nn...ทำเอารมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์“พี่ลูกท็อป - วราวุธ ศิลปอาชา” ปลื้มปริ่มภูมิใจเป็นที่สุดเมื่อได้ไปเป็นประธานในงาน “พิธีเปิดห้องเกียรติยศ บรรหาร ศิลปอาชา” และพิธีมอบทุนการศึกษา “มูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา” ครั้งที่ 43 ปีการศึกษา 2567 ที่โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 วันก่อนบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่นชื่นมื่น...ก็ด้วย “พ่อบรรหาร-แม่แจ่มใส ศิลปอาชา”ผู้ก่อตั้งโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 ขึ้น ด้วยปณิธานที่ว่า “ทำเพื่อลูกเพื่อหลาน” ...สืบเนื่องถึงปัจจุบันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะลูกหลานชาวสุพรรณบุรีได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีมาตรฐาน ได้พัฒนาตัวเองจนเติบโตเป็นประชาชนที่มีคุณภาพ ในโอกาสนี้ รมต.พี่ท็อปบอกว่า “ถ้าวันนี้พ่อบรรหารได้รับรู้ว่าทางโรงเรียนสร้างห้องเกียรติยศให้ ผมคิดว่าท่านคงเขินครับ แต่ก็คงภาคภูมิใจในเหล่าลูกหลานนักเรียนรุ่นต่อรุ่นของท่านเช่นกัน ขอบคุณทางโรงเรียนที่ตั้งใจสร้างห้องนี้ขึ้นมานะครับ” ...ซึ่งวันเดียวกันนี้ ทางมูลนิธิฯยังได้มอบทุนการศึกษาให้นักเรียนที่มีความประพฤติดี มีความสามารถด้านวิชาการ กีฬา หรือดนตรี ทั้งหมด 78 ทุน รวม 274,000 บาท เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้น....งานนี้ นอกจากน้องๆ ที่ได้รับทุน เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาตัวเอง เพื่ออนาคตของตัวเอง จะได้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเองต่อแล้ว เชื่อว่ารมต.พี่ลูกท็อป ทายาทของอดีตนายกฯ “บรรหาร ศิลปอาชา” ก็คงได้แรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนทำงานเพื่อบ้านเมืองมากขึ้นไปอีกเช่นกัน...nn
nn...นอกจาก “ต้มยำกุ้ง” เมนูเด็ดของไทยจะได้รับการขึ้นทะเบียน “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” จาก“ยูเนสโก”แล้ว “เคบายา” ซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ถือเป็นการเสนอชื่อจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด ในด้านจำนวนประเทศที่เสนอชื่อ และก็ประสบความสำเร็จ เมื่อ “ยูเนสโก” มีมติให้ขึ้นทะเบียน “เคบายา” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโกด้วยในคราวเดียวกัน โดยเป็นมรดกวัฒนธรรมร่วม 5 ประเทศอาเซียนที่ร่วมเสนอไป
...ทั้งนี้ “ยูเนสโก”มองว่า “เคบายา” เป็นวิธีการแต่งกายที่พัฒนาตามไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สวมใส่ได้ทั้งในงานทางการและไม่เป็นทางการ งานสังสรรค์ทางสังคมและงานเทศกาล หรือจะสวมใส่ในศิลปะการแสดง
เช่น การแสดงเต้นรำ ละครเวที และภาพยนตร์ การออกแบบร่วมสมัยมักปรากฏในการประกวดนางงามและพิธีมอบรางวัล สะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้สวมใส่
ที่สำคัญการทำ “เคบายา” ต้องใช้ทักษะความรู้เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเตรียม การออกแบบ การคัดเลือก และการตัดเย็บผ้าและเครื่องประดับ ตลอดจนรูปแบบการเย็บและปักที่ต่างกัน ซึ่งปกติ ทักษะความรู้เหล่านี้จะถูกถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกสาวในแต่ละครอบครัว ดังนั้น “เคบายา” จึงเป็นส่วนสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของชุมชน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้วิธีการทำ-การสวมใส่ “เคบายา”จะมีรูปแบบต่างกัน แต่ก็ยังคงเป็นองค์ประกอบทางวัฒนธรรมร่วมกันที่ข้ามพ้นเชื้อชาติ ศาสนา และพรมแดน ที่สำคัญยังเอื้อให้เกิดการสนทนาการรวมตัวของชุมชนด้วย…งานนี้ อดีตรองโฆษกรัฐบาลและอดีต ผู้แทนฯกทม.หลายสมัยอย่าง“พี่กานต์ – ดร.รัชดา ธนาดิเรก” ก็ร่วมฉลองความสำเร็จกับเรื่องราวดีๆ ของประเทศ โดยเฉพาะการเสนอชื่อ “เคบายา”นั้น เป็นการเสนอมาตั้งแต่สมัยอดีตนายกฯลุงตู่ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เจ้าตัวก็เลยโพสต์ภาพสวมชุด “เคบายา”ที่ได้มาจากจ.ยะลาเมื่อกาลก่อน ทำเอาเอฟซีเข้ามากดไลค์กันรัวๆ แบบปัวะปัง เรียกว่าอินเทรนด์สุดๆเลยจ้า...nn
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี