งานสมโภชพระพุทธชินราชประจำปี 2567 หรืองานวัดใหญ่ งานประเพณีเก่าแก่ของเมืองพิษณุโลก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือวัดใหญ่ อำเภอเมืองพิษณุโลก ได้จัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 ปีนี้จัดเป็นปีที่ 90 กำหนดจัดงานระหว่าง 15-21 กุมภาพันธ์ 2567
วันนี้ (15 ก.พ.) ได้ประชาชนทั้งชาวพิษณุโลกและต่างจังหวัดเดินทางมาเที่ยวงานจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณหน้าวิหารและภายในวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราชเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่เข้ามากราบนมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิษณุโลกและถือเป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมายาวนาน ในทุกปีของงานสมโภชพระพุทธชินราช วัดใหญ่ ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปบนพระปรางค์ที่อยู่ด้านหลังวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช ในตลอดช่วงเวลาจัดงาน 7 วันจากที่ปกติจะปิดประตูล็อคและไม่ให้ขึ้นไปบนพระปรางค์
ในวันนี้ ทั้งชาวพิษณุโลกและนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสปีนบันได 25 ขั้นขึ้นไปบนพระปรางค์ที่ภายในมีสถูปเจดีย์สีทอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีนักเรียนโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา คอยอำนวยความสะดวกและแนะนำ การขึ้นลงให้อย่างปลอดภัย แม้ว่าใจกลางพระปรางค์จะไม่สูงมากนัก แต่บันไดทางขึ้นค่อนข้างชันและนักเรียนจะคอยไปขึ้นไปเก็บดอกไม้ธูปเทียนที่นักท่องเที่ยวนำขึ้นไปด้านบน รวมถึงคอยขอความร่วมมือห้ามปิดทองที่สถูปเจดีย์สีทอง
พระปรางค์วัดใหญ่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก ในช่วงงานวัดใหญ่ของทุกปี เป็นโอกาสอันดี สำหรับบางท่านที่อาจจะไม่เคยขึ้นไปกราบนมัสการองค์สถูปเจดีย์ที่เชื่อกันว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจชาวพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะที่สำคัญของพระมหากษัตริย์คู่พิษณุโลกสองแควเนิ่นนานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยในพระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไท
เดิมนั้นพระปรางค์วัดใหญ่น่าจะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ สมัยอยุธยาตอนต้น พิษณุโลกได้เป็นเมืองหลวงถึง 25 ปี จึงทำนุบำรุงพุทธศาสนานำเอาศิลปะแบบอยุธยาเข้ามาสร้างให้ มีเอกลักษณ์เพื่อเป็นขอบเขตอาณาจักร สัญลักษณ์ ขอบเขตที่เป็นพื้นที่ๆ ห้ามลุกลาน เจดีย์จึงได้บูรณะปรับปรุงให้เป็นพระปรางค์ตามยุคสมัย เป็นพระปรางค์ทรงคล้ายฝักข้าวโพด และมีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงโดยการบูรณะตามยุคสมัยกาลเวลา เช่น การนำเอากระเบื้องโมเสทที่ฉาบด้วยทองไปปิดทำให้เกิดความสวยงาม เรียก "นพเก้า" ปัจจุบันมีการบูรณะใหม่เปลี่ยนกระเบื้องโมเสค "นพเก้า" ลอกปูนที่หมดอายุนำเอาปูนปั้นรูปพญาครุฑยุดนาคลงทั้ง12ตนและนำครุฑที่เรียกครุฑพาห์ทิศละ1ตนและยักษ์พระเวสสุวัณทิศละ6ตน สี่ทิศด้วยกันที่เห็นได้ในปัจจุบันนี้
ครั้งในข่วงสมัยรัชกาลที่ 7 ได้กำหนดให้มีงานประจำปีกำหนดทุกวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 จึงเกิดเป็นงานสมโภชประจำปีๆละครั้ง ที่สำคัญได้ให้โอกาสประชาชนที่ศรัทธาได้เข้าใกล้องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า กราบพระบรมสารีริกธาตุ โดยทางวัดเปิดให้ขึ้นพระปรางค์ ในช่วงงานสมโภชพระพุทธชินราชเป็นประจำทุกปี ซึ่งต่างจากเจดีย์หรือพระธาตุจังหวัดอื่นๆที่มักจะไม่ให้คนทั่วไปได้เข้ากราบและได้ชมเป็นที่อันสงวนถึงความศักดิ์สิทธิต้องห้าม (โดยเฉพาะผู้หญิง) จึงถือว่าน่าเป็นโอกาสที่ดี ในงานวัดใหญ่ทุกๆปีหากมีโอกาสควรขึ้นไปกราบนมัสการ ชมความสวยงามศิลปะไทย
สิ่งที่น่าประทับใจใจกลางพระพรางค์ อาทิ สถูปเจดีย์สีทองที่เป็นทรงลังกาหรือคล้ายระฆังคว่ำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุศูนย์รวมจิตใจพุทธศาสนิกชนบนฐานบัลลังก์สามชั้น ลงพื้นสีชาดแดงและปิดทองมีลายไทยลายประยามประดับกระจก2ชันบน,กระเบื้องทอง,คาดลายดอกไม้ฐานบน,คาดลายประจำยามก้ามปูฐานกลาง,ลายกระจังตาอ้อยคว่ำหงายฐานล่าง, ด้านหลังประดิษฐานพระปรางมารวิชัยในคูหา ,ตัวดาวเพดานบูรณะคราวเดียวกันลงชาดปิดทอง ล่องลงสีเขียวที่รอบดาวเดือน สีเขียวเข้ามาสร้างความสวยงามตามสมัยนิยม หากได้นมัสการจะรู้สึกความอิ่มใจอิ่มตาในความสวยงามพุทธศิลป์ บานประตูใหม่จากที่เริ่มผุพัง แกะลายไทยกนกเปลวสีทองล่องลงสีชาดแดง(บานเดิมอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์ให้ชม)
ขั้นบันได 25 ขั้น เสริมราวสแตนเลท เพื่อความปลอดภัย(เดิมหากมีงานประจำปีจะเป็นลำไม้ไผ่ให้ชาวเมืองได้จับขึ้นไป)มีพญานาค7เศียรเป็นราวบันไดให้คนสมัยก่อนได้ ค่อยๆลูบราวหรือเกล็ดพญานาคขึ้นไปอย่างมีสติแฝงกรุศโลบาย หน้าพญานาคมีเทวดา 2 องค์คอยดูแลเรียกเทพดาพนม - 003
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี