ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในฐานะประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจในประเด็นแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ โดยมีรศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร. มหิศร ว่องผาติกรรมการ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และ นายประวิทย์ ธงชัยระวีวัฒน์ กรรมการ บริษัท โกลบอล ครอปส์ จำกัด ขึ้นแถลงผลสำเร็จของ Spearhead ด้านเศรษฐกิจ “การวิจัยสู่การปฏิบัติ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อัปเกรดเกษตรอุตสาหกรรมไทย” ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นางสาวนิลเนตร โลหะพจน์พิลาศ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 5 (DIPROM CENTER 5) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน กลุ่มชาวเกษตรกร และสื่อมวลชน ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.เมืองขอนแก่น
การวิจัยดังกล่าวเป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่เป็นกลไกหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาด้านต่างๆ ได้อย่างตรงจุด ด้วยการวิจัยแพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ซึ่งเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรของไทยให้เป็น Smart Farmer เพื่อใช้ในการกำหนดรูปแบบแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตการเกษตร อาทิ ระบบประมวลผลเพื่อสร้างแผนที่ผลผลิตและการระบาดของโรคพืชจากภาพถ่ายทางอากาศ ระบบประมวลผลเพื่อสร้างฐานข้อมูลในระบบภูมิสารสนเทศจากแผนที่ผลผลิต ระบบผสมสารและบรรจุลงถังบรรจุอัตโนมัติสำหรับโดรน ระบบฉีดพ่นสารแบบแปรผันอัตโนมัติติดตั้งบนโดรน ชุด Mobile-KIT และ Mobile Application สำหรับระบุพิกัดแปลงและติดตามกิจกรรมในแปลง และระบบ AI สำหรับเสนอแนะแผนการทำงาน บันทึกและแสดงผลการทำงานของเครื่องจักรเกษตร และแนะนำการให้ปุ๋ยแบบแม่นยำสูงรายแปลงอัตโนมัติซึ่งระบบจะช่วยเรื่องการตัดสินใจในงานบำรุงรักษา เก็บเกี่ยว และเชื่อมโยงกับระบบตรวจวัดรวมทั้งมีระบบที่จะสามารถรองรับคำสั่งเพื่อให้เกิดการปรับการปฏิบัติงานในฟาร์มไปตามแผนงานใหม่ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบแปลงการปลูก การบำรุงรักษาและอารักขาพืช การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง ซึ่งเมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับพืชอ้อย ส่งผลให้สามารถกำหนดตารางการเก็บเกี่ยวอ้อยที่น้ำหนักและความหวานสูงสุด มีการใช้งานเครื่องจักรเก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้จำนวนเครื่องจักรและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลดลง ลดการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบ รวมทั้งลดจำนวนวันที่เปิดหีบ เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำตาลต่อตันได้ และสามารถลดต้นทุนการผลิตน้ำตาลหรือพลังงานชีวมวลได้มากกว่าร้อยละ 20คิดเป็น ประมาณ 50 ล้านบาทต่อปีต่อโรงงาน
พร้อมกันนี้ ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้นำผู้เข้าร่วมงานแถลงข่าว กลุ่มเกษตรกร และคณะสื่อมวลชน เดินทางไปยังไร่สาธิตหมวดพืชไร่ แปลง A11 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อชมการสาธิตนวัตกรรมใหม่ เครื่องผสมสารอัตโนมัติ โดรนฉีดพ่นอัจฉริยะ ชุดติดตามการทำงานของเครื่องจักรเกษตร พร้อมเห็นภาพการทำงานที่ได้จากการวิเคราะห์แปลงผ่านระบบ FPS ตั้งแต่การสร้างเส้นทางการทำงานของเครื่องจักร การทราบสถานการณ์แบบเรียลไทม์ ตลอดจนการบันทึกขั้นตอนการทำงานเพื่อการทำงานในวันถัดไป นอกจากนี้ ยังได้นำคณะเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเข้าเยี่ยมชมการวิจัยระบบต่างๆ รวมทั้งห้องสำหรับประมวลผลและควบคุมการบินของโดรนจากภาพถ่าย ณ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี