สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ ร่วมกับ สมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่งประเทศไทย และ RoLD 2020 จัดเสวนา RoLD Virtual Forum ผ่านเฟซบุ๊คเพจหัวข้อ “ระบบยุติธรรมทางอาญาที่ตอบสนองต่อการคุ้มครองผู้หญิงจากการกระทำความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในประเทศไทย” (Effective and Integrated Criminal Justice Responses to Violence against Women in Thailand) โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ด้านกฎหมาย ด้านสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน มาร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัจจุบันและหาทางออกของปัญหาความรุนแรงต่อสตรีด้วยเหตุแห่งเพศในประเทศไทย
ดร.พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการ TIJ กล่าวปาฐกถาถึงระบบยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อสตรีด้วยเหตุแห่งเพศ ว่าเป็นงานที่ท้าทายสัมพันธ์กับปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะอุปสรรคด้านวัฒนธรรมและด้านกฎหมาย ทำให้การเข้าถึงความยุติธรรมเป็นไปได้ไม่เต็มที่ ซึ่งบทบาทของทาง TIJ เน้นการให้ความรู้และให้ความสำคัญ ทุ่มเทกับงานวิจัยและจัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อผลักดันประเด็นนี้มาโดยตลอด โดยหวังว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้จะเกิดประโยชน์ในการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น อิงแนวทางสากลและคำนึงถึงบริบทเฉพาะในสังคมไทย
“ปัญหาความรุนแรงต่อสตรี เป็นปัญหาที่ยากและท้าทาย ที่ผ่านมาสถาบัน TIJ เราได้พยายามสร้างองค์ความรู้ให้เราเข้าใจสิ่งนี้ดีขึ้นผ่านการทำงานร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติ ปัญหาความรุนแรงต่อสตรีเป็นประเด็นที่สหประชาชาติให้ความสำคัญมาตลอด และก็มีมาตรฐาน รวมถึงบรรทัดฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องโดยตรง เป็นยุทธศาสตร์ต้นแบบว่าด้วยการดูแลแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสตรี มีการประชุมทบทวนทำให้เป็นปัจจุบัน การแก้ปัญหาอาจต้องดูทุกอย่าง ทั้งแนวปฏิบัติที่เป็นแนวทางสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องคำนึงถึงบริบทเฉพาะซึ่งเวลาที่มันเป็นมิติทางสังคม” ดร.พิเศษ กล่าว
ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ด้วยผู้หญิงมีความเปราะบางด้านสรีระและต้องพึ่งพิงผู้ชาย กลายเป็นจุดอ่อนของการถูกล่วงละเมิด และจุดบกพร่องของกระบวนการยุติธรรมแบบดั้งเดิมที่ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงทางเพศต้องเผชิญหนักหน่วง เหมือนถูกกระทำซ้ำ จากการที่ต้องผ่านกระบวนการแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์
ตัวเองว่าไม่ได้ยินยอมให้มีการกระทำผิด
ขณะที่ น.ส.บุษยาภา ศรีสมพงษ์ ทนายความสิทธิมนุษยชน นักวิจัยด้านความรุนแรงในครอบครัว และผู้ก่อตั้ง S-Hero กลุ่มรณรงค์เรื่องการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง กล่าวว่า มีกรอบมายาคติทางเพศ ที่เป็นอุปสรรคของผู้หญิงในการขอความช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรมและการไม่ได้รับความเป็นธรรม เสียงของสังคมชุมชนที่ตีตราผู้ถูกกระทำ เสียงของครอบครัวที่ discourage (บั่นทอนความกล้า) ทำให้ผู้หญิงที่ถูกกระทำไม่กล้าฟ้องผู้กระทำ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้สิทธิ์ผู้เสียหายในการฟ้องคดีอาญาได้เอง แต่เราใช้สิทธิน้อยมากเพราะผู้เสียหายมีกำลังทรัพย์น้อยมีทรัพยากรน้อยในการที่จะเข้าถึง เป็นไปได้ไหมว่าเราจะเพิ่มสิทธิ์ ให้ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีอาญาได้เอง
งานเสวนายังมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าร่วม นำโดยดร.คเณศ วังส์ไพจิตร นายกสมาคมนักเรียนทุนชีฟนิ่งฯ นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกานางสันทนี ดิษยบุตร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัว จ.พระนครศรีอยุธยาสำนักงานอัยการ คดีเยาวชนและครอบครัว จ.พระนครศรีอยุธยา และผู้อำนวยการสำนักงาน เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์, น.ส.กรวิไล เทพพันธ์กุลงาม นักวิเคราะห์โครงการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง, ดร.พญ.ปานใจ โวหารดี ผู้อำนวยการกองนิติวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์, นางวรภัทร แสงแก้ว นักจิตวิทยาและหัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ฯ รพ.ปทุมธานี โดยมี ร.ต.ปารเมศ บุญญานันต์ นิติกรชำนาญการ
กระทรวงยุติธรรม และน.ส.ชลธิช ชื่นอุระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมข้อกำหนดกรุงเทพฯ TIJ ดำเนินรายการ
ผู้สนใจสามารถติดตามชมบันทึกการประชุมเสวนาย้อนหลังออนไลน์ได้ทางเพจเฟซบุ๊ค https://www.
facebook.com/tijthailand.org/videos/1331738437208784/
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี