21 เมษายน 2568 เฟซบุ๊ก 'NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ' โพสต์ข้อความว่า "24 เมษายนนี้ ดาวศุกร์สว่างที่สุด ช่วงเช้ามืด ชวนชม “ดาวศุกร์สว่างที่สุด”
รุ่งเช้า 24 เมษายน 2568 ปรากฏสว่างเด่นทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หากฟ้าใส ไร้ฝน สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์
ในวันที่ 24 เมษายน 2568 “ดาวศุกร์” จะปรากฏสว่างที่สุดเป็นครั้งสุดท้ายในรอบปีนี้ เห็นชัดด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 04:00 น. เป็นต้นไป จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า
หากดูผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวยังสามารถสังเกตเห็นดาวเสาร์ปรากฏถัดลงมาใกล้ขอบฟ้า อีกทั้งยังมีดวงจันทร์เสี้ยวปรากฏสว่างถัดขึ้นไปอีกด้วย หากทัศนวิสัยท้องฟ้าดีสามารถชมความสวยงามของดาวศุกร์และวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ หากดาวศุกร์ปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า คนไทยจะเรียกว่า “ดาวประจำเมือง” แต่หากดาวศุกร์ปรากฏในช่วงเช้ามืดทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นคนไทยจะเรียกว่า “ดาวประกายพรึก”
“ดาวศุกร์สว่างที่สุด” คือช่วงที่ดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวที่มีขนาดใหญ่จากมุมมองบนโลก แม้จะไม่เต็มดวง แต่เนื่องจากอยู่ใกล้โลกและมีพื้นที่ผิวที่สะท้อนแสงอาทิตย์ได้มาก จึงทำให้ดาวศุกร์ดูสว่างจ้ามากกว่าช่วงอื่น ๆ แม้ดาวศุกร์จะมีเสี้ยวที่หนากว่า แต่ด้วยตำแหน่งที่อยู่ห่างจากโลกมาก ความสว่างจึงลดลงตามไปด้วย"
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี