“เลขา กพฐ.” ตรวจสอบข้อมูลรอบสุดท้าย การทำแผนที่ กำหนดจุดตั้ง ร.ร.คุณภาพของชุมชน-ร.ร.มัธยมดีสี่มุมเมือง -ร.ร.สแตนอโลน กับเขตพื้นที่ฯทั่วประเทศ
วันที่ 12 มกราคม 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมทางไกลผ่านระบบ VIDEO CONFERRENCE เพื่อสือสารทำความเข้าใจกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ เรื่อง การบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ซึ่งที่ผ่านมา สพฐ.ได้ประชุมชี้แจงให้ โรงเรียน และ สพท.ทำแผนที่ในการกำหนดว่าโรงเรียนคุณภาพของชุมชนใน แต่ละเขตพื้นที่นั้นจะอยู่ตรงจุดใด โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง อยู่จุดไหน และโรงเรียนขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ด้วยตนเอง (Stand Alone) จะอยู่ตรงไหน รวมถึงให้จัดทำแผนการปรับปรุงพัฒนาว่าถ้าจะทำให้โรงเรียนเหล่านี้มีคุณภาพจะต้องทำคำของบประมาณอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละเขตพื้นที่ฯได้ส่งแผนที่มาให้แล้วแต่จะต้องรวมเป็นแต่ละจังหวัด ซึ่งยังไม่สมบูรณ์ วันนี้ ตนจึงได้ชี้แจงทำความเข้าใจให้ทุกจังหวัดได้เติมเต็มแผนที่ในส่วนที่ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ และการกำหนดจุดของโรงเรียนทั้ง 3 ประเภทนี้ว่ามีอะไรบ้าง โดยให้ ผอ.เขตพื้นที่ เขต 1 เป็นตัวกลางในการประสานภายในจังหวัดนั้นๆ
นายอัมพร กล่าวต่อว่า วันนี้เป็นการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการปรับปรุงข้อมูลพื้นฐานและเป็นการตรวจสอบข้อมูลรอบสุดท้าย โดย สพฐ.จะทำข้อมูลพื้นฐานนี้ให้เสร็จภายในวันที่ 18 ม.ค. นี้ จากนั้น สพฐ. จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อส่งต่อข้อมูลให้ผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.ได้นำกรอบแผนที่ และข้อมูลดังกล่าวนี้ ก่อนลงตรวจสอบพื้นที่จริง ว่าสิ่งที่สพฐ.เสนอไปนั้น มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสมสอดคล้องตามแนวนโยบายและความเป็นไปได้แค่ไหนอย่างไร ถ้าหากคณะกรรมการฯ ลงไปตรวจสอบแล้วยืนยันว่าเป็นไปได้ว่าสามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้จริง ซึ่งการลงไปตาวจสอบตรงนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงจะสามารถสรุปและนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้
“ในเบื้องต้นผมได้ชี้แจงให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน จากแนวนโยบาย ผมได้ชี้แนะว่าในปี 2565 แต่ละเขตพื้นที่ ที่จะกำหนดนำร่องขับเคลื่อน ก็ให้เขตพื้นที่ทำกรอบคำขอใช้งบประมาณ โดยระดับประถมฯให้ขอเขตพื้นที่ละ 1 จุด สำหรับเป็นโรงเรียนดีของชุมชน ส่วนโรงเรียนดีสี่มุมเมือง ให้ขอจังหวัดละ 1 จุด เพื่อใช้เป็นการเรียนรู้ การวิจัย และการศึกษาแนวคิดความเป็นไปได้ในสิ่งที่ทำ ซึ่งถ้าทำใน 1 จุดของแต่ละเขตพื้นที่ แต่ละจังหวัดสำเร็จได้ ผมก็มีความเชื่อว่าในจุดต่อๆไปก็จะสำเร็จไปด้วย ความท้าทายความสำเร็จตรงนี้ ผมติดว่าน่าจะเกิดขึ้นได้จริง เพราะเราได้ถอดบทเรียนในอดีตว่าทำไมโรงเรียรที่ไม่มีคุณภาพนั้น เกิดจากปัจจัยอะไร เราก็เติมปัจจัยที่เขาขาดเข้าไปให้ ก็เชื่อแน่ว่าถ้าโรงเรียนได้ปัจจัยพื้นฐานที่เพียงพอและมีคุณภาพ เราก็จะได้โรงเรียนดีที่มีคุณภาพ แล้วก็จะตอบโจทย์มิติเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของคนเมืองกับคนชนบทได้” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
และว่า สำหรับการจะเลือกว่า จุดใดจะเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนคุณภาพของชุมชน ที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง หรือที่ตั้งของโรงเรียน Stand Alone นั้น มีองประกอบหลายอย่าง ดูทั้งบริบทของพื้นที่โรงเรียน ดูสภาพปัจจุบันของโรงเรียนนั้น ในมิติของผู้บริหาร การบริหารจัดการ เส้นทางการคมนาคม และการรองรับการขยายตัวของพื้นที่ในอนาคต และต้องทำความเข้าใจกับโรงเรียนอื่น ๆด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี