วิกฤติหญ้าทะเลพะยูนหมด!! สตูลเปิดกิจกรรมฟื้นฟูหญ้าทะเลดึงชุมชนชาวประมงพื้นบ้านร่วมอนุรักษ์
19 พ.ย.67 ที่ท่าเรือบ้านท่าอ้อย ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม “ซีพี ร้อย รักษ์ โลก ฟื้นฟูหญ้าทะเล” ภายใต้โครงการซูเปอร์มาร์เก็ตชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง-สตูล มี สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 โดยมีหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ศูนย์ฯ กระบี่ กองตรวจการประมง กรมประมง ,ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดสตูล ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล นักเรียน ประชาชน และ หัวหน้าส่วนราชการ นายกองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และประชาชนเข้าร่วม
โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังร่วมกันจาก 5 ชุมชนในพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า ตำบลนาทอน ตำบลขอนคลาน และตำบลทุ่งบุหลัง ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของการช่วยกันดูแลและแก้ไข ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม บริเวณอ่าวไม้ขาว ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง เป็นการหาทางออกที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่ให้มีศักยภาพ ช่วยเพิ่มจำนวนหญ้าทะเล เป็นแหล่งอาหารพะยูน เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเลให้เกิดความสมดุลอีกด้วย
สำหรับโครงการฯนี้ จัดขึ้นเพื่อผนึกกำลังเครือข่ายทุกภาคส่วนในจังหวัดสตูล ร่วมกันบริหารจัดการและฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้า ทะเลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเล เช่น พะยูน ทั้งนี้ยังเพื่อขับเคลื่อนต่อยอดการดำเนินโครงการให้เกิดความยั่งยืน เป็นแหล่งอาหารของชุมชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที 1 การฟื้นฟูหญ้าทะเลให้กลับคืนมาและนำไปสู่การอนุรักษ์ ระยะที 2 การขยายผลสู่การบริหารทรัพยากร และการท่องเที่ยวชุมชน และระยะที่ 3 การถอดบทเรียน การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์สู่สาธารณะ นำไปสู่การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้หญ้าทะเลต่อไป
ด้านวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า ที่มาของการปลูกหญ้าทะเล เนื่องจากอาหารของพะยูนในพื้นที่ของจังหวัดสตูลบริเวณ ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล หญ้าทะเลลดน้อยลง จึงได้ทำการปลูกหญ้าทะเลทดแทน และได้เลือกพื้นที่อ่าวมะนาว ซึ่งเป็นพื้นที่ปากน้ำที่มีแร่ธาตุ รวมทั้งสร้างความตื่นตัวให้ชุมชน ช่วยกันอนุรักษ์ ส่วนปัญหาพะยูนตอนนี้ทั้งจังหวัดตรัง และสตูล อยู่ในขั้นวิกฤตตพะยูนตาย หญ้าทะเลลดน้อยลง และสำรวจพบว่า รังใหญ่ ที่บ้านใหญ่ในทะเลที่จังหวัดตรัง หญ้าทะเลหมด พะยูนจึงว่ายแตกฝูงออกมาบางส่วนมาที่จังหวัดสตูล บ้างพบการแยกรัง บ้างไปโผล่ที่พังงา ที่ภูเก็ต ส่วนที่หนีมาสตูลมีตายบ้างในรอบเดือนที่ผ่านมาพบตายบ่อย บางตัวพบถุงพลาสติกในท้อง ดังนั้นเพื่อช่วยกันอนุรักษ์ และ ร่วมกันปลูกหญ้าทะเล ซึ่งจุดที่เลือกปลูกเพราะเป็นแหล่งสัตว์น้ำ ตัวเล็กตัวน้อย อาศัยอยู่เยอะ ระบบนิเวศดี
ทั้งนี้ ทีมข่าวได้สัมภาษณ์กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องช่วยกันอนุรักษ์ พะยูนสัตว์ที่กำลังสูญพันธุ์ ก่อนที่จะ หายสาบสูญและตายไปหมด เพราะไม่มีแหล่งอาหาร หญ้าทะเล
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี