อำเภอปายและทีมแม่ฮ่องสอนท่องเที่ยวพลัส เปิดห้องถกร่วมกับผู้ประกอบการล่องห่วงยางแม่น้ำปาย ตลอดจนตัวแทนชุมชน วางแนวทางปรับปรุงการจัดกิจกรรมล่องห่วงยางแม่น้ำปาย เพื่อร่วมบูรณาการแก้ปัญหาผลกระทบล่องห่วงยาง "ห้ามมียาเสพติด ห้ามจำหน่ายจ่ายแจกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงก่อนการล่องห่วงยาง"
วันที่ 15 ก.พ.68 ว่าที่ร้อยตรีภาณุวัฒน์ ขัดนาค ผอ.ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารที่ทำการกองร้อยอาสารักษาดินแดน ที่ว่าการอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทีมแม่ฮ่องสอนท่องเที่ยวพลัส ประกอบด้วย ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน ร่วมกับ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่องสอน สถานีตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน สถานีตำรวจภูธรปาย สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวปาย และผู้เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดประชุมร่วมกับผู้ประกอบการล่องห่วงยางแม่น้ำปาย ตลอดจนตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบ มาร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางปรับปรุงการจัดกิจกรรมล่องห่วงยางแม่น้ำปาย โดยมีนายณพล พาหุมันโต นายอำเภอปายเป็นประธาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยนายณพล พาหุมันโต นายอำเภอปาย (ประธานการประชุม), พ.ต.ท.วีรภัทร คำลาพิช รอง ผกก.ป.สภ.ปาย, นางสาววริชญา ชอุ่ม ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่องสอน, ว่าที่ ร.ต.ภาณุวัฒน์ ขัดนาค ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานแม่ฮ่องสอน, พ.ต.ท.สุวิทย์ บุญยะเพ็ญ สว.ส.ทท.4กก.2 บก.ทท.2, นายภูรีภัทร พิพัฒน์พงศธร ปลัดอาวุโส อำเภอปาย, นายณัฐชนน วงค์ธิมา ปลัดอำเภอปาย, นายชัยวิชช์ สัมมาชีววัฒน์ อุปนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวปาย, นางสาววราภร กลางถิ่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ทกจ.แม่ฮ่องสอน, นางสาวเขมรัศมิ์ อมรพัชราลักษณ์ พ.การตลาด 5 ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน, นางสาวธนาพร หมุดดี เจ้าหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ทกจ.แม่ฮ่องสอน,
จ.ส.อ.คุณากร ลออสกุล เจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยว, นายลัทธสิทธิ์ ดารา ที่ปรึกษาตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน, ม.ต.ชินดนัย คำแหลง สมาชิกกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอปายที่ 4, นางสาวพิชามญชุ์ กล่ำศิริ ผู้ประกอบการ Family House @ Pai (ผู้แทนภาคประชาชน), นางสาววิวรรณ ปานาพรม ประชาชนในพื้นที่ (ผู้แทนภาคประชาชน), นางสาวสุรีกานต์ แซ่อั้ง ประชาชนในพื้นที่ (ผู้แทนภาคประชาชน), นายเจดีย์ ดวงมาลัย ผู้ประกอบการที่พัก, นายผดุงเกียรติ กันทะมา ผู้ประกอบการล่องห่วงยาง Tipsy Tubing, นางสาวฐิญาพิชญ์ พักกระสา ผู้ประกอบการร้านอาหาร Fat cat’s (ผู้แทนภาคประชาชน), นายพยุงศักดิ์ ปิ่นแก้ว ผู้ประกอบการล่องห่วงยาง Jungle Tubing และนายวัชระ ทุมมา ผู้ประกอบการล่องห่วงยาง Jungle Tubing
จากการประชุมและลงพื้นที่สังเกตการณ์ ในที่ประชุมได้มีข้อสรุปซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกัน เพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาสำหรับส่งเสริมกิจกรรมการล่องห่วงยางแม่น้ำปาย ดังนี้
1. ให้ผู้ประกอบการทำประกันภัยแก่นักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมส่งรายชื่อนักท่องเที่ยว ในรูปแบบประกันภัยกลุ่ม ให้แก่สถานีตำรวจตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน (บ้านน้ำฮู อ.ปาย) ภายในเวลา 12:30 น. ก่อนกิจกรรมล่องห่วงยาง
2. ระหว่างการล่องห่วงยางให้ผู้ประกอบการพิจารณาเลี่ยงจุดผ่านที่เป็นโรงเรียน, วัด, ชุมชนหนาแน่น หรือผ่านจุดที่มีความเปราะบาง
3. ห้ามมียาเสพติด ห้ามจำหน่ายจ่ายแจกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงก่อนการล่องห่วงยาง ส่วนการพกพามาเองของนักท่องเที่ยวต้องใส่ภาชนะที่มิดชิด (เช่นแก้วแบบพกพา) ไม่ให้ใช้บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วกระป๋อง และหรือมีตราสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากนักท่องเที่ยวดื่มไม่หมดไม่อนุญาตให้พกพาลงน้ำ โดยให้ฝากไว้ที่รถ เพราะรถรับส่งมาคันไหนกลับคันนั้นอยู่แล้ว
4. การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจุดพัก ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายอย่างถูกต้อง รวมทั้งจำหน่ายตามเวลาที่กฎหมายกำหนด และควรพิจารณาไม่ขายให้ลูกค้าที่มีอาการมึนเมามาก
5. ให้มีการติดป้ายเตือน หรือบอกกล่าวนักท่องเที่ยวให้สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด เรียบร้อย ภายหลังจากการร่วมกิจกรรม หรือเข้าสู่ที่ชุมชน
6. การขนส่งให้ขับรถอย่างสุภาพไม่ขับรถเร็วในพื้นที่ชุมชน ผู้ขับขี่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ สามารถควบคุมนักท่องเที่ยวไม่ให้ส่งเสียงดัง ระหว่างทางพาไปจุดปล่อยตัว
7. กรณีจุดขึ้นลงที่ส่งผลกระทบกับชุมชนให้เปลี่ยนเส้นทางท่าลงและท่าขึ้นฝั่ง
8. ให้ผู้ประกอบการส่งรายชื่อคนขับรถทุกคน พร้อมสำเนาใบอนุญาตขับขี่ให้สถานีตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน
9. ติดป้ายเตือน ข้อห้าม สิ่งที่ไม่ควรทำ ติดข้างรถรับส่ง และมีชื่อหรือตราสัญลักษณ์ชื่อผู้ประกอบการอยู่ในป้าย หรือติดข้างประตูรถรับส่ง หากพบการผิดข้อตกลงทางชุมชนผู้พบเห็นจะได้แจ้งให้ดำเนินการต่อไปได้อย่างถูกต้อง
10. ขอให้ส่งรายชื่อรายชื่อเจ้าหน้าที่ staff ที่ควบคุมดูแลนักท่องเที่ยวในการเล่นกิจกรรมล่องห่วงยางให้สถานีตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน
11. ให้ผู้ประกอบการมีการให้ควบคุมการใช้เสียง และไม่ให้ส่งเสียงดัง หรือเกิดการรบกวนผู้อื่น หากไม่ปฏิบัติตามจะมีมาตรการจำกัดรูปแบบลำโพง และเครื่องขยายเสียงต่อไป
12. ให้แจ้งผู้ประกอบการแจ้งการปฏิบัติตนของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับข้อห้ามต่าง ๆ ทุกครั้งก่อนปล่อยตัว
13. นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เป็นลูกจ้างของผู้ประกอบการต้องมีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง (Workpermit) เช่น ดีเจเปิดเพลง ฯลฯ
14. ผู้ประกอบการแต่ละราย ต้องจำกัดจำนวนลูกค้าแต่ละครั้ง ไม่ให้เกิน 500 คน และต้องมีทีมงานเจ้าหน้าที่ Staff คอยดูแล 12 ต่อ 1 กรณีที่จะขอเจ้าหน้าที่ ชรบ. หรือ อปพร. ให้มีการประสานงานและแจ้งทางอำเภอก่อน เพราะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง
15. ในวันที่ 1 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป จะต้องมีการดำเนินการให้เป็นรูปธรรมชัดเจน และทางผู้ประกอบการที่พบปัญหาต้องเปลี่ยนจุดขึ้นลงไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน โดยในระหว่างนี้ยังอนุโลมให้ใช้เส้นทางเดิม แต่เพิ่มความระมัดระวังและใช้มาตรการต่าง ๆ ที่เข้มงวด
16. จะมีทีมงานการท่องเที่ยวและฝ่ายปกครองคอย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบ ติดตามผลและประเมินผลเป็นระยะ หากพบว่าผู้ประกอบการรายใดฝ่าฝืน หรือยังมีการถูกร้องเรียนอีก หากพบว่ามีการผิดข้อตกลงตามที่กำหนดไว้จะให้ระงับการจัดกิจกรรม
ในที่ประชุมได้ข้อสรุปเป็นที่พอในของทุกฝ่าย จากนั้น ทีมแม่ฮ่องสอนท่องเที่ยวพลัส ได้ลงพื้นที่ติดตามสังเกตการณ์ ตลอดจนพบปะกับผู้ประกอบการและชุมชนในพื้นที่ เพื่อรับฟังข้อมูลเพิ่มเติม จากนั้น ได้เข้าพบนายเอกวิทย์ มีเพียร ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อรายงานผลการดำเนินให้ทราบในเบื้องต้น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี