9 มิ.ย.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่หมู่บ้านช้างบ้านหนองบัว ม.14 ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ได้มีการ “รำหมูดหมัด” ภาษากวย หรือกูย ชนพื้นถิ่นสุรินทร์ หากชนพื้นเมืองเขมรสุรินทร์จะเรียกว่า “เรือมะม๊วด” หรือภาษาไทยเรียกว่า "รำแม่มด" ซึ่งเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นการแก้บน หรือคนในครอบครัวไม่สบายจะต้องทำพิธีรำแม่มด เพื่อให้หายจากการเจ็บป่วย ด้วยพลังที่อยู่เหนือธรรมชาติที่คนอีสานให้ความเคารพนับถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีความ รู้สึกมั่นคงปลอดภัย และยึดเหนี่ยวความสัมพันธ์ของคนในสังคมมักจะอยู่ในรูปแบบของเรื่องเกี่ยวกับ“ผี” เพราะความเชื่อเรื่อง “ผี” หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติเป็นที่มาของการดำเนินชีวิตทั้งของส่วนบุคคลและของชุมชนโดยรวม
พิธีกรรมการรักษาโรคโดยการนับถือผีในภาคอีสานโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ถึง 4 ชาติพันธุ์หลักๆ คือ เขมร (เขมรถิ่นไทย) ส่วย (กวย กูย โกย) ลาว (ลาวอีสาน) และเยอ วัฒนธรรมการนับถือผียังมีความเข้มแข็งและมีการสืบทอดติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องและยังมีผลต่อระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติและชุมชนตลอดจนระบบการรักษาดูแลสุขภาพตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ความเชื่อในเรื่องของการรักษาโรคโดยพิธีกรรมการนับถือผีในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ต้องการของผู้รับการรักษาหรือกลุ่มคนในชาติพันธุ์เดียวกันนั่นก็คือ การหายจากการเจ็บป่วยและมีชีวิตที่สงบสุข แต่มีความแตกต่างกันเรื่องของพิธีกรรมและตระกูลผีที่ตัวเองนับถือ กลุ่มชาติพันธุ์เขมร นับถือผีมะม๊วตหรือแม่มด กลุ่มชาติพันธุ์ส่วยหรือกูย นับถือผีนางออหรือแม่สะเอ็ง กลุ่มชาติลาวนับถือผีฟ้าหรือผีแถน กลุ่มชาติพันธุ์เยอนับผีแม่สะเอ็งกิจกรรมการรักษาโรคโดยพิธีกรรมการนับถือผีของทั้งสี่กลุ่มชาติพันธุ์จะมีโครงสร้างความสัมพันธ์กันแบบกลุ่มเครือข่ายหรือเรียกว่า “สาย” ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันอาจจะมีหลายกลุ่มเครือข่าย หรือหลายสายก็ได้ วิธีการรักษาโรคโดยพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับผี เป็นวิธีการรักษาโรค ที่ไม่ได้ใช้ ยา หรือสมุนไพร หรือวัตถุใดเป็นเครื่องมือในการรักษาแต่เป็นวิธีการรักษาโดยใช้รูปแบบการรวมกลุ่มเครือญาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการดูแลสุขภาพแบบเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันของชุมชน ระบบนี้เรียกว่าการแพทย์แบบวัฒนธรรม คือการใช้กระบวนการทางสังคมวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางสุขภาพ ส่วนเครื่องมือหรือกิจกรรมที่ใช้เป็นสื่อในการทำการรักษาก็คือ ดนตรีและฟ้อนรำ หรือเรียกว่า สังคีตบำบัด (ดนตรีบำบัด)
นางเสาร์ ศาลางาม อายุ 71 ปี และนางไล สมสวย อายุ 50 ปี บ้านเลขที่ 41 บ้านหนองบัว ครูรำหมูดหมัด ได้ร่วมประกอบพิธีกรรม โดยการเชิญทั้งวิญญาณคนเป็น และวิญญาณคนตาย ไปแล้ว ให้เข้ามาอยู่ในร่างของนางเสาร์ วิญญาณ คนไหนเข้าที่เข้ามา เขาก็จะรำทำท่าทาง และเสียงก็จะเหมือนคนนั้นและในวันนี้วิญญาณของทุกคนเข้ามาหานางเสาร์ เพียงคนเดียว นางเสาร์จะเลือกเสื้อผ้า ก็จะมีทั้งผ้านุ่งซิ่นไหม ผ้าโสร่ง สไบ ผ้าขาวคะม้า และอื่นๆอีกหลายอย่าง ในระหว่างนั้นหมอแคนและมือกลองก็ช่วยกันบรรเลงดนตรีพื้นบ้านอย่างสนุกสนาน แต่เต็มไปด้วยความเข้มขลัง พลังเหนือธรรมชาติ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เรือมะม๊วดหรือรำแม่มด ที่ชาวบ้านเชื่อ รักษาโรคต่างๆได้จริง
โดยมี นายเบา สืบเทพ อายุ 83 ปี เป็นมือหมอแคน อยู่บ้านเลขที่ 114 ม.1 บ้านกระโพ ต .กระโพ. อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ และ นายกำพล จิตรหาญ อายุ 72 ปี เป็นมือกลอง ทั้งสองเป็น ชาวบ้านกระโพ ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
นายเบา สืบเทพ อายุ 83 ปี มือหมอแคน กล่าวว่า ตนได้เป่าแคนมาตั้งแต่ ยังหนุ่มๆ รับเป๋าแคนทั่วราชอาณาจักร แต่ละงานได้เงินค่าเป่าแคนประมาณ 1,000-3,000 หรือมากกง่านั้น แล้วแต่เจ้าภาพ โดยเริ่มเป่าแคน ตั้งแต่ก่อนจะเริ่มพิธีกรรม จะต้องมีอาจารย์ร่างทรงนำเข้า เละนำออกถึงจะเสร็จพิธี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี