จากสถานการณ์การระบาดของ “โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019” หรือ “โควิด-19” ไปทั่วโลก ตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบอย่างมากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึง สุขภาพ และการ
สูญเสียชีวิตของผู้คนจำนวนมากมาย บนโลกใบนี้ จนถึงวันนี้ มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกกว่า 200 ล้านคน และเสียชีวิตประมาณ 5 ล้านราย เฉพาะประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทะลุ 1 ล้านคน และเสียชีวิตเกือบ 1 หมื่นรายแล้ว โดย “เดลต้า” ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในการแพร่ระบาดและคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยด้านการวิจัย มีคณะแพทยศาสตร์และที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขอีกหลายคณะรวมถึงโรงเรียนแพทย์ มีนโยบายที่จะช่วยเหลือนักศึกษา บุคลากร และสังคมในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มข. กล่าวว่า กว่า 2 ปีของการระบาดของไวรัสโควิด-19 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนานวัตกรรมหลากหลายเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งจากฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ คณะแพทยศาสตร์ ทีมสำนักหอสมุด KKU maker สำนักงานเทคโนโลยีดิจิทัลคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันนาโนฯ โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและเครือข่าย ที่ได้ร่วมกันคิดค้น “นวัตกรรมสู่สังคม” เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขที่ขาดแคลน จำนวนกว่า 28 รายการ
อาทิ ระบบ ThermoScan เพื่อตรวจคัดกรองอุณหภูมิผู้ใช้บริการ, ระบบ VDO สื่อสารสองทาง สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อ COVID-19, หุ่นยนต์สื่อสารสองทิศทางและระบบลำเลียงอาหารและยา, SWAP box จากแผ่นอะคริลิกป้องกันการไอหรือจามขณะเก็บสิ่งส่งตรวจ, Aerosol box จากแผ่นอะคริลิกป้องกันการไอหรือจามขณะสอดท่อหายใจ, Wireless/extended stethoscope ลดการสัมผัสผู้ป่วยด้วยหูฟัง
รวมทั้ง ห้องตรวจไม่ต้องใช้หมอ (คนไข้ใน), ตู้อบฆ่าเชื้อด้วย UVC สำหรับ reuse ชุด PPE เพื่อส่งให้บุคลากรทางการแพทย์, ตู้อบฆ่าเชื้อด้วย ozone สำหรับ reuse หน้ากาก N95, ตู้อบฆ่าเชื้อ ด้วย ozone สำหรับ reuse ชุด PPE เพื่อ
ส่งให้บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศรีนครินทร์, การควบคุมการให้น้ำเกลือแบบรีโมทคอนโทรล (PAPR ประดิษฐ์)
ให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์, Negative Pressure จัดทำโดย ทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมฯ, PAPR (Powered Air-Purifying Respirator) และแบตเตอรี่สำรอง, ถังขยะไร้สัมผัสสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัย เพื่อใช้ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น, หุ่นยนต์ลำเลียงของในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ covid, Portable HEPA (High EfficiencyParticulate Air) ให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์, PPE(Personal Protective Equipment) ให้บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศรีนครินทร์, Positve Pressure Mask ให้บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 27.) Mobile UVC สำหรับฆ่าเชื้อ และ TOT Positve Pressure สำหรับกั้นเก็บตัวอย่างเชื้อ
รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวเพิ่มเติมว่าเนื่องจากการระบาดที่รุนแรงขึ้นทำให้ยอดผู้ติดเชื้อมีเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะเตียงเต็มในโรงพยาบาลต่างๆ มข.จึงได้จัดทำระบบการจัดการผู้ป่วยกักตัวอยู่ที่บ้าน “Home Isolation มข.” เพื่อปูทางให้โรงพยาบาลทั่วประเทศนำไปใช้ดูแลผู้ป่วยอาการไม่มากซึ่งกักตัวที่บ้านโดยสามารถดูแลตัวเองและติดต่อกับหมอที่โรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ระบบ “Home Isolation Management System” เป็นไปตามมาตรฐาน Telemedicine ที่แพทยสภาได้ประกาศไว้ มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1.ผู้ใช้งาน หรือผู้ป่วยจะต้องยืนยันตัวตน และ 2.ต้องมีบันทึกข้อมูลที่ผู้ป่วยบันทึกเข้ามาในระบบและการสื่อสารระหว่างทำการรักษาไว้ในระบบฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้ตรวจสอบย้อนหลังซึ่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ได้สั่งการให้สถานพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดใช้ระบบ Home Isolation มข.เพื่อเตรียมพร้อมรับคนไข้ที่อาจมาจากพื้นที่สีแดงหรือสีแดงเข้มเข้าไปสู่ระบบการดูแลแบบแยกตัวที่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีโรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียงที่นำระบบดังกล่าวไปใช้ เช่น รพ.สุทธาเวช จ.มหาสารคาม รพ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ รพ.สต.จ.ร้อยเอ็ด รพ.หลังสวน จ.ชุมพร และรพ.ที่จ.ระนอง กำลังจะเริ่มใช้งาน
สำหรับนวัตกรรมสำหรับการดูแลผู้ป่วยอย่าง “ระบบการดูแลและติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 แบบแยกตัว” จัดทำขึ้นเพื่อใช้บริหารจัดการกลุ่มผู้ป่วยแบบแยกตัว ทั้งแบบ Home Isolation และการดูแลตนเองในระบบชุมชน (Community Isolation) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้รวดเร็วขึ้นและติดตามดูแลอาการผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด สะดวกต่อตัวผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ โดยจุดเด่นของระบบ คือ 1.ผู้ป่วยไม่ต้องติดตั้งแอปพลิเคชั่นใหม่ในโทรศัพท์ ยกเว้นกรณีไม่มีแอปพลิชั่นไลน์ 2.บัญชีผู้ใช้ไลน์หนึ่งๆ ใช้กับผู้ป่วยได้หลายคน
3.บันทึกข้อมูลระบบได้รวดเร็วโดยให้กรอกเฉพาะข้อมูลสัญญาณชีพ และอาการเนื่องจากระบบเชื่อมบัญชีไลน์กับฐานข้อมูลผู้ป่วยแล้ว และ 4.เป็นไปตามมาตรฐานการแพทย์ทางไกล(Tele-medicine) สากล โดยเริ่มใช้งานแล้วที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ซึ่งช่วยให้ระบบการดูแลผู้ป่วยแบบแยกตัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียสร้างความมั่นใจ และอุ่นใจให้กับผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน
“มข.พัฒนาระบบนี้ตามมาตรฐานทางการแพทย์ที่ดีเพื่อนำไปปฏิบัติได้จริงในภาคสนามและตั้งใจเปิดโอกาสให้โรงพยาบาลต่างๆ ที่กำลังมองหาระบบไอทีในการช่วยเหลือประชาชน ได้ใช้ระบบนี้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และพร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา ทั้งด้านไอที และการบริหารจัดการผู้ป่วยเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” อธิการบดี มข. ระบุ
รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวในตอนท้ายว่า มาตรการการช่วยเหลือนวัตกรรมและงานวิจัยต่างๆ ที่ มข.ได้พัฒนาขึ้น รวมไปถึง ระบบ Home Isolation มข. เป็นไปตามนโยบายด้าน CSV ที่มุ่งเน้นการบริการวิชาการสู่สังคมการอุทิศเพื่อชุมชนและสังคม เป็นการยกระดับจิตสำนึกในการรับใช้สังคม โดยใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในการรับใช้สังคมอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยินดีให้โรงพยาบาลต่างๆ นำไปใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ทั้งหมดที่กล่าวมามข.ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 นับเป็นบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา ในฐานะที่เป็นผู้ชี้นำ เป็นเสาหลักและเป็นที่พึ่งพิงให้กับสังคมในยามที่ประเทศชาติบ้านเมืองเกิดวิกฤต!!
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี