายน 2566 ที่จะมีการจัดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ดังนั้นชาว อ.พระประแดง จึงขอเชิญชวนประชาชนมาเที่ยวชมงานประเพณีที่เก่าแก่ของชาวไทยรามัญ อ.พระประแดง เชื้อสายชาวมอญปากลัด ที่จัดได้เลยว่ามีความสวยงาม เก่าแก่และเป็นเอกลักษณ์สืบทอดกันมาช้านานได้จนยอมรับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งสุดท้ายงานสงกรานต์ของไทยในแต่ละปีที่จัดกันมาต่อเนื่องมานานกว่า 200 ปี.012
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี