5 กุมภาพันธ์ 2567 สมุนไพรหัวไร่ปลายนาที่คนอีสานเรียกว่า หมาน้อย ขึ้นอยู่ในป่าในสวนหรือบริเวณริมรั้ว เป็นพืชตระกูลไม้เลื้อยมักจะอยู่แถวต้นไม้แห้ง ซึ่งชาวอีสานนำมาทำเป็นอาหารคาวหวาน เช่น วุ้นหมาน้อยทรงเครื่อง
นางสาวสุพัตรา พรมใจ ชาวบ้านนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เล่าว่า ต้นนี้หลายๆที่เรียกว่ากรุงเขมา หรือหมาน้อย (ภาคอีสาน) เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อไม้แข็ง มีขนนุ่มสั้นปกคลุมหนาแน่นตามเถา กิ่งช่อดอกและใบ ออกเป็นช่อกระจุกสีขาว ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดหรือเหง้า พบในป่าดิบ ป่าผลัดใบและป่าไผ่ตามริมแม่น้ำลำธาร ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม จนถึงธันวาคม ใบมีสารพวกเพคติน (Pectin)
'เมื่อขยำใบกับน้ำทิ้งไว้จะแข็งตัวเป็นวุ้นรับประทานเป็นอาหารได้ ใบหมาน้อยเป็นใบไม้ธรรมดาทั่วไป แต่พอทราบชื่อก็น่าสนใจ ชื่อก็แปลกแล้ว แต่พอทราบว่าเป็นพืชสมุนไพรด้วยแล้วก็กลายเป็นของดี'
ขั้นตอนการทำขนมหมาน้อย เริ่มด้วยการนำใบหมาน้อยล้างให้สะอาด นำมาขย้ำผสมน้ำดื่มสะอาดเพื่อคั้นน้ำออกมา จากนั้นกรองกากเหมือนทำแบบใบย่านาง และคั้นจนกว่าจะหมดเมือกที่ใบ แล้วนำกรองใส่ภาชนะไว้ ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง รอจนแข็งตัวกลายเป็นวุ้นนุ่มๆ สีเขียว รสจืด ไม่มีกลิ่น
หากนำมาตำน้ำปลาร้าต้มสุก ใส่ผงปรุงรส ปรุงรสที่ต้องการใส่พริกสด หอมแดง กระเทียมมาเผาไฟโขลกให้แหลก ใส่ในน้ำปลาร้าปรุงรสที่ต้มไว้ จากนั้นก็นำวุ้นที่ได้มาตัดชิ้นพอคำ ผสมน้ำปลาร้าทรงเครื่องที่ทำไว้ แล้วโรยด้วยต้นหอมผักชีหั่นฝอย คนทั้ง 2 ผสมกันแล้วกินได้เลยเป็นของคาว
ถ้าหากต้องการกินหวาน ก็ให้ไปใส่น้ำเชื่อม น้ำกะทิ ก็สามารถกินร่วมกันได้ อร่อยไปอีกแบบ สรรพคุณที่สำคัญชาวบ้านบอกว่า ใบหมาน้อยนั้นเป็นยาเย็นทำให้ความร้อนในร่างกายคลายลงได้ หากได้กินหมาน้อยเข้าไป กินปุ๊ปก็เย็นปั๊บเลย .012
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี