นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กกจ.ได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทหรือนายหน้าที่รับจัดหาแรงงานต่างด้าวมาให้นายจ้างจะต้องมายื่นจดทะเบียนเป็นบริษัทจัดหางานกับกกจ.ตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 เนื่องจากก่อนหน้านี้กกจ.ได้ยื่นเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าบริษัทหรือนายหน้าที่รับจัดหาแรงงานต่างด้าวมาให้นายจ้างเข้าข่ายเป็นบริษัทจัดหางานหรือไม่ ซึ่งก็ได้รับตอบกลับมาว่าเข้าข่ายเป็นบริษัทจัดหางาน จะต้องมาจดทะเบียนกับกกจ.โดยปัจจุบันบริษัทรับจัดหาแรงงานต่างด้าวมาให้นายจ้างซึ่งไปขึ้นทะเบียนไว้กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาวและกัมพูชาว่าเป็นบริษัทจัดหางาน รวม 125 ราย โดยแยกเป็นบริษัทจัดหาแรงงานพม่า 90 ราย บริษัทจัดหาแรงงานกัมพูชา 23 ราย และบริษัทจัดหางานแรงงานลาว 12 ราย ขณะนี้มายื่นจดทะเบียนกับกกจ.แล้ว 18 ราย
อธิบดีกกจ. กล่าวอีกว่า ขอให้บริษัทหรือนายหน้าที่รับจัดหาแรงงานต่างด้าวมาให้นายจ้างมายื่นจดทะเบียนกับกกจ.เพราะหากไม่จดทะเบียนกับกกจ.และไปจัดหาแรงงานต่างด้าวจะมีโทษตามพ.ร.บ.จัดหางานฯ เช่น จัดหางานโดยไม่ได้รั[อนุญาต มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 6 หมื่น-2 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่จดทะเบียนลูกจ้างและตัวแทนจัดหางานต่อนายทะเบียน มีโทษปรับไม่เกิน 5 พันบาท ส่วนเรื่องอัตราค่าบริการที่สามารถเรียกเก็บจากแรงงานต่างด้าวและนายจ้างนั้น ขณะนี้กกจ.กำลังศึกษาตัวเลขอัตราค่าบริการที่เหมาะสมและจะออกระเบียบรองรับต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี