สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นนานาชาติ จัดงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568” Thailand Inventors’ Day 2025 ภายใต้แนวคิด“สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย : ความท้าทายของประเทศ”จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 26 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”เครื่องกลเติมอาการที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 และรัฐบาลได้ประกาศให้ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็น วันนักประดิษฐ์ ในเวลาต่อมา
การจัดงานโดยในปีนี้มีผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจากนักประดิษฐ์ไทยและนานาชาติส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 1,000 ผลงาน ซึ่งจะมีกำหนดจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568เวลา 09.00-17.30 น. ณ อีเว้นท์ ฮอลล์ 101-104 ไบเทค บางนา
การนี้ วช.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2568 ในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. และพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติฯ และเกียรติบัตรแก่นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568 เข้ารับพระราชทานรางวัลจำนวน 13 คน จาก 9 สาขาวิชาได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.รักชาติ ไตรผล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ประสิทธิ์ ทองใบ คณะสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 2 ท่าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รังสรรค์ ฤกษ์นิมิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.นริศรา จันทราทิตย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี สว่างพฤกษ์ สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยสิริเมธี
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ศาสตราจารย์ ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จำนวน 2 ท่าน ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ไชยประพัทธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศาสตราจารย์ ดร.ปฏิพัทธ์ ทวนทอง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สาขาปรัชญา ศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
สาขารัฐศาสนศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ศาสตราจารย์ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์คู่สกุลนิรันดร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาการศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.เนาวนิตย์ สงคราม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงานในปีนี้ ประกอบด้วย นิทรรศการ “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสืบสานรักษาและต่อยอดเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร นิทรรศการแสดงรางวัลการวิจัยแห่งชาติ นิทรรศการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมากกว่า 1,000 ผลงาน จาก 6 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ ด้านความมั่นคง เกษตรสร้างมูลค่า อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต นวัตกรรมการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ สังคมผู้สูงวัยและผู้พิการ และนวัตกรรมสีเขียว
นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ มหกรรมสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม อาทิ การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา / สีเขียวเพื่อทุกสีสัน:หมึกพิมพ์และสารเคลือบชีวภาพ / Tilapia Strep-Easy Kit ชุดตรวจอย่างง่ายเกษตรกรทำได้เอง สำหรับการเฝ้าระวังและจัดการควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิส ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลานิลและปลาทับทิม / นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เซรามิกสร้างสรรค์จากลักษณะเฉพาะของขยะเปลือกหอยแมลงภู่ / โฟมยางดูดซับน้ำมันจากยางพาราและผลึกนาโนเซลลูโลส / เบสท์ทูซอร์บ : นวัตกรรมตัวดูดซับแบบย่อยสลายได้ เพื่อใช้ในผ้าอ้อมผู้ใหญ่
นวัตกรรมหมุดจัดฟันขนาดเล็กความแข็งแรงสูงโดยเพิ่มประสิทธิภาพจากกระบวนการปรับผิวแบบการยิงอนุภาคละเอียด พร้อมทั้งทดสอบประสิทธิภาพเพื่อขึ้นทะเบียน อย.และการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน / ชุดอุปกรณ์ดูแลอนามัยช่องปาก (ปลากัดและผองเพื่อน) / แผ่นดูดซับและกักเก็บคราบน้ำมันและสารเคมีจากเส้นใยนาโนธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง / ชุดตรวจสอบธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน และเหล็ก เพื่อจัดการธาตุอาหารพืชในดินเชิงพื้นที่อย่างรวดเร็ว / คุณค่าคัมภีร์ใบลานอักษรธัมม์มรดกธรรมจากพุทธกาล / การยกระดับกระเป๋าจักสานมรดกไทยเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสร้างรายได้ของชุมชน / การผลิตไข่ต้มจากพืชไร้สารก่อภูมิแพ้ สะดวกเก็บ สะดวกกิน / ผลิตภัณฑ์หนังเทียมจากเส้นใยสับปะรด / Dreamy Herbs ผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมสารสกัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมฯลฯ
ตื่นตาตื่นใจกับผลงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์เป็นจำนวนมาก ในโครงการ IPTEx การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ได้แก่ ระดับเยาวชน I-New Gen Award 2025 การประกวดโครงงานนักประดิษฐ์รุ่นจิ๋ว I-New Gen Junior Award 2025 และเลือกชมเลือกซื้อสินค้าจากตลาดสินค้าและนวัตกรรม ผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ถูกขับเคลื่อนสู่โลกการค้าอีกเป็นจำนวนมาก ในราคาพิเศษ และสามารถเข้าร่วม การเสวนาการฝึกอบรมเชิงวิชาการและปฏิบัติการมากกว่า 100 หัวข้อ อาทิ การเสวนาในหัวข้อการส่งเสริมพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประดิษฐ์คิดค้น และ การฝึกอบรมอาชีพอีกด้วย
พิเศษสุด ภายในงานจัดให้มีโซนนิทรรศการที่ผู้เข้าชมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในแต่ละสถานีกิจกรรมอย่างสนุกสนานกว่า 20 สถานี ได้แก่ Inventor Station :สถานีนักประดิษฐ์ / ศูนย์เกษตรวิถีเมือง / Green Landดินแดนปลอดฝุ่น / ของเล่นไทย : สนุกวิทย์ คิดแบบเล่น Thai Toys : Exploring Fun Through Science / Game of Drones / MedLab Experience : ผจญภัยในโลกนวัตกรรมการแพทย์สมัยใหม่ / The Secret Garden มหัศจรรย์สวนปริศนา ฯลฯ
วช.ขอเชิญชวนประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ลงทะเบียนเข้าร่วมชมงาน และสำรองสิทธิ์เข้าร่วมประชุมสัมมนา ในหัวข้อการประชุมที่จะจัดขึ้น ภายใน งานวันนักประดิษฐ์ 2568Thailand Inventors’ Day 2025 ระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2568 ผ่านการลงทะเบียนออนไลน์ที่http://inventorsdayregis.com หรือสแกน QR-Codeดังที่ปรากฏตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี