สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาฬสินธุ์ ลุยฟื้นแหล่งไม้กลายเป็นหิน ภูปอ ตำบลนาบอน อำเภคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เรียนรู้โลกดึกดำบรพ์เชื่อมโยงไดโนเสาร์ภูน้อย มหัศจรรย์ดินแดนดึกดำบรรพ์ 150 ล้านปี พร้อมเสริมศักยภาพบุคลากรในชุมชนเรียนรู้เรื่องท่องเที่ยว
ที่ศูนย์เกษตรอินทรีย์เพชรจินดา ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ นายยศพงษ์ ทรงศิลป์ นายอำเภอคำม่วง เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาฬสินธุ์ กิจกรรมที่ 2 อบรมยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยนายคมสัน นิลยองตระกูล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาฬสินธุ์ มอบหมายให้ นางสาวสิริน โคตรธนู นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมดำเนินการตามกิจกรรม โดยมีนายบุญแสน บุญชัยแสน นายองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน นำผู้นำชุมชน ตัวแทนชุมชนจากภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมอบรมกว่า 80 คน พร้อมลงพื้นที่จัดทำเส้นทางเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวดึกดำบรรพ์ 150 ล้านปี ซึ่งเป็นจุดแข็งของอำเภอคำม่วง รวมถึงผ้าไหมแพรวาสินค้า GI
นายยศพงษ์ ทรงศิลป์ นายอำเภอคำม่วง กล่าวว่า แหล่งไม้กลายเป็นหินภูปอ มีการค้นพบจำนวนมาก มีหลากหลายขนาด นักธรณีที่ลงมาสำรวจและให้ข้อมูลทางธรณีไม้กลายเป็นหินที่พบมีอายุราว 150 ล้านปี เชื่อมโยงกับไดโนเสาร์ภูน้อย ในยุคเดียวกัน เป็นต้นไม้โบราณที่พบเป็น โคนต้น ลำต้น และกิ่ง เป็นป่ายุคจูแรสซิกตอนปลายถึงยุคครีเครเชียสตอนต้น กลุ่มพืช ปรง สน และแป๊ะก๊วย นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ยืนยันได้ว่าพื้นที่ของภูปอในอดีตเป็นแหล่งดึกดำบรรพ์ ที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก สำหรับในการจัดอบรมบุคลากรในครั้งนี้ เป็นการเริ่มต้นให้ความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอีกครั้ง ซึ่งผู้เข้าอบรมมีทั้งส่วนของผู้นำกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนภูปอที่มีความเข้มแข็ง กลุ่มชาวบ้าน กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่และร่วมถึงภาครัฐด้วย
“ในแนวทางการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ต้องอาศัยความเข้มแข็งชองชุมชนเป็นหลัก ที่จะหลอมรวมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะมีผู้คนจำนวนมากเดินทางมาท่องเที่ยวภูปอเพื่อชมแหล่งไม้หลายเป็นหิน และชุมชนเองก็จะมีรายได้จากการพัฒนาแบบ100% อย่างไรก็ตามทางอำเภอคำม่วงได้วางแผนระยะยาวในการจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวแหล่งไม้กลายเป็นหิน เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่เบื้องต้นจะเริ่มดำเนินการประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาร่วมสำรวจเพื่อจัดทำเส้นทางที่ค้นพบแหล่งไม้กลายเป็นหิน รวมถึงเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนที่เชื่อมโยงภูปอ ซึ่งต้นปี 2568 น่าจะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชมแหล่งไม้กลายเป็นหินได้” นายอำเภอ กล่าว
นางสาวสิริน โคตรธนู กล่าวว่า สำหรับโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาฬสินธุ์ กิจกรรมที่ 2 อบรมยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ที่มุ่งเน้นในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย 3 ช่วงวัย รวมถึงผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ซึ่งในกิจกรรมที่ 2 นอกเหนือจากการจัดอบรมให้ความรู้ด้านธรณีวิทยา โดยวิทยากรจาก พิพิธภัณฑ์สิรินธร และการอบรมแนวทางการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว โดยนางนฤมล สิงห์เงา ปลัดเทศบาลตำบลโนนบุรี จากแหล่งค้นพบไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ที่ผลักดันให้เกิดกิจกรรมและชุมชนท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
พร้อมการลงพื้นที่แหล่งไม้กลายเป็นหินและศึกษาเส้นทาง “อุทยานธรณีโลกกาฬสินธุ์” พื้นที่อำเภอคำม่วง ภูน้อยแหล่งขุดค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์ พื้นที่อำเภอสหัสขันธ์ วัดพุทธนิมิตภูค่าว และวัดสักกะวันภูกุ้มข้าว พิพิธภัณฑ์สิรินธร และอำเภอกุฉินารายณ์ พิพิธภัณฑ์นาไคร้ และวัดภูดานไห โดยจัดให้มีการแบ่งกลุ่มสร้างเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนเพื่อรองรับการเปิดตัว “อุทยานธรณีโลกกาฬสินธุ์” ในอนาคตด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี