เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ศ.ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ เขียนบทความ “วัฒนธรรมนั้นสำคัญไฉน” เผยแพร่ทางเฟซบุ๊ก “Nattavudh Powdthavee - ณัฐวุฒิ เผ่าทวี” เนื้อหาดังนี้
ตอนที่ผมเริ่มทำงานวิจัยในเรื่องของความสุขใหม่ๆ ผมสนใจในเรื่องของวัฒนธรรม หรือ culture เป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งของความสุขของคนเรา แต่ผมก็ต้องล้มเลิกหัวข้อวิจัยข้อนั้นไปเพราะว่ามัน establish causality ค่อนข้างยาก แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังมีความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมอยู่
และหนึ่งในทฤษฎีที่สำคัญของสาขาวัฒนธรรมก็คือทฤษฎีของ Geert Hofstede นักสังคมวิทยาชาวดัตช์ ซึ่งในทฤษฎีของเขานี้ เขาสามารถวัดวัฒนธรรมของคนในแต่ละประเทศโดยใช้มิติเพียงแค่ 6 มิติเท่านั้น นั่นก็คือ
1. Individualism: นี่เป็นมิติที่ใช้วัดว่าคนในประเทศส่วนใหญ่มีความเป็นตัวของตัวเองมากน้อยขนาดไหน ถ้าคนส่วนใหญ่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงโดยที่ไม่สนใจว่าคนรอบข้างจะคิดยังไง ประเทศนั้นก็ถือว่ามี individualism สูง แต่ถ้าคนในประเทศส่วนใหญ่แคร์คนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือ in-group มากและมักจะไม่อยากทำอะไรที่ทำให้คนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันเดือดร้อน ประเทศนั้นก็ถือว่ามี individualism ต่ำ และเป็นประเทศที่ค่อนไปทาง collectivism มากกว่า
2. Power distance: นี่เป็นมิติที่ใช้วัดว่าคนในประเทศไม่เท่ากันขนาดไหน หรือมีความเหลื่อมล้ำมากน้อยขนาดไหนระหว่าง 'the have' และ 'the have not' มันเป็นมิติที่ใช้วัดว่าคนที่ไม่มีนั้น พวกเขายอมรับความเหลื่อมล้ำมากและการที่เขามีน้อยกว่าขนาดไหนในสังคม
3. Motivation towards achievement and success (ซึ่งในชื่อดั้งเดิมก็คือ Masculinity แต่ชื่อมันค่อนข้างที่จะ misleading หน่อย บางคนก็เลยเปลี่ยนชื่อมาเป็น motivation towards achievement and success): นี่เป็นมิติที่ใช้วัดว่าคนในประเทศมีความทะเยอทะยานที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ในสถาบันการศึกษา และในชีวิตโดยรวมขนาดไหน ถ้าคนในประเทศส่วนใหญ่ชิลๆ ไม่ค่อยแคร์ ชอบสโลว์ไลฟ์มากกว่า ประเทศนั้นก็จะ score low ในสเกลนี้ แต่คนในประเทศมีความทะเยอทะยานสูง มี drive ที่จะประสบกับความสำเร็จสูง มีการแข่งขันที่สูง ประเทศนั้นก็จะ score high ในมิตินี้
4. Uncertainty avoidance: นี่เป็นมิติที่ใช้วัดว่าคนในประเทศมีความรู้สึกอยากจะหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนขนาดไหน พูดง่ายๆก็คือคนในประเทศมีความรู้สึกว่าอยากจะควบคุมอนาคตที่ไม่แน่นอน หรือว่าไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน แค่ just let it go
5. Long term orientation: นี่เป็นมิติที่ใช้วัดว่าคนในประเทศมองอนาคตของพวกเขาในระยะยาวขนาดไหน หรือมองแค่ระยะสั้นอย่างเดียว ถ้าคนในประเทศมองอนาคตเพียงแค่ระยะสั้น มักจะชอบ immediate gratification หรือมีความสุขทันทีมากกว่า ส่วนประเทศที่คนส่วนใหญ่มองอนาคนในระยะยาว พวกเขามักจะอดออมและอดเปรี้ยวไว้กินหวานมากกว่า
6. Indulgence: นี่เป็นมิติที่ใช้วัดว่าคนในประเทศเลี้ยงดูเด็กอย่างตามใจ (indulgence) ขนาดไหน มันเป็นมิติที่ใช้ในการวัดว่าคนในประเทศเลี้ยงเด็กให้ควบคุมความต้องการที่เขามีมากน้อยขนาดไหน เพราะถ้าเด็กถูกเลี้ยงมาแบบตามใจตลอด พวกเขาอาจจะโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีทักษะในการควบคุมความต้องการของตัวเองได้ดี ประมาณนั้นนะครับ
แล้วเพื่อนๆ ว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนของ Hofstede's cultural scale นี้
จากเว็บไซท์ของ The Culture Factor เราจะพบว่าประเทศไทยเรานั้นมี score ดังต่อไปนี้
Individualism: 19 (Singapore = 43; UK = 76)
Power distance: 64 (Singapore = 74; UK = 35)
Motivation towards success: 34 (Singapore = 48; UK = 66)
Uncertainty avoidance: 64 (Singapore = 8; UK = 35)
Long term orientation: 67 (Singapore = 67; UK = 60)
Indulgence: 45 (Singapore = 45; UK = 69)
สรุปง่ายๆ คือประเทศไทยเป็นประเทศที่มี collectivistic culture มากๆประเทศหนึ่ง เป็นประเทศที่คนที่มีน้อยกว่าในสังคมยอมรับความเหลื่อมล้ำของตัวเอง เป็นประเทศที่มีความทะเยอทะยานที่จะประสบความสำเร็จต่ำ (จากในข้อมูลทั้งหมด ประเทศไทยมี score (34) ในมิตินี้ที่ต่ำที่สุดในประเทศเอเชีย -- โดยเฉลี่ยแล้วประเทศเอเชียมี score = 54 -- และค่าเฉลี่ยของโลก = 50) เป็นประเทศที่หลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนและค่อนข้าง risk-averse แต่ก็ไม่เยอะมากจนเกินไป (score = 64) แต่อย่างไรก็ตามคนในประเทศไทยก็ค่อนข้างจะมีความอดทนที่จะอดเปรี้ยวไว้กินหวาน (score = 67) และไม่ได้มีการเลี้ยงดูเด็กแบบเอาแต่ใจมากจนเกินไป แต่ก็ไม่ได้ควบคุมมากจนเกินไปอีกเช่นเดียวกัน
สำหรับใครที่สนใจอ่านเพิ่มเติม หรือไปหาประเทศอื่นดู สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่นะครับ https://www.hofstede-insights.com/country-comparison-tool
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี