คึกคักชาวอุดรร่วมฉลองภูพระบาทแห่งที่ 2 โดยที่ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ผู้ว่าฯ พาข้าราชการ พี่น้องประชาชนร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนตรีเฉลิมฉลองอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 2 ของจังหวัดอุดรธานีอย่างยิ่งใหญ่ โดยการจัดงานเฉลิมฉลองภูพระบาทเป็นแหล่งมรดกโลกจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 ก.ย.67 นี้
วันนี้ (14 ก.ย.67) ผู้สื่อข่าวว่า เมื่อวานนี้ (13 ก.ย.67)ที่บริเวณโบราณสถาน หอนางอุสา อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธนี นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนชาวจ.อุดรธานีโดยเฉพาะชาวไทพวนอ.บ้านผือ กว่า1,000 คน ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 132 รูป เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ และทุกสรรพสิ่งที่อาศัย ณ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสเฉลิมฉลองแห่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของจ.อุดรธานี ที่ได้รับการประกาศจากองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational Scientific and Cultural Organization) หรือยูเนสโก (UNESCO) ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 46 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ให้เป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้ชื่อ “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี” โดยกิจกรรมในวันนี้มีพี่น้องประชาชนจากหลากหลายอาชีพจากหลายจังหวัดนำอาหารทั้งคาวหวาน ข้าวสาร อาหารแห้งร่วมทำบุญใส่บาตร ขบวนยาวสุดลูกหูลูกตารวมระยะกว่า 200 เมตร
จากนั้นผู้ว่าราชการจ.อุดรธานี นำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ประชาชน ร่วมขบวนแห่ขันหมากเบ็งบูชา วัฒนธรรมสีมาภูพระบาท เชิญขันหมากเบ็งสักการะบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์มายังบริเวณโบราณสถาน หอนางอุสา อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และทำพิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม ชม ชิม ช็อป สินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน การจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานราชการ และเอกชน .ชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท แหล่งมรดกโลกซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ เอกชน,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ และตอนท้ายผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดงานเฉลิมฉลองภูพระบาทมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 2 ของจังหวัดอุดรธานี ประจำปี 2567 ณ ลานเอนกประสงค์ข้างห้องประชุมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมระบำเสมา เทวา ภูพระบาท จากมหาวิทยาลัยราขภัฏอุดรธานี ศิลปะโปงลาง จากวงไชยพฤกษ์ บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ชาวอุดรร่วมเฉลิงฉลองภูพระบาทฯเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของจ.อุดรธานี ในการจัดกิจกรรมมีขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 ก.ย.67 นี้เพื่อยกระดับต่อยกแหล่งท่องเที่ยวในมิติวัฒนธรรม จังหวัดอดรธานี : จังหวัดเดียว เที่ยว 2 มรดกโลกปลุกจิตสำนึกนักท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของแหล่งมรดกโลก ร่วมกันดูแลรักษาตลอดจนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในบริเวณอันเป็นมรดกโลก รวมถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนให้มีการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวอย่างยังยืน ก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชนยิ่งขึ้น และเป็นการสร้างการรับรู้ช่องทางการประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลาย
สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบต่อเนื่องจำนวน 2 แหล่ง ประกอบด้วยอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมา วัดพระพุทธบาทบัวบาน รวมพื้นที่นำเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก 3,622 ไร่ 89 ตารางวา การนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นมรดกโลก เป็นไปตามเกณฑ์คุณค่าโดดเด่นนสากล ข้อที่ 3 คือเป็นประจักษ์พยานของรูปแบบที่สำคัญในหลักหินสีมาปัก และจัดเรียง แสดงให้เห็นเส้นทางวิวัฒนาการของวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์และความเป็นของแท้ตั้งแต่ดังเดิม รวมทั้งเป็นการผสมผสานความเชื่อเรื่องพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ กับการกำหนดขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาแบบเถรวาท กว่า 20 ปี นับแต่ได้รับการประกาศรายชื่อใน 'บัญชีเบื้องต้น'จากศูนย์มรดกโลกยูเนสโก ณ กรุงปารีส ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จึงถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทจังหวัดอุดรธานี เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในชื่อ "ภูพระบาทประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี" ในการประชุมคณะกรรมการมรกกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ถือเป็นมรดกโลกแห่งที่ 2 ของจ.อุดรธานี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทแห่งนี้ มีความโดดเด่นจนได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ภายใต้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ได้แก่ การรักษาความเป็นของแท้และดั้งเดิมของแหล่งวัฒนธรรมสีมาหิน สมัยทวารวดี และเป็นการสืบทอดของวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องมากว่า 400 ปี โดยเชื่อมโยงเข้ากับประเพณีของวัดฝ่ายอรัญวาสี
สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าเขือน้ำ) ในพื้นที่บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ อยู่ทางทิศตะวันตกของจ.อุดรธานี สภาพภูมิประเทศของภูพระบาทมีลักษณะ เป็นลานหินและเพิงหิน ที่่เกิดจากธารน้ำ แข็งละลายกัดกร่อนบนภููพระบาท ทำให้เกิดเพิงหินรูปร่างต่าง ๆ มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียส อายุประมาณ 135 ปีมาแล้ว ประกอบด้วย หินทรายสีเทาเป็นชั้นหนา เม็ดตะกอนมีขนาดปานกลางถึงหยาบและหินทรายปนกรวดชั้นหนา จากการสำรวจทางโบราณคดี พบว่าบน "ภูพระบาท"ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ราว 2,500-3,000 ปี จากการค้นพบภาพเขียนสีอยู่มากกว่า 54 แห่ง นอกจากนี้ ยังพบการดัดแปลงเพิงหินธรรมชาติให้เป็นศาสนสถานของผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมล้านช้างและรัตนโกสินทร์ตามลำดับ ซึ่งร่อยรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี