ช้างป่าลงสวนชาวบ้านใช้งวงเกี่ยวลูกทุเรียนไม่ถึงผลักต้นทุเรียนล้มลงเพื่อกินทุเรียน สร้างความเสียหายนับแสนบาท เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติบางลาง เร่งผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติบางลางที่ บล.3 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติบางลางที่ บล.4 ร่วมกับ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านดอน ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา พร้อม ชุด อส.ชุดคุ้มครองตำบลอัยเยอร์เวง หลังรับแจ้งจากชาวบ่ทนในพื้นที่ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา จึงได้ออกติดตามช้างป่าเพื่อผลักดันออกนอกเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งผลจากการเข้าตรวจสอบพบต้นทุเรียนของชาวบ้านเสียหายจำนวน 55 ต้น โดยทุเรียนมีอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นสวนของนายจะเอ่อ แซ่เลี้ยง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติบางลาง ยังได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีช้างป่าลงมาในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ต.ตาเนาะแมเราะ (ฝั่งอังหมอเหลา) ซึ่งเป็นสวนทุเรียนของเกษตรกรในพื้นทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมากโดยช้างป่าจะผลักต้นทุเรียนจนล้มลงเพื่อกินทุเรียนทำให้ต้นทุเรียนล้มไปหลายต้น เนื่องจากงวงช้างเกี่ยวทุเรียนไม่ถึง ทำให้ช้างใช้วิธีผลักให้ต้นทุเรียนล้มลง เกษตรกร เปิดเผยว่า อุตส่าห์ปลูกดูแลมากว่าสิบปีพอต้นสวย ใบสวย ช้างป่าลงมาทำลายจนเสียหายซึ่งสร้างความเจ็บปวดหัวใจสุดๆ นํ้าตาตกในกันทั้งบ้าน เกษตรกรปลูกทุเรียน กล่าว
เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติบางลางที่ บล.3 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติบางลาง บล.4 ได้ร่วมกันเข้าสำรวจพื้นที่ตามที่เกษตรกรร้องขอความช่วยเหลือในการผลักดันช้างป่าให้ออกนอกพื้นที่สวนผลไม้ของเกษตรกร ส่วนสาเหตุที่ช้างป่าลงมาในสวนของชาวบ้านนั้นเกิดจากทางประเทศเพื่อนบ้านได้มีการสัปทานป่าทำให้เกิดการตัดถนนผ่านใจกลางป่าทำให้ป่าแยกออกมาเป็น 2 ฝั่ง เส้นทางเดินหาอาหารของช้างป่าก็ยิ่งจำกัดลง ป่ายิ่งเล็กก็ยิ่งแห้ง ขาดทั้งน้ำทั้งอาหาร ช้างอยู่ในถิ่นเดิมไม่ได้ ก็ต้องหากินไกลออกไปถึงชายป่าหรือออกนอกป่าเข้าเขตชุมชน และเมื่อพบแปลงพืชเกษตรชายป่า ทั้งพืชสวนและพืชไร่ชนิดที่ช้างชอบและมีแหล่งน้ำ ช้างป่าก็จะหากินและหลับนอนอยู่แถบนั้น เพราะดีกว่าอยู่ในป่า
ปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า มาจากการจัดการป่าที่ผิดพลาดและการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ไม่อาจชี้แบบถูกผิด แต่เป็นปัญหาร่วมของทั้งช้างป่าและชาวบ้านบางส่วนที่มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ทับซ้อนกัน เป็นปัญหาของช้างชายขอบและคนชายชอบด้วยกัน ทั้งช้างป่าและคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรต่างก็ต้องการอยู่รอดปลอดภัยด้วยกัน เมื่อทั้งช้างป่าและชาวบ้านชายขอบป่าไม่ทีทางเลือกที่ดีกว่า ปัญหาคนกับช้างป่าก็ยังคาราคาซังอยู่อย่างนี้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี