เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงระยะการฟักตัวของเชื้อโควิด-19 ประมาณ 5 วัน ซึ่งความรุนแรงของโรคที่ส่งผลต่อผู้ติดเชื้อรุนแรงไม่เท่ากัน ทั้งๆ ที่บุคคลนั้นมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและอยู่ในกลุ่มอายุใกล้เคียงกัน แต่กลับต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่ 2 ปัจจัย คือ ผู้นั้นหายใจเอาเชื้อเข้าไปโดยตรง ขณะที่ผู้ป่วยไอ จาม แล้วรับเชื้อด้วยการหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ร่างกาย อีกประการคือ ผู้ป่วยไอหรือจามแล้วเชื้อตกบริเวณผิวสัมผัส สำหรับพื้นผิวที่มีลักษณะแข็งและมีความมัน เชื้อจะอยู่ได้นาน 48 - 72 ชั่วโมง หรือนาน 2 - 3 วัน ส่วนวัสดุกล่องกระดาษ หรือหนังสือ เชื้อจะอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง หากเราไปสัมผัสก็จะมีผลต่อการติดเชื้อในระดับที่ต่างกัน
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยเสียชีวิตรายล่าสุดทั้งๆ ที่อยู่ในวัยทำงาน เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิดไปทำลายก้านสมองนั้น ว่า เชื้อไวรัสจะมีความรุนแรงหลังจากฟักตัวไปแล้ว 5 - 10 วัน ซึ่งกรณีที่พบการเสียชีวิตในผู้ที่มีอายุน้อยในลักษณะนี้มีจำนวนน้อย และโรคนี้คนไข้ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยบางรายจะได้รับผลกระทบต่อระบบประสาท ซึ่งพบไม่บ่อยนัก หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า rare case
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี