สุภาษิตไทย มีว่า “พายเรืออยู่ในอ่าง” ซึ่งหมายความว่า เวลาเรามีปัญหาอะไร เราก็ไม่แก้ไขให้หมดปัญหาไปสักทีเราก็ยังทนอยู่อย่าง “สุภาพ เรียบร้อย ด้วยความเกรงอกเกรงใจแบบไทยแท้”
ตอนนี้เราก็พายเรืออยู่ในอ่าง มาเป็นเวลา 92 ปีเศษแล้ว นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2567)
พระปรมาจารย์ทางพุทธศาสนา ก็ชี้ทางไว้ให้เราคนไทย หลายปีแล้วว่า
ส่วนพระราชบิดาของชาวไทย ที่ทรงจากพวกเราไปแล้ว ก็ได้พระราชทาน ข้อคิดให้เราคิด (เราอาจจะคิดไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ทำอะไร หรือยังทำอะไรไม่ได้) ว่า
“การทำให้บ้านเมือง มีความปกติสุขเรียบร้อย
จึงไม่ใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
(เพราะในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี)
หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง
และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ
ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
__________________________________
คำขวัญ (คติพจน์) ของคอลัมน์นี้ มีอยู่ว่า
ปรับทุกข์กันได้ ก็ดีแน่
ถ้าช่วยกันหาทางแก้ ก็ดียิ่ง
เราจึงยังคงปรับทุกข์กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ว่า
การทุจริตคอร์รัปชั่น แพร่ระบาดมากในประเทศไทยพนักงานของรัฐ ข้าราชการประจำและการเมืองจำนวนมาก หาประโยชน์โดยมิชอบเข้าตนการซื้อเสียงประชาชนในการเลือกตั้ง สส., อบจ., อบต. เทศบาล ฯลฯการซื้อเสียง หรือการตั้งมุ้ง (หรือบ้านใหญ่) มีผลประโยชน์ให้ สส. เพื่อตนเองเข้าสู่อำนาจบริหารการเอื้อประโยชน์ให้แก่ ญาติ มิตร พรรค และพวกการสืบทอดตำแหน่งไปให้ทายาท หรือญาติสนิท ไม่ว่าจะเป็นน้อง ลูก หลานการยอมเสียประโยชน์ของประเทศ เพื่อประโยชน์ของตนการแทรกแซงองค์กรอิสระการใช้นโยบายประชานิยม ชอบแจกปลา แต่ไม่แจกเบ็ด อันจะนำไปสู่การเป็นรัฐที่ล้มเหลวนักการเมืองบางคน รุกที่หลวง รุกที่อุทยานแห่งชาติการปฏิบัติตามคำพิพากษาของอำนาจตุลาการ ไม่มีผล เพราะนักการเมืองของฝ่ายบริหารไม่บังคับคดีให้ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ให้หน่วยงานในการดูแลของตน ทำโครงการที่ใช้เงินมาก เพื่อจะได้มีเงินทอนมากข้าราชการและพนักงานของรัฐ บางกลุ่มก็ทำตาม โดยหวังประโยชน์ร่วมด้วยบ้าง หรือหวังความก้าวหน้าทางราชการข้าราชการบางพวกไปกำกับดูแลธุรกิจสีเทาเอง เพื่อความร่ำรวยของตน หรือเพื่อส่งเจ้านายเพื่อความก้าวหน้ากฎหมายใช้บังคับได้แต่กับคนรากหญ้า แต่ใช้บังคับไม่ได้กับนักการเมืองที่อยู่ในอำนาจ
และ ฯลฯ
ถ้าเรายังคงปรับทุกข์กันอยู่ และยังคงนำพระบรมราโชวาทมาคิด (แต่ยังไม่ทำอะไร) เราก็อาจจะยังคงไม่มีคนดีมาปกครองบ้านเมือง อีกนานแสนนาน
ถ้าเรายังไม่หาทางแก้ เราก็ยังคง “พายเรือในอ่าง”อยู่ และอาจจะเป็นเช่นนี้ไปอีก 1-2 ศตวรรษ (100 - 200 ปี) ก็ได้
ความจริงคนดี ในเมืองไทยมีมากมาย เป็นผู้ที่มีจริยธรรม มีศีลธรรม มีความรอบรู้ในธุรกิจ ประชากิจ และรัฐกิจ เป็นนักบริหารมืออาชีพ ผู้ที่เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
เราจึงต้องช่วยกันหาทาง “ดึง” คนดี จากวงการต่างๆ ให้เข้ามาเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง หรือมาใช้อำนาจบริหาร แทนปวงชนชาวไทย
__________________________________
ทุกคนเคยเป็นคนดีมาก่อน
สส. แห่งอำนาจนิติบัญญัติ ก็เป็นคนดี อุตส่าห์ทิ้งการงาน ทิ้งอาชีพ อาสามาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะอยากเห็นประเทศไทยเจริญก้าวหน้าตุลาการ ไม่ว่าจะมาจากศาลยุติธรรม ศาลทหาร ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ล้วนแต่เป็นคนดี มีความรู้อุตส่าห์ร่ำเรียนมา ผ่านการฝึกอบรมมา ผ่านการกล่อมเกลามาเพื่อเป็นผู้พิพากษาที่ดี ให้ความเป็นธรรม และความสงบสุขแก่ประชาชนชาวไทยแต่ผู้ใช้อำนาจบริหาร อันได้แก่คณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรี เราไปกำหนดไว้เองว่า ต้องมาจากอำนาจนิติบัญญัติ คือต้องมาจากพรรคการเมือง มาจาก สส.ทั้งหลายของอำนาจนิติบัญญัติ จึงต้องใช้วิชามารมาช่วย ต้องซื้อเสียงประชาชน ซื้อเสียง สส. เข้าพรรค ก็ต้องทุจริตคอร์รัปชั่น เล่นพรรคเล่นพวก จึงต้องกลายเป็นคนไม่ดีไป เพราะระบบ (กลไกของรัฐธรรมนูญ) กำหนดไว้เช่นนั้น
__________________________________
พวกเราที่ไม่ชอบ การพายเรือในอ่าง จึงจำต้องช่วยกันหาทางแก้ ว่าจะทำอย่างไร จะให้คนดี และมีความสามารถในธุรกิจ ในประชากิจ และในรัฐกิจ เข้ามาบริหารและปกครองบ้านเมืองได้
ขั้นตอนแรก
เราควรจะกำหนดคุณสมบัติเสียก่อน ว่าใครบ้างที่จะเข้าข่ายเป็นคนดี มีความสามารถ ของอาชีพทั้งสามประเภท ได้แก่ธุรกิจ ประชากิจ และรัฐกิจ
ขั้นตอนที่สอง
เมื่อกำหนดคุณสมบัติได้แล้ว ก็มีการลงทะเบียนและประกาศชื่อนักธุรกิจ นักประชากิจ นักรัฐกิจ ที่เข้าข่ายมาเป็นมืออาชีพในการบริหารอาชีพของตน (professional executive) ซึ่งจะเป็นผู้เลือกตั้ง (electoral body) ประมุขของอำนาจบริหารและคณะ (นรม. และ ครม.)
ขั้นตอนที่สาม
เมื่อได้ผู้ที่มีคุณสมบัติจำนวนพอสมควร ในแต่ละสาขาอาชีพแล้ว ก็ให้เขาเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยอยู่แล้ว เลือกผู้ที่เหมาะสมจะเป็นผู้บริหารประเทศ ประมาณ 10-20 คน ในแต่ละสาขา โดยไม่ต้องมีการสมัคร เพราะนักบริหารมืออาชีพ ที่เข้าคุณสมบัติมาแล้วของแต่ละสาขาย่อมทราบกันดีว่า ใครดีแค่ไหน ใครสามารถระดับใดที่จะสมควรเข้ามาใช้อำนาจบริหาร แทนปวงชนชาวไทยได้
ขั้นตอนที่สี่
จากนั้น เปิดรับสมัครผู้ที่จะยอมเสียสละเข้ามารับใช้ชาติบ้านเมือง จากบุคคลทั้ง 30 หรือ 60 คน ที่ผ่านการกลั่นกรองชั้นแรกมาแล้ว (ในขั้นตอนที่สามข้างต้น) มาทำหน้าที่ประมุขของอำนาจบริหาร (หรือนายกรัฐมนตรี) ซึ่งจะต้องออกมาแถลงนโยบาย และแสดงทีมเวิร์กให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน (ตามขั้นตอนที่สอง) และประชาชนทราบ ทางสื่อสาธารณะ ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนประมาณ 6 ข้อ ซึ่งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบสมดุล (Balanced Democracy)
ขั้นตอนทั้งสี่ข้างต้น ได้มีการลงพิมพ์เผยแพร่ไปบ้างแล้ว ในคอลัมน์ของแนวหน้า เมื่อ 20 ตุลาคม 2567
เราก็จะได้คนดี เข้าสู่อำนาจบริหาร โดยไม่ต้องผ่านเวทีการต่อสู้แบบใช้วิชามาร เพื่อให้ได้ชัยชนะ ตามที่เป็นมาแล้ว 92 ปี
__________________________________
การถอนตัวออกมาจาก ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentarian Democracy) มาเป็นประชาธิปไตยแบบสมดุล (Balanced Democracy) จะทำให้ประเทศไทย ได้มี
คนดี จาก อำนาจนิติบัญญัติ อย่างแน่นอน
คนดี จาก อำนาจตุลาการ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว
และ คนดี จาก อำนาจบริหาร (นรม., รมต. ข้าราชการ) ซึ่งปัจจุบันยังขาดอยู่
__________________________________
และเป็นการวางดุลแห่งอำนาจ อันเหมาะสมระหว่างอำนาจทั้งสาม (อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ และอำนาจบริหาร) ที่จะคานและตรวจสอบ กำกับดูแล ซึ่งกันและกัน โดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เฉกเช่นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในปัจจุบัน
ศิริภูมิ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี