‘สุวัจน์’ลุยพิสูจน์โครงกระดูกคนโบราณ เชื่อ‘โคราช’เป็นชุมชนนานถึง 2,000 ปี
9 มิถุนายน 2567 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานพรรคชาติพัฒนา พร้อมด้วย นายแพทย์วรรณ ชาญนุกูล สส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา , นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา , รศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา , ผศ. ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราช เดินทางมาที่จุดบริเวณขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ อายุ 2,000 ปี ซึ่งอยู่บริเวณพื้นที่ปรับภูมิทัศน์ คูเมืองด้านตะวันออก ถ.อัษฎางค์ ตัด ถ.พลล้าน เขตเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา ซึ่งเดิมเป็นอาคารสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 นครราชสีมา (สคพ.11 นม.)
นายสุวัจน์ กล่าวว่าสืบเนื่องจากทางท่านนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา อยู่ระหว่างการปรับปรุงภูมิทัศน์ของคูเมือง เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยว และเป็นแหล่งสันทนาการให้กับพี่น้องประชาชนชาวโคราช จึงได้ร่วมมือกับกรมศิลปกรในการเข้ามาบูรณะทางคูเมืองเก่าและกำแพงเมืองต่างๆ ก็ได้มีการขุดดินฐานราก ปรากฏว่ามาเจอโครงกระดูก พร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่กับโครงกระดูก อาทิ เครื่องปั้นดินเผา เศษกระเบื้อง กระดูกสัตว์ หรือเครื่องเหล็ก อะไรต่างๆ ซึ่งเนื้อของถ้วย ชาม ทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปกร บอกว่าอายุประมาณ 2,000 ปี ถือเป็นถ้วย ชาม ยุคพิมายดำ และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สามารถที่จะสะท้อนถึงความเก่าแก่ของชุมชน
ล่าสุดวันที่ 8 มิถุนายน 2567 พบโครงกระดูกที่ 3 อยู่ใกล้กับโครงกระดูกที่ 1 ซึ่งเป็นเพศชาย สูง 173 ซม.โครงกระดูกที่ 3 เจ้าหน้าที่กรมศิลป์ วิเคราะห์ว่าเป็นเพศหญิง เพราะพบเครื่องประดับเป็นต่างหูทองคำ พบแหวนทองที่นิ้ว พบสร้อยหิน อายุประมาณ 2,000 ปี แต่เมืองโคราช 556 ปี แต่การที่มีการค้นพบทั้งโครงกระดูกทั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความเก่าแก่มากกว่านี้ ก็อาจจะต้องมีการศึกษาค้นคว้ามากกว่านี้ แสดงว่าที่นี้เดิมที่มีชุมชน มีประชาชนที่อยู่เป็นพื้นฐานของบริเวณเหล่านี้ ก่อนที่จะมาสร้างเมืองโคราช อาจจะอยู่กันมาเป็นพันปีแล้วก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่กรมศิลป์กับทางเทศบาลฯ และมหาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งทำเรื่องฟอสซิล ทำเรื่องอุทยานธรณีโลก จะต้องช่วยกันมาวิเคราะห์ในเรื่องของรายละเอียดต่างๆ ประวัติศาสตร์ต่างๆ ว่าเจอแหล่งโบราณอย่างนี้ เจอกระดูกโบราณ เจออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ
ทั้งนี้ สามารถที่จะพัฒนาอะไรที่เป็นสิ่งที่จะเรียนรู้ ถึงอดีตก่อนที่จะเกิดเมืองโคราชในบริเวณเหล่านี้ได้อย่างไร หรือมีบางคนเสนอว่าควรจะมีเป็นมิวเซียมที่จะบ่งบอกถึงประวัติของชุมชนที่จะสืบสานถึงประวัติศาสตร์ของคนโคราช เพราะฉะนั้น ท่านนายกเทศมนตรีฯ กรมศิลปกร และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยอาจารย์ประเทือง จะได้ร่วมกันในการที่จะมาศึกษาต่อถึงแนวทางการดำเนินการที่จะศึกษาและเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป ///-005
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี