สานต่อ‘ขนมไทย’ หนุ่มน้อยม.5ปรับสูตรธุรกิจ ส่งความเป็นไทยสู่แพลตฟอร์มออนไลน์
กวิน เศวตวาณิช เด็กนักเรียนชั้น ม.5โรงเรียน NIST International เติบโตในครอบครัวไทยโบราณที่มีบ้านญาติเพิ่มขึ้น การพบปะกับปู่ย่าตายายและพี่น้องกลายเป็นกิจวัตรที่น่ายินดี ในช่วงล็อกดาวน์จากโควิด-19 กวินใช้เวลาอยู่ที่บ้าน สังเกตความสันโดษที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ ทำให้เขาเริ่มโครงการต่างๆ มากมาย กวินเล็งเห็นความยากลำบากธุรกิจอาหารของคุณยายมัง จึงริเริ่มนำ ขนมไทยออกนำเสนอขาย online เพื่อช่วยโปรโมตสินค้าจากครอบครัว โดยใช้ แพลตฟอร์มออนไลน์
อาทิการทำ "ข้าวตังเมี่ยงลาว" ซึ่งเป็นอาหารว่างของคนภาคกลาง มีความครบถ้วนของสารอาหารหลัก ได้แก่ โปรตีนจากหมูสับ กุ้งแห้ง และ ถั่วลิสง ไขมันจากน้ำมันพืชที่ใช้ทอดและผัดไส้เมี่ยง ส่วนคาร์โบไฮเดรตก็ได้จากข้าวตัง และได้ใยอาหารจากผัก การกินข้าวตัง ข้าวตังเมี่ยงลาวประกอบด้วย ข้าวตัง และเมี่ยงลาวเป็นคำๆ แต่เดิมนั้นเมี่ยงมีลักษณะเป็นคำเล็กขนาดปลายนิ้วชี้ สีดำซึ่งเป็นสีของใบพลูหรือใบชาที่หมักและดองไว้ มีรสเปรี้ยวใช้สำหรับห่อไส้เมี่ยง ต่อมามีการดัดแปลงใช้ใบผักกาดดองเปรี้ยวแทน เนื่องจากใบพลูหรือใบชาหมักหายากขึ้น ส่วนไส้เมี่ยงนั้นปัจจุบันเป็นไส้เดียวกับขนมสาคู คือ เป็นหัวไชโป๊กับถั่วลิสงเคี่ยวกับน้ำตาลและน้ำปลา แต่จากข้อมูลของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ได้เขียนไว้ว่าไส้เมี่ยงที่แท้ จริงจะใช้หมูสับหยาบ ผัดใส่น้ำปลา น้ำตาล แล้วคลุกมะขามเปียกสับลงไปให้มีรสเปรี้ยว เค็มหวาน ใส่กากหมูหั่นละเอียด กุ้งแห้งทอด ขิง หอม กระเทียมเจียว คลุกลงไป
ส่วนกรรมวิธีทำข้าวตังนั้นจะใช้ ข้าวเหลือก้นหม้อหรือก้นกระทะที่ใช้หุงข้าวแซะออกมาให้เป็นแผ่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำไปทอดให้ฟู ปัจจุบันคงจะหาข้าวตังกินยากขึ้น เพราะหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ที่ใช้หุงตามบ้านมีเทปลอนหรือสารเคลือบไม่ให้ข้าวติดหม้อก็เลยไม่มี ข้าวตัง แต่ถ้าหุงแบบเดิม ใช้หม้อธรรมดา หุงแบบเช็ดน้ำหรือไม่เช็ดน้ำ มีการอังไฟให้ข้าวแห้งก็จะได้ข้าวตังติดก้นหม้อ
โดยรวมแล้ว "ข้าวตังเมี่ยงลาว" เป็นอาหารว่างที่จัดว่ามีความครบถ้วนของสารอาหารหลัก ได้แก่ โปรตีนจากหมูสับ กุ้งแห้ง และ ถั่วลิสง ไขมันจากน้ำมันพืชที่ใช้ทอดและผัดไส้เมี่ยง ส่วนคาร์โบไฮเดรตก็ได้จากข้าวตัง และได้ใยอาหารจากผักอยู่บ้างเล็กน้อย การกินข้าวตังเมี่ยงลาวเป็นอาหารว่างก็จะได้สารอาหารสมดุลที่ดี ข้าวตังเมี่ยงลาวจึงเป็นอาหารว่างทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งในบรรดาอาหารว่างหลายๆ ชนิด ที่ดีต่อสุขภาพ
การทำ ปั้นขลิบปลานึ่งสด ปั้นขลิบเมนูของว่างแบบไทยๆหาทานยากมาฝากกัน ใครที่เคยทานปั้นขลิบคงจะคุ้นเคยกับ ปั้นขลิบแบบทอด ซึ่งวันนี้เราจะชวนเพื่อนๆมาทานแบบนึ่งกันบ้าง ซึ่งก็จะอร่อยคนละแบบกับการนำไปทอด เหมาะกับเทรนรักสุขภาพ
ปั้นขลิบคุณยายมัง เป็นสูตรโบราณส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น รสชาติดั้งเดิม ละเมียดละไมในการทำ ปั้นขลิบ หมายถึง เก็บริบขอบแป้งที่ห่อไส้ขนมด้วยการพับม้วน
“ปั้นขลิบไส้ปลา” หรือที่หลายๆคนมักชอบเรียก"ปั้นสิบ" ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันผิดๆ ที่ถูกต้อง ควรเรียก "ปั้นขลิบ" เพราะเราจะขลิบริมแป้งหลังจากปั้น ไส้ทำมาจากปลาช่อน เพราะคนสมัยก่อน มักจะทำปลามาประกอบอาหารเป็นซะส่วนใหญ่ นำปลาช่อนมาย่างให้หอม ปลาสด สะอาดแกะเอาแต่เนื้อ นำมาผสมกับข่าเพื่อดับกลิ่นคาว ผัดกับกะทิและสามเกลอ ปรุงรสง่ายๆ ด้วย น้ำปลาและน้ำตาลมะพร้าว นำแป้งบางๆและนุ่มมาห่อ นำไปนึ่งให้พอสุก รับประทานร้อนๆ กับผักกาดหอม พริกขี้หนูสวนสดๆ และกระเทียมเจียวหอม สมัยนี้หาซื้อทานได้ยากเพราะขั้นตอนการทำละเอียด การขลิบต้องใช้คนชำนาญ ถึงจะทำให้อร่อย
ยังไม่เพียงเท่านี้ หนุ่มน้อยกวินยัง ทำผลงานกับเพื่อนในโครงการชื่อว่า “เด็กขอร้อง” “Dekkorrong” เป็นการจัดทำ มิวสิกวิดีโอและซีรีส์ซิงเกิ้ล ลงในช่อง YouTube ช่วงโควิด -19 โรคระบาดโดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับผู้สูงอายุและเด็กๆ ในขณะที่พวกเขาต้องกักตัวอยู่บ้าน ผลพลอยได้คือการระดมทุน ดังนั้น กวิน จึงบริจาคสิ่งจำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และความช่วยเหลือของพวกเขาเพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานในภาคสนามได้อย่างมีประสิทธิภาพและรักษาตัวเองให้ปลอดภัยจาก COVID-19 เรามาร้องเพลงด้วยกัน สู้ covid-19 ไปด้วยกัน สุขภาพดีไปด้วยกัน ตอนนี้เรากลับมาสู่สภาวะเกือบปกติแล้ว แต่โครงการเด็กขอร้องยังคง เดินสาย ร้องเพลง ขับกล่อม และให้ความบันเทิงในสถานพักฟื้นผู้สูงอายุ โรงพยาบาล บ้านเด็กด้อยโอกาส โดยสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ดนตรีบำบัดสำหรับทุกเพศทุกวัย
สามารถติดตามผลงานของน้องกวินได้ที่ https://24winnies.wixsite.com/kalamang และ ช่อง Youtube https://www.youtube.com/@dekkorrong6924
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี