‘พิษณุโลก’งัดยาแรงคุมโควิด ปิดสถานบันเทิง14วัน-สงกรานต์งดขายเหล้า
11 เมษายน 2564 ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก (ผวจ.พิษณุโลก) , นายแพทย์ไกรสุข เพชระบูรณิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) พิษณุโลก , นายแพทย์สุชาติ พรเจริญพงศ์. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช ร่วมกันแถลงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ว่า ในส่วนของจังหวัดพิษณุโลก ขณะนี้ได้รับการยืนยันว่าจำนวนผู้ป่วยอยู่ที่ 19 ราย วันที่ 10 เมษายน 2564 จังหวัดพิษณุโลก มีผู้ป่วยเพิ่ม 13 ราย การระบาดรอบนี้ เริ่มจากวันที่ 7 เมษายน 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 4 ราย เป็นเจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก , 8 เมษายน 2564 พบผู้ป่วยเพิ่มอีก 2 ราย รวม 6 ราย และวันที่ 10 เมษายน 2564 มีผู้ป่วยเพิ่ม 13 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา จากสถาบันต่างๆ 9 ราย , อาจารย์ 1 ราย , ธุรกิจส่วนตัว 1 รายและเป็นพนักงานจากสถาบันการเงิน 2 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสมในระลอกที่สาม จำนวน 19 ราย
นายรณชัย กล่าวว่า คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดพิษณุโลก ได้ออกมาตรการทั้งทางสังคมและมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อลดการแพร่ระบาด ไม่ให้ผู้ติดเชื้อแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น ทั้งมาตรการป้องกันการติดเชื้อควบคู่ไปกับการป้องกันการแพร่ระบาด ครั้งนี้มาตรการจะเข้มข้นกว่าระลอก 1 แต่ยังไม่ล็อคดาวน์
สำหรับมาตรการในการควบคุมที่ออกมาล่าสุดนั้น ได้แก่ ผู้ที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดพิษณุโลกต้องกักตัวเอง 14 วันที่บ้านพัก ร้านค้าต่างๆห้ามจำหน่ายสุรา เริ่มวันที่ 11-18 เมษายน 2564 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ งดกิจกรรมการรวมคนหมู่มาก ร้านอาหารทั่วไปนั่งรับประทานได้ ปิดเวลา 21.00 น. ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ให้เฉพาะ Take Home เท่านั้น สถานศึกษาให้งดการเรียนการสอนตามปกติถึง 30 เมษายน 2564 การกวดวิชาให้เฉพาะออนไลน์เท่านั้น สถานบันเทิงสถานบริการปิด 14 วันเริ่มจาก 11 เมษายน 2564
ด้านนายแพทย์ไกรสุข เปิดเผยว่า การระบาดระลอก 3 เร็วกว่าการระบาดและรอบที่ 1 และรอบที่ 2 ซึ่งจากการระบาดและรอบที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกพบผู้ป่วยรายเดียว และเป็นการระบาดที่มาจากกลุ่มคลัสเตอร์ในแรงงานต่างด้าว สถานที่การพนัน ส่วนการระบาดรอบที่ 3 มีกลุ่มคลัสเตอร์มาจากสถานบันเทิง ผู้เที่ยวสถานบันเทิงที่มาจากกรุงเทพฯ รายที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นกลุ่มเรือนจำจังหวัด ที่ติดเชื้อมาจากกรุงเทพฯ ขณะนี้ได้มีมาตรการแยกกลุ่มเสี่ยงสูงเสี่ยงต่ำแล้วและในวันที่ 11 เมษายน 2564 จะมีมาตรการคัดกรองเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง มีรถพระราชทานมาตรวจโควิด ขณะนี้ในด้านการเตรียมความพร้อมทางสาธารณสุขในเตรียมทั้งยาเวชภัณฑ์บุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลสนามไว้รองรับสำหรับการระบาดวงกว้างแล้ว
ส่วนนายแพทย์สุชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ป่วยทั้ง 19 รายยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ได้แก่โรงพยาบาลพุทธชินราช 13 รายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรและโรงพยาบาลวังทอง ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง ซึ่งจะต้องรักษาอยู่ในโรงพยาบาลให้ครบ 14 วันและตรวจหาเชื้ออีกครั้ง สำหรับมาตรการในการควบคุมนั้น มีทั้งมาตรการทางสังคมเพื่อลดกันแพร่กระจายของเชื้อ มาตรการทางสาธารณสุขในการค้นหาผู้ป่วย และมาตรการทางการแพทย์ในการควบคุมโรค ขณะที่โรงพยาบาลสนามนั้นถ้ามีการแพร่ระบาดในวงกว้าง โรงพยาบาลพุทธชินราชก็มีสถานที่ที่บึงแก่งใหญ่สามารถรองรับได้อีก 40 คน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี