"เลขาฯศาลยุติธรรม" เผย กำไล EM ใช้เต็มประสิทธิภาพเกิน 5,000 เครื่อง พร้อมเช่าเพิ่ม เล็งบริษัทลดขนาดเล็ก-ปรับไม่ให้กินแบต เผยคดีเมาแล้วขับ ขอศาลสั่งกำหนดพื้นที่ระยะเวลาติดตามพื้นที่ขับรถ ช่วยคุ้มครอง ปชช.
1 ธ.ค. 61 ที่ห้องประชุมชั้น 12 สำนักงานศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก "นายสราวุธ เบญจกุล" เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ได้เปิดถึงผลการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือกำไลข้อเท้า EM กับผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มีหลักทรัพย์ไม่เพียงพอในการยื่นประกันตัวว่า ครั้งแรกศาลยุติธรรม ได้เริ่มนำร่องอุปกรณ์ EM ที่ได้มาชุดแรก 5,000 เครื่อง มูลค่าประมาณ 80 ล้านบาทใน 15 ศาล จนขณะนี้ขยายใช้ในศาลยุติธรรมทุกทั่วประเทศกว่า 5,567 เครื่อง ซึ่งในอนาคตเตรียมเช่าอุปกรณ์ EM ใช้เพิ่มเติมอีก
สำหรับปัญหาที่พบในการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว คือส่วนของตัวเครื่อง (กล่องสัญญาณ) ที่มีขนาดใหญ่เกินไป ดังนั้นจึงเตรียมประสานบริษัทผู้ให้เช่าแก้ไขอุปกรณ์ให้มีขนาดเล็กลง ระยะเวลาการใช้แบตเตอร์รี่ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขเครื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่เป็นประโยชน์อย่างมากคือช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ได้ประสานกับกรมคุมประพฤติให้ใช้เครื่องกับผู้ต้องคดีเมาแล้วขับในการควบคุมติดตาม จำกัดระยะทาง เวลาช่วงเดินทางออกพื้นที่ในการขับรถได้ ก็จะเป็นการดูแลคุ้มครองประชาชนที่ใช้ถนนร่วมกันจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะด้วย
วันเดียวกันนี้ ที่ "ศูนย์ควบคุมติดตามการปล่อยชั่วคราวและการบังคับตามคำสั่งศาลโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ EM " นายปุณณพัฒน์ มหาลี้ตระกูล ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฏีกา ได้บรรยายและสาธิตการใช้อุปกรณ์กำไลข้อเท้า EM ซึ่งมีคุณสมบัติทน ลงน้ำลึกได้ถึง 3 เมตร และมีระบบ GPS ติดตามตัวพร้อมการแจ้งเตือนการชาร์ตแบตเตอร์รี่เมื่อแตะที่ 20%
ทั้งนี่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมฯ สำนักงานศาลยุติธรรม จะติดตามผลผ่านหน้าจอมอนิเตอร์ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง หากพบว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีพฤติกรรมผิดเงื่อนไข เช่น ออกนอกเขตตามเวลา หรือระยะทางที่ศาลกำหนด ก็จะแจ้งเตือนไปถึงก่อนหรือคนใกล้ชิด และหากมีการแกะทำลายเครื่องทิ้ง ก็จะติดตามตัวจากตำแหน่งสุดท้ายที่ยังอยู่ ซึ่งจะใช้กูเกิ้ลแม็ปร่วมด้วย
“EM ยังเป็นเบาะแสให้กับตำรวจในการติดตามตัวคนร้ายได้ เนื่องจากเคยมีผู้ต้องหากระทำผิดซ้ำ โดยยังสวมกำไลอีเอ็มอยู่ และเจ้าหน้าที่ได้นำภาพถ่ายมาให้ทางศูนย์ฯ ช่วยติดตาม และพบตัวคนร้ายจริง นำไปสู่การจับกุมต่อไป” นายปุณณพัฒน์ กล่าว
ขณะที่การนำกำไล EM มาใช้จำนวนกว่า 5,000 ชิ้น มีการใช้งานกว่า 5,567 ครั้ง โดยมีศาลเป็นผู้สั่งใช้ 5,279 ครั้ง และกรมคุมประพฤติ 288 ครั้ง หมายความว่ามีการใช้มากกว่าจำนวนของที่มีอยู่ คือผู้ต้องหาได้กระทำผิดซ้ำ โดยมีสถิติคดี แบ่งเป็น คดียาเสพติด 38% ,ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์(ลักวิ่งชิงปล้น) 21% ,การจราจรทางบก 16% ,ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 13% , ความผิดเกี่ยวกับร่างกาย(ฆ่า หรือ พยายามฆ่า) 8% และ ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน 4% ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลว่าจะพอจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่
ส่วนราคากำไลข้อเท้า EM นั้นเครื่องละประมาณ 17,000 บาท หากผู้ต้องหาทำอุปกรณ์ชำรุด ทางบริษัทผู้ผลิตก็จะดำเนินการปรับในราคา 22,000 บาท
ส่วนผู้ต้องหาที่ติดกำไลข้อเท้าแล้วหลบหนีนั้น " มีจำนวน 20% และมามอบตัวภายหลัง ขณะที่อีก 2% ถูกติดตามจับกุมตัวภายหลัง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี