ผู้จัดการมรดก หรือ “ผู้จัดการทรัพย์มรดก” นั้นคือบุคคลที่ผู้ทำพินัยกรรมหรือศาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งเพื่อดำเนินการตามที่พินัยกรรมได้กำหนดไว้หรือจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่างๆ ให้กับทายาทโดยจะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์ของทายาทด้วย
การตั้งผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม นั้นสามารถตั้งขึ้นได้โดยทำพินัยกรรมเป็นผู้แต่งตั้งขึ้นเองและบุคคลที่ผู้ทำพินัยกรรมได้ระบุไว้เป็นผู้แต่งตั้ง
ดังนั้น ในการตั้งผู้จัดการมรดกเจ้ามรดกอาจจะระบุชื่อผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมเลยก็ได้ หรืออาจจะระบุมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นผู้แต่งตั้งก็ได้ สิ่งที่สำคัญพินัยกรรมนั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายรวมถึงคำสั่งของเจ้ามรดกในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมนั้นจะต้องชัดเจน ถ้าคำสั่งนั้นไม่ชัดเจนก็ยังไม่สามารถถือได้ว่าเป็นการตั้งบุคคลนั้นๆเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากนี้แล้วพินัยกรรมอาจจะกำหนดหน้าที่ต่างๆ ของผู้จัดการมรดกที่พินัยกรรมได้ตั้งขึ้นไว้ก็ได้ โดยข้อกำหนดนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกก็สามารถที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับการเป็นผู้จัดการมรดกได้ และถือได้ว่าเป็นเหตุในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้
การตั้งผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกโดยคำสั่งศาล
การแต่งตั้งผู้จัดการโดยที่ศาลเป็นผู้มีคำสั่งให้แต่งตั้งในกรณีนี้ทายาทของเจ้ามรดกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกหรือพนักงานอัยการสามารถที่จะยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ในกรณี ดังนี้
1.เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกได้ถึงแก่ความตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหาย หรืออยู่นอกราชอาณาจักรหรือเป็นผู้เยาว์
2.เมื่อผู้จัดการมรดกที่เจ้ามรดกได้แต่งตั้งหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจในการจัดการทรัพย์มรดกหรือปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือการแบ่งปันทรัพย์มรดก
3.เมื่อปรากฏว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมซึ่งได้มีการระบุแต่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลในการใช้บังคับได้ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุประการใดๆ ก็ตาม
ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก มีอยู่ 3 ประเภทคือ ทายาท ผู้มีส่วนได้เสีย และพนักงานอัยการแม้กฎหมายจะให้อำนาจพนักงานอัยการ เป็นผู้ที่สามารถร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลได้ ก็ควรจะจำกัดอยู่เฉพาะกรณีที่ทรัพย์มรดกนั้นตกเป็นของแผ่นดินหมายถึงกรณีที่ไม่มีทายาทรับมรดกเท่านั้น ไม่ควรร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกทั่วไป และการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยทั่วไปควรเป็นหน้าที่ของทนายความเท่านั้น เพราะในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกอาจเป็นคดีมีข้อพิพาทตามมาหากกรณีพิพาทนั้นเกิดจากการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกที่พนักงานอัยการเป็นผู้ร้องขอและเกิดเป็นคดีอาญาตามมาในภายหน้าแล้ว การอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่กรณีในคดีอาญาที่ตามมาจะเป็นปัญหาหรือไม่
ไหนๆ ก็จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมแล้ว ก็ขอปฏิรูปในประเด็นนี้ด้วยนะขอรับ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี