สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชวนเที่ยวชมสัตว์ป่า เยี่ยมชมความน่ารักของลูกเสือโคร่งน้อย 2 ตัว พร้อมเชิญมาเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์หิ้วผักผลไม้สดมาฝากสัตว์ป่า
วันที่ 18 ต.ค.67 ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ นายสาธิต พันธุมาศ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ นำคณะจากองค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ เข้าเยี่ยมชมและดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นพี่เลี้ยงสัตว์ป่าเกือบ 600 ตัว บนเนื้อที่กว่า 6,000 ไร่ ของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ โดยล่าสุดเมื่อ 16 กรกฎาคม 2567 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ ได้รับลูกเสือโคร่ง หรือลูกเสือลายพาดกลอนมาดูแล 2 ตัวเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งเป็นลูกเสือของกลาง วัยเด็กยังไม่หย่านม หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันตรวจยึดมาจากกลุ่มขบวนการลักลอบจำหน่ายสัตว์ป่า โดยคดีความยังอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน
โดยลูกเสือทั้ง 2 ตัวขณะนี้อายุประมาณ 4 เดือนแล้ว เป็นวัยกำลังซุกซน หย่านมแล้ว และกินเนื้อสัตว์ได้แล้ว พี่เลี้ยงต้องคอยดูแล ป้อนอาหาร อาบน้ำ และพาเล่น เพื่อให้ลูกเสือโคร่งน้อยทั้งสองตัวที่กำพร้าแม่ ขาดสัญชาตญาณสัตว์ป่า ได้มีความคุ้นเคยกับพื้นที่ ได้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ซึ่งพี่เลี้ยงเรียกชื่อว่า อะเหนาะ อะเนียง ตามภาษาถิ่นเรียกชายเรียกหญิง เพราะยังไม่ได้มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ
นายสาธิต พันธุมาศ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เผยว่า การทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่เป็นพี่เลี้ยงลูกเสือโคร่งนั้น ก็เริ่มจากการเตรียมอาหารโดยจะให้อาหารเป็น อกไก่สดหั่นเป็นชิ้น สำหรับป้อนลูกเสือ 1 กิโลกรัมต่อตัว ซึ่งในการให้อาหารนั้นจะให้จำนวน 2 มื้อในเวลา 09.00 น.กับเวลา 15.00 น.หลังจากที่ให้อาหารแล้ว พี่เลี้ยงก็จะพาปล่อยออกจากกรงเพื่อผ่อนคลายวิ่งเล่นเดินเล่น ก่อนพาอาบน้ำเล่นน้ำและทำการกระตุ้นขับถ่ายเพื่อสังเกตดูมูลของลูกเสือว่ามีสุขภาพที่ปกติหรือเจ็บป่วยหรือไม่ ซึ่งอยู่ในความดูแลของสัตว์แพทย์ประจำสถานีอย่างใกล้ชิด
สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ มีพื้นที่กว่า 6,000 ไร่ บนรอยต่อของ 3 อำเภอ คืออำเภอภูสิงห์ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่า ก่อนที่จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อเป็นการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศของป่า นอกจากนั้นสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ ยังเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจได้เข้าศึกษา และเยี่ยมชมสัตว์ป่านานาชนิด มีพื้นที่จัดแสดงสัตว์แยกเป็นประเภทจุดละประมาณ 20 ไร่จัดเป็นโซนสัตว์กีบ เช่น เก้ง กวาง เนื้อทราย ละอง ละมั่งโซนสัตว์ปีก อินทรีย์ เหยี่ยว ไก่ฟ้า โซนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลิง นางอาย อีเห็น ชะมด ฯลฯ
ทั้งเดินเท้าเที่ยวชม และต้องนั่งรถเข้าพื้นที่ไปโซนเสือโคร่ง และเสือดาว รวมถึงจุดชมวิวด้านในติดแนวป่า จุดให้อาหารสัตว์ ที่ศูนย์แห่งนี้ มีสัตว์ป่าที่ต้องดูแลเกือบ 600 ตัว มีสัตว์ป่าตัวใหญ่คือ เสือโคร่ง 17 ตัว และเสือดาว 2 ตัว และลูกเสือที่รับมาอีก 2 ตัว มีลิง 100 ตัว รวมถึงสัตว์อื่นๆ มีทั้งสัตว์ป่าของกลาง สัตว์ป่วย สัตว์พิการ สัตว์ที่เป็นปัญหาต่อชาวบ้าน ในพื้นที่ภาคอีสาน รับผิดชอบ รวม 6 จังหวัด คือ จ.ศรีสะเกษ จ.อำนาจเจริญ จ.มุกดาหาร จ.สุรินทร์ จ.ยโสธร และ จ.อุบลราชธานี เมื่อจับมาแล้วก็จะนำมาฝากไว้ที่นี่
การเดินทางเข้ามาให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และเยี่ยมชมสัตว์ป่าต่างๆ กิจกรรมป้อนอาหารลิงภายในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชมความน่ารักของเหล่าสัตว์และเรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงโดยประชาชนทั่วไปเข้าชม วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 น.- 15.00 น. สำหรับมาเป็นหมู่คณะ นักเรียนนักศึกษาและหน่วยงานต่างๆ เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00 น.-15.00 น.
โดยสอบถามข้อมูลได้ที่ เฟสบุ๊ค เพจ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ เข้ามาเยี่ยมชมสัตว์ป่า หากมีผักหรือผลไม้ที่เหลือรับประทานในครัวเรือน ก็นำมามอบให้ไว้เลี้ยงสัตว์ป่าได้ หากมีจิตเมตตาอยากทำบุญกับสัตว์ป่า ขอเชิญชวนมาเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์สัตว์ป่า โดยนำอาหารและผักผลไม้สดมามอบได้โดยตรงที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ ได้บุญและสัตว์ป่ามีความหลากหลายทางอาหารต่อไป - 003
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี