ด้วยยุทธศาสตร์ดังที่ได้กล่าวถึงในตอนที่แล้ว ทำให้มหาวิทยาลัยของจีนได้มีโจทย์ที่ผูกพันกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม มาให้อาจารย์และนักศึกษาทำการวิจัย ทำให้อาจารย์ของมหาวิทยาลัยนอกจากมีผลงานวิจัยมาปรับสถานภาพทางวิชาการของอาจารย์เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์แล้ว ยังนำผลงานไปใช้ในอุตสาหกรรมได้โดยตรง ที่แตกต่างจากอาจารย์ของไทยที่ส่วนใหญ่ได้ทำงานวิจัยจากโจทย์ตามวารสารทางวิชาการ จึงไม่สามารถนำผลงานวิจัยนั้นไปใช้ในอุตสาหกรรม ดังที่พูดกันว่า มหาวิทยาลัยได้ผลงานวิจัยแล้วเก็บไว้บนหิ้ง
สิ่งที่สำคัญมาก คือ ความร่วมมือกับอุตสาหกรรม ทำให้มหาวิทยาลัยของจีนได้รับเงินทุนสนับสนุนงานวิจัย R&D จากอุตสาหกรรม จึงทำให้ประเทศจีนมีสัดส่วนงบประมาณด้าน R&D ต่อ GDP อยู่ในระดับสูงมาก ที่แตกต่างกับประเทศไทย ที่งบประมาณด้าน R&D ส่วนใหญ่มาจากงบประมาณของรัฐ จึงทำให้งบประมาณด้าน R&D ต่อ GDP ของไทยจึงอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
การบูรณาการระหว่างอุตสาหกรรม-การศึกษา-งานวิจัย ของประเทศจีน ได้ทำให้คุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยของจีนพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการประเมินของ Center for World University Rankings ในปี 2015 มีมหาวิทย าลัยของจีน 72 แห่ง ติดอยู่ในอันดับ Top1000
ของการประเมินของ Center for World University Rankings 2023 เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าตัว เป็นจำนวน 152 แห่ง ดังในภาคผนวก
ในปี 2023 มีมหาวิทยาลัยของจีน ใน Top100 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 6 แห่ง จากเพียง 2 แห่งในปี 2015 และใน Top200 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 20 แห่ง จากเพียง 4 แห่งในปี 2015
สำหรับมหาวิทยาลัยของไทย อยู่ในTop1000 ของ Center for World University Rankings 2015 เพียง 3 แห่ง ดังนี้
311 Chulalongkorn University
532 Mahidol University
818 Chiangmai University
และใน Top1000 ของ Center for World University Rankings 2023 ก็ยังเป็นจำนวน 3 แห่ง เช่นเดิม ดังนี้
462 Chulalongkorn University
548 Mahidol University
913 Chiangmai University
ในปี 2021 ประเทศจีนมีจำนวนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนสัญชาติจีน 508,116 รายการ สำหรับประชากร 1,412 ล้านคน หรือมีสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนสัญชาติจีน ประมาณ 360 รายการต่อประชากรหนึ่งล้านคนมีมากกว่าของประเทศไทยประมาณ 100 เท่า และมี GDP per capita 12,556 US$ หรือมากกว่าของประเทศไทย เกือบ 2 เท่าตัว
ทั้งๆ ที่ ในปี 2010 GDP per capita ของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 5,000 US$ สูงกว่าของประเทศจีนที่อยู่เพียงประมาณ 4,500 US$ เท่านั้น
เอกสารอ้างถึง
1.รายงาน “แนวทางการเพิ่มสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนไทย” คณะกรรมาธิการการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2561
2.บทความ “การใช้ศักยภาพของมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ” รัฐสภาสาร ฉบับที่ 10 ตุลาคม 2559 หน้า 41-60
3.“University Industry Partnership in China : Present Scenario and Future Strategy, Unesco Office in Beijing, 2005.
4.“Advanced Global Strategy in China : The case of Tsinghua” Simon Marginson, 2011.
5.https://mnc.rd.tsinghua.edu.cn
ภาคผนวก
Center for World University Rankings 2023
รายชื่อมหาวิทยาลัยของจีน 152 แห่ง ใน Top1000
โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี