ปทุมธานีมาดามรถถังเตรียมส่งมอบรถเกราะล้อยาง15คันให้ประเทศภูฏานเพื่อประจำการที่UN
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ที่บริษัท ชัยเสรีเม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี นางนพรัตน์ กุลหิรัญ เจ้าของฉายามาดามรถถัง ผู้ก่อตั้ง บริษัท ชัยเสรีเม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด ได้เตรียมความพร้อมส่งมอบรถเกราะล้อยาง สีขาว 4x4 รุ่น First Win ในการปฏิบัติภารกิจของ UN จำนวน 15 คัน เพื่อส่งมอบประเทศภูฏานไปประจำการที่สหประชาชาติ ในวันที่ 19ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้นางนพรัตน์ กุลหิรัญ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ชัยเสรีเม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2506 และเริ่มค่าขายกับกองทัพไทยมีสัญญาฉบับแรก ในสมัยพลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ.2511 โดยมีสัญญาซ่อมบำรุงรถ ค่าขายอะไหล่รถให้กับกองทัพ ส่วนมากคือการซ่อมรถต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้รวมระยะเวลา 54 ปีแล้ว สิ่งที่โรงงานเราทำคือ 1.การซ่อมรถให้กองทัพทุกชนิด ตั้งแต่รถจิ๊บM151 รถบรรทุกทหารM35 รถกู้ซ่อม รถถังทุกชนิด รถถังจีน รถถังอเมริกัน M113 M60 M48 ส่วนเรื่องที่ 2.เนื่องจากเราซ่อมรถมาเยอะโดยเฉพาะรถเกราะล้อยาง รถข้อต่อสายพาน หรือที่เขาเรียกว่ารถถังในโลกนี้มี 2 แบบ ประเภทแบบตีนตะขาบ ซึ่งบริษัทชัยเสรี ของเราได้ผลิตช่วงล่างทั้งหมดของรถถังขายไปทั่วโลก 44 ประเทศ หมายถึงขายโดยตรงถึงกองทัพในแต่ละประเทศ และ 3.ชัยเสรีสามารถผลิตรถเกราะล้อยางที่เราออกแบบเอง โดยคิดค้นดัดแปลงรถปิกอัพมาติดเกราะแต่มีน้ำหนักมากจึงไม่ประสบความสำเร็จ เราเอารถฮัมวี่มาติดเกราะก็ไม่ดีอีก
เนื่องจากรถแต่ละชนิดที่เขาทำมาได้คำนวณน้ำหนักที่เหมาะสมแล้ว เมื่อเพิ่มเกราะไปการเคลื่อนที่ก็ลำบาก เราจึงคิดค้นออกแบบใหม่เป็นรถเกราะล้อยางที่สามารถกันกระสุนกันระเบิด รถเกราะของเราจะไม่เหมือนรถเกราะของประเทศต่าง ๆ ที่กันเฉพาะห้องผู้โดยสาร ซึ่งรถเกราะล้อยางของเราสามารถป้องกันได้ทั้งคันเลย และใต้ท้องรถก็สามารถกันระเบิดได้ เราพัฒนาถึง 5 แบบจึงประสบความสำเร็จ และสามารถขายให้กองทัพ
อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเมื่อผลิตแล้วประเทศผู้ผลิตไม่ได้ใช้ก็อย่าหวังว่าจะไปขายให้ประเทศต่างๆได้ เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมป้องกันประเทศมีความสำคัญมากก็คือ เมื่อเราผลิตแล้ว ประเทศไทยเราต้องใช้ก่อน เมื่อเราขายให้กองทัพไทยได้ เราก็ขายให้กองทัพมาเลเซีย อินโดนิเชีย รวมถึงขายให้กับ UNเนื่องจากเราซ่อมรถให้กับUNทุกชนิด ประสบการณ์ในการซ่อมรถมาอย่างยาวนานจึงได้รับความไว้วางใจจากหลายๆประเทศทั่วโลก แต่ประเทศไทยของเรามีแอคชั่นน้อยในเรื่องแบบนี้ เพราะถือเป็นหน้าตาของประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มของประเทศอาเซียน ไม่มีประเทศใดที่ผลิตและซ่อม นอกจากประเทศไทย ซึ่งก็มีคติอยู่ข้องหนึ่งคือไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ
ต่อมาทางพระราชาจิกมี แห่งประเทศภูฏาน ได้ทำสอบรถเกราะจากทั่วโลก พบว่ารถของประเทศไทยราคาไม่สูง คุณภาพดี เหมาะกับประเทศเขาจึงได้จัดซื้อจำนวน 15 คัน โดยส่งคณะทหารมาฝึกการขับรถ การบำรุงรักษา การซ่อม มีทั้งชุดที่ประจำการที่ประเทศภูฏาน และประจำการที่สหประชาชาติ ทั้งหมดนี้มีสัญญาเรียบร้อยแล้ว โดยวันที่ 19 พ.ย.64 เวลา 14.00 น. เราจะมีการส่งมอบที่กระทรวงกลาโหม ศรีสมาน นนทบุรี ซึ่งจะมีทูตานุทูต ผู้แทนพระองค์ของพระราชาจิกมี เอกอัครราชทูต ประเทศภูฏาน นับว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ส่งรถเกราะล้อยางไปประจำการที่สหประชาชาติ
ชัยเสรีของเราทำการตลาดกับประเทศต่างๆในการซื้อขายได้โดยตรงอยู่แล้ว แต่เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลจึงเจรจาและการทำสัญญาซื้อขายรถเกราะล้อยางแบบรัฐต่อรัฐ (Government to Government : G to G) โดยเสนอขายจากรัฐบาลเราไปยังรัฐบาลหลายๆประเทศ ซึ่งก็มีประโยชน์ต่อประเทศไทยมาก ที่สามารถผลิตยุทโธปกรณ์ จำหน่ายไปทั่วโลก ในสภาวะแบบนี้รัฐบาลต้องมีผลงาน และแสดงถึงรัฐบาลไทยมีความเข้มแข็ง เป็นหนึ่งในผู้นำอาเซียน ได้เซ็นMOUกับกองทัพฟิลิปปินส์ ในโครงการขายรถเกราะล้อยางจำนวน 900 คันโดย ล็อตแรกจำนวน 200 คันก่อน เพราะฉะนั้นคนขายต้องตามคนซื้อ ถ้าเราจะไปตั้งกฎเกณฑ์โน้นนี่นั่นมากมายและใครจะมาซื้อของเรา การที่เราได้งานแบบนี้ดีตรงนี้ทำให้คนงานเรามีงานทำในสภาวะเหตุการณ์แบบนี้.
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี