22 กันยายน 2567 ยังอยู่ในช่วงเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนมีการเดินสายทำบุญสร้างกุศล เพื่อเป็นสิริมงคลเป็นมงคลชีวิต ตนเองและครอบครัว และที่วัดป่าพรประสิทธิ์ ตั้งอยู่ตำบลโคกกลาง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ห่างจากตัวเมืองอำนาจเจริญด้านทิศใต้ ประมาณ 20 กิโลเมตร ตามถนนชยางกูรสายหลัก อำนาจเจริญ – อุบลราชธานี ซึ่งวัดแห่งน้ำ ถือว่า เป็นวัดขนาดเล็ก สังกัดธรรมยุตินิกาย มีเจ้าอาวาสวัด 1 รูป พระสงฆ์ 5 รูป ไม่มีสามเณร มรรคนายก 1 คน บนพื้นที่ 15 ไร่ เป็นที่ตั้งของศาลาการเปรียญแบบไม้โบราณ อายุ 100 ปี อยู่กลางน้ำ ท่วมกลางดอกบัวขึ้นสวยงาม สงบร่มรื่นมาก
ถึงแม้จะเป็นวัดไม่ใหญ่โต ไม่โด่งดัง ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ทุกวัน จะมีญาติโยม คณะศรัทธา พุทธศาสนิกชน เดินทางเข้าไปวัด เพื่อถวายอาหาร ทำบุญ ปฏิบัติธรรม ฟังธรรมเทศนา อย่างต่อเนื่อง
เจ้าอาวาสวัดป่าพรประสิทธิ์ ต.โคกกลาง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ เกิดที่นี่ คือ บ้านโคกกลาง พออายุ 20 ปีก็บวชพระ ตอนแรกจะบวชแค่ 1 พรรษา เท่านั้น แต่อยู่ไปอยู่มา ไม่ยากจะสึก จึงอยู่ต่อ กระทั่งปัจจุบัน ซึ่งวัดป่าพรประสิทธิ์ เป็นวัดไม่ใหญ่ สังกัดธรรมยุตินิกาย มีพระสงฆ์อยู่ 5 รูป ไม่มีสามเณร มรรคนายก 1 คน
ว่ากันว่า ก่อนนั้นพื้นที่แห่งนี้เป็นดอนปู่ตา เป็นบ้านเมืองเก่า มีชื่อว่า บ้านโคกกลาง ต่อมาเกิดโรคระบาด จึงย้ายไปอยู่ที่ห่างออกไปประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งตำบลโคกกลางในปัจจุบัน
หลังจากที่โรคระบาดหมดไป ชาวบ้านคณะศรัทธา ญาติโยม ได้มีการบริจาคสิ่งของต่างๆ ทำเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น ต่อมา ตั้งเป็นวัด ชื่อว่า วัดป่าพรประสิทธิ์ มีเจ้าอาวาสหลายรูป แต่สิ่งปลูกสร้างยังไม่เพียงพอไม่สมบูรณ์ และอยู่มาวันหนึ่ง คุณยายนิรมล ปาวรีย์ อายุ 85 ปี อดีตครูโรงเรียนบ้านโคกกลาง ซึ่งเข้าวัดทำบุญเป็นประจำ ฟันว่า รุกขเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิงห์สถิตย์อยู่ที่นี่มาหลายพันปี อยากให้สร้างสิ่งยึดเหนียวทางใจ ศูนย์รวมใจของชาวบ้าน จึงได้ตกลงกับพุทธศาสนิกชน สร้างเป็นพุทธรูปขึ้นมา นามว่า พระพุทธอชิรมหามุนีตรีโลกนาถศาสดา ที่ความสูง 20 เมตร หน้าตักกว้าง 4 เมตร สีทองทั้งองค์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านเคารพนับถือศรัทธามาก เพราะเชื่อว่า มีรุกขเทวดา คอยรักษาปกป้องอยู่
ที่ผ่านมา ได้มีคณะแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร บริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ 3 หลังจนแล้วเสร็จ
เจ้าอาวาสวัดพระประสิทธิ์ เทศนา ตอนหนึ่งว่า ทุกวันนี้ เด็กและเยาวชน ลูกหลาน ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องความกตัญญู ผู้มีพระคุณ ผู้ให้คือ พ่อแม่ ให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ให้โดยตลอด แต่ไม่รู้สึก ไม่รู้สำนึกในบุญคุณ ไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดา หรือ ญาติ พี่น้องก็ตาม แต่กลับ รักเพื่อน รักแฟนมากกว่า เช่น ไปเรียนหนังสือต่างจังหวัด ไม่เคยโทรศัพท์หาพ่อแม่เลย แต่ถ้าเป็นแฟน โทร หาทุกวัน นี่คือการลืมพ่อแม่
เรื่องมารยาท ก็เช่นเดียวกัน สมัยก่อน พ่อแม่ สอนว่า หากจะเดินผ่านผู้ใหญ่ หรือ ผู้มีอายุมากกว่า จะต้องก้มหัว หรือ ย่อตัวลง ซึ่งก็ทำตาม เวลาเดินผ่านผู้ใหญ่ก็ย่อตัวลง จึงบ่งบอกไปถึงพ่อแม่ ครูอาจารย์สอนดี การย่อตัว เพื่อแสดงถึงความยำเกรง ความเคารพ ผู้ใหญ่ หรือ ผู้มีอายุสูงกว่า หรือ หากเป็นบ้านไม้ พื้นไม้ จะต้องค่อยๆเดิน อย่าเดินเสียงดัง แต่เด็กทุกวันนี้ ไม่เป็นเช่นนั้น เดินผ่านผู้ใหญ่ แทบจะเดินชน ต้องหลบให้ หรือเดินบนบ้าน ก็เสียงดัง โดยเฉพาะวันๆไม่ทำอะไร นั่งก้มหน้าอยู่ที่จอมือถือและจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา นี่คือพฤติกรรมของเด็กสมัยนี้
ที่สำคัญ เด็ก มักจะห่างวัด และเข้าใจว่า คนที่จะไปวัดคือ คนเฒ่า คนแก่เท่านั้น บางคนอายุมากแล้ว ไม่เคยเข้าวัดเลย อย่างคำเปรียบเปรยที่ว่า วัดไม่เข้า พระเจ้าไม่นับถือ ประมาณนั้น จะเข้าวัดอีกทีก็คงตอนตายและไปเผาที่วัดเลย คงคิดเช่นนั้น
จึงอยากจะให้คณะศรัทธา ญาติโยม พุทธศาสนิกชน ทั้งหลาย ให้เข้าวัดกันมากๆ แม้จะมีพระบางรูป บางพวก ทำผิดกฎข้อบังคับสงฆ์ ผิดศีลธรรม เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลต่อวงการสงฆ์เสื่อมเสีย จึงเป็นหน้าที่ชาวพุทธทุกคน จะต้องปกป้องพุทธศาสนา โดยช่วยกัน สอดส่อง ดูแล กำจัดมารศาสนา ให้พ้นจากวงการสงฆ์ เพราะถือว่า เป็นพระปลอม เข้ามาทำลายพระพุทธศาสนาโดยตรง...
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี