ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ โดยทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์คณะเกษตรศาสตร์ ร่วมกับภาคเอกชน ได้จัดการแถลงผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตอัปเกรดเกษตรอุตสาหกรรมไทย โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ร่วมกิจกรรม
ในการนี้มีตัวแทนภาคเกษตรกรรมไร่อ้อย ตัวแทนภาคอุตสาหกรรมแป้งและน้ำตาล นักวิจัย นักวิชาการเกษตร ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจมาร่วมงานจำนวนมาก ณห้องประชุมออดิทอเรียม (Auditorium) อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการแถลงผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตอัปเกรดเกษตรอุตสาหกรรมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานและบริการที่ได้จากโครงการแพลตฟอร์มหุ่นยนต์และยานพาหนะไร้คนขับสำหรับการเกษตรที่มีความแม่นยำเพื่อสร้างฟาร์มขนาดใหญ่เสมือน(Robotics platform and unmanned vehicle for precision agriculture to create a virtual mega farm) ภายใต้แผนงาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ
ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาผลงานด้านนวัตกรรม และการส่งเสริมวิสาหกิจให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิชาการและความรู้วิทยาการใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดการต่อยอดและร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาผลงานนวัตกรรมในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล
“งานนี้ ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ ร่วมกับภาคเอกชน บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด (บริษัทผลิตหุ่นยนต์และโดรน) บริษัท โกลบอล ครอปส์ จำกัด (บริษัทเคมีเกษตร) ได้ร่วมกันดำเนินโครงการแพลตฟอร์มหุ่นยนต์และยานพาหนะไร้คนขับสำหรับการเกษตรที่มีความแม่นยำเพื่อสร้างฟาร์มขนาดใหญ่เสมือน (Robotics platform and unmanned vehicle for precision agriculture to create a virtual mega farm) ภายใต้แผนงาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้ทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)”
“โครงการนี้ได้นำเครื่องมือหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตเกษตรกรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทย เช่น อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล (Industrial group of cane and sugar) อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง โดยได้พัฒนาระบบวัดผลผลิตและความหวานจากภาพถ่ายโดรน ซึ่งใช้ในการวางแผนการเก็บเกี่ยวและขนส่งได้อย่างแม่นยำโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำลง และมีการใช้โดรนอัจฉริยะที่ปรับอัตราการฉีดพ่นอัตโนมัติ ที่ช่วยลดการใช้สารเคมีให้เกษตรกร ตลอดจนระบบให้คำแนะนำในการวางแผนการปลูก (Planning) ออกแบบแปลง (Farm design) การบำรุงรักษาและอารักขาพืช การเก็บเกี่ยวและการขนส่งให้มีประสิทธิภาพและผลผลิตตรงตามมาตรฐานมากขึ้น ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ให้เกษตรกรอยู่ดี กินดี เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และอัปเกรดให้เกษตรอุตสาหกรรมของไทยไปสู่มาตรฐานโลก”
นอกจากนี้ กิจกรรมภายในงานยังมีนิทรรศการและการสาธิตนวัตกรรมให้กับผู้ที่สนใจประกอบด้วย สาธิตนวัตกรรมใหม่ เครื่องผสมสารอัตโนมัติ โดรนฉีดพ่นอัจฉริยะ ชุดติดตามการทำงานของเครื่องจักรเกษตร ณ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ สาธิตโดรนฉีดพ่น ไทเกอร์โดรน ณ ลานหญ้า อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดลองใช้บริการระบบประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศ (FPS: Hivegrid) ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี