“ซิงค์ (Zinc)” หรือสังกะสี นอกจากจะเป็นธาตุที่ใช้มีภาคอุตสาหกรรมแล้วยังเป็นสารอาหารที่จำเป็นกับมนุษย์เพราะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะภูมิคุ้มกันทำงานได้เป็นปกติ ซิงค์นั้นพบได้ทั่วไปในอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน เช่นเนื้อสัตว์ ไข่ อาหารทะเล อย่างไรก็ตามซิงค์เป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ มนุษย์จึงต้องบริโภคอาหารที่มีซิงค์เป็นสารอาหารทุกวัน แต่ในทางกลับกัน ร่างกายมนุษย์ก็ไม่ควรได้รับซิงค์เกิน 150 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะจะกลายเป็นไปขัดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
อนึ่ง ในปัจจุบันที่โลกประสบวิกฤติการระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19 (COVID-19)” ข้อค้นพบเกี่ยวกับซิงค์ หรือสังกะสีที่เคยศึกษาในอดีตก็ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงด้วยดังการรวบรวมข้อมูลของ นสพ.รัชชานนท์ ทองนิลปี 3 รายวิชา Clinical Application of Pharmacology (วิชาเลือก ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
อาทิ 1.การศึกษาในปี 1996 เรื่องการใช้ซิงค์ในการรักษาโรคไข้หวัดในผู้ป่วย 100 ราย พบว่า ผู้ที่ใช้ซิงค์อาการหวัด (ได้แก่อาการ ไอ ปวดศีรษะ คัดจมูก เจ็บคอ) ดีขึ้นภายใน 4.4 วัน เมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้ยาหลอก (Placebo-ไม่ได้ให้ยาใดๆ) ที่อาการดีขึ้นใน 7.6 วัน แต่ระยะเวลาการหายจากการมีไข้ อาการปวดกล้ามเนื้อ และการจามของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของการใช้ซิงค์ในงานวิจัยดังกล่าวคือทำให้เกิดการรับรสที่แย่ลงและทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ 2.ใน Cochrane Review (updated in 2013) ได้ทำการสรุปงานวิจัยชนิด Randomized Controlled Trials จำนวน 18 เรื่อง ที่มีผู้เข้าร่วมรวมกว่า 1,781 ราย ในทุกช่วงอายุ พบว่าซิงค์สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ (Inhibits Replication of the Virus) จึงทำให้อาการของโรคหวัดหายเร็วขึ้นเมื่อใช้ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อเริ่มมีอาการและใช้ขนาดมากกว่า 75 มิลลิกรัม/วัน (mg/day)
3.งานวิจัยในปี 2010 ได้ศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของซิงค์ในคุณสมบัติเรื่องการต้านไวรัสพบว่า เมื่อซิงค์มีปริมาณเพิ่มขึ้นในเซลล์ จะสามารถยับยั้ง RNA-dependent RNA polymerases และยับยั้งโปรตีนอีกหลายชนิดที่ไวรัสต้องใช้ในการเพิ่มจำนวนได้ นอกจากนี้ซิงค์ยังช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น โดยกระตุ้นให้เกิดการสร้าง cytokine และควบคุมการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน (Immune Cell)
4.James A. Robb ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาระดับโมเลกุลที่เป็นผู้เริ่มต้นการศึกษาไวรัสกลุ่มโคโรนา(Coronaviruses) กล่าวเกี่ยวกับซิงค์ไว้ว่า “ซิงค์ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งไวรัสหลายชนิด” โดยยับยั้งการเพิ่มจำนวนในของไวรัสในคอและ Nasopharynx แต่อย่างไรก็ตาม “COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ จึงทำให้ยังไม่มีงานวิจัยที่พิสูจน์สมมุติฐานนี้” ซึ่งเขาก็หวังว่าซิงค์จะสามารถยับยั้ง COVID-19 ได้ผ่านกลไกดังกล่าวเช่นเดียวกัน
ดังนั้น “ปัจจุบันจึงยังตอบไม่ได้ว่าซิงค์ สามารถยับยั้ง SARS-CoV-2 (ชื่อเต็มของไวรัสโควิด-19) ได้จริงหรือไม่” และต้องรอการพิสูจน์ยืนยันต่อไปในอนาคต!!!
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี