3 พฤษภาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศและสีสันความสนุกสนาน กับขบวนบวชนาคโหดของชาวบ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงข้างขึ้นเดือน 6 ปีนี้ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 ปีนี้มีชายหนุ่มในหมู่บ้านที่อายุครบ 20 ปี ร่วมบรรพชา 8 รูป เริ่มจากในตอนเช้าจะเป็นการให้ผู้เป็นพ่อและแม่ปลงผมให้ที่บ้านตัวเอง ในตอนบ่ายจะมารวมกันที่วัดตาแขกซึ่งเป็นวันประจำหมู่บ้าน
เพื่อประกอบพิธีไหว้ศาลตาปู่ประจำหมู่บ้าน ประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญนาค ภาคบ่ายนายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เปิดการแห่นาคโหด มีชาวบ้านนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัด และต่างจังหวัด รวมถึงชาวต่างชาติ เดินทางไปรอชมขบวนแห่นาคโหด จนแน่นบริเวณลานวัดตาแขก เลขที่ 333 บ้านโนนเสลา ต.หนอตูม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ เริ่มด้วยการรำในชุดแห่นาคโหดของหญิงสาวบ้านโนนเสลา กว่า 100 คน
สีสันความสนุกสนาน ของการแห่นาคโหดของชาวบ้านโนนเสลา จะไปอยู่ที่เมื่อบรรดาญาติ เพื่อนฝูงของนาคแต่ละคน จะนำนาคขึ้นนั่งบนแคร่ที่มีคานหามและนาคจะถูกเซิ้ง(ถูกโยน)แห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน มีทั้งโยก-โยน-ยก-เหวี่ยงคานหาม ไปตามจังหวะดันตรีอันเร่าร้อนของดนตรีอีสานของรถแห่
โดยคนแห่นาคส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อนกัน จึงมีทั้งโยก โยน นาคอย่างเต็มที่ ด้วยความสนุกสนานปนเหนื่อยล่า เล่นเอาสะบักสะบอมไปตามๆ กัน แต่ก็เป็นไปอย่างสนุกสนานเป็นที่ประทับใจกันทั้งคนหามและคนแห่ ซึ่งเป็นบทหนึ่งในการทดสอบความอดทดของนาคหนุ่ม
ซึ่งผู้ที่เคยได้ยินการเล่าขานถึงประเพณีการแห่นาคโหดจากที่ต่างๆ ต่างเดินทางมาชม และร่วมแห่ในขบวนจำนวนมาก ซึ่งหลังจากแห่รอบหมู่บ้านแล้ว จะวกกลับมาในวัดเพื่อนั่งสมาธิรอการบรรพชาในช่วงก่อนใกล้สว่างในวันรุ่งขึ้น มีชาวบ้านรวมถึงนักท่องเที่ยว มาชมการแห่นาคโหดอย่างเนื่องแน่นจำนวนมาก
ประเพณีแห่นาคโหดของชาวบ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนเป็นตำนานของประเพณีการแห่นาคโหด เป็นการทดสอบความอดทดของลูกผู้ชาย ต้องมีความอดทน มีสติ ไม่ย่อท้อต่อปัญหา และความตั้งใจที่จะฝ่าด่านคานหามแห่นาคโหดเข้าไปให้ถึงวัด เพื่อเข้าพิธีบวช หรืออุปสมบท ทดแทนคุณบิดามารดาของตนเองให้ได้ ซึ่งการหามแห่นาครอบหมู่บ้าน จะหามนาคบนคานหามแคร่ไม้ไผ่
ญาติๆและเพื่อนฝูง จะโยก-โยน-ยก-เหวี่ยงคานหาม ให้นาคฝึกความแข็งแรง-ความอดกลั้น-ความอดทนของสภาพร่างกายจิตใจต่อสู้กับความทุกข์ทรมาน ที่เกิดจากการถูกแกล้ง ของบรรดาลูกหาบ ให้นาคได้ระลึกถึงพระคุณของบิดา-มารดา ที่ได้เลี้ยงดูจนเติบโต และตระหนักเห็นถึงความยาก-ความลำบาก ของผู้เป็นมารดา ที่ได้ตั้งท้องทะนุ-ถนอม มานานถึง 9 เดือน จนครบกำหนดและคลอดแล้ว ต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆได้ที่จะต้องประสบกับความทุกข์ทรมานนานนับประการ
ทั้งการเข้ากระโจมกินนอนบนแคร่ไม้ไผ่ ที่มีการก่อไฟด้วยฟืนลุกไหม้ให้ความร้อนตลอดเวลา ให้มีน้ำนมสำหรับเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ นาคที่ได้ผ่านการแห่นาคโหดและได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้เข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์สำเร็จ
จึงเป็นความภาคภูมิใจของทุกๆคน ที่ได้มาร่วมงานบุญอันยิ่งใหญ่นี้ จนได้รับการเรียกขานจากบุคคลทั่วไปว่า "การแห่บวชนาคโหด" ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยหรือในโลก ที่ชาวบ้านโนนเสลาจะต้องร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้เป็นประเพณีอันดีงามคงอยู่ตลอดไป.012
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี