ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.วช.
วช. ร่วมกับ จุฬาฯ จัดเวทีที่ 3 ระดมความเห็น วางแผนรับมือสถานการณ์น้ำท่วม น้ำแล้ง จ.ลพบุรี
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดเวทีระดมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ใช้น้ำเป็นเวทีที่ 3 ภาคกลาง ต่อเนื่องจากภาคเหนือ
ที่จ.น่าน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จ.ขอนแก่น เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง และกระบวนการจัดเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วมผ่านระบบแอปพลิเคชั่น ดำเนินโครงการโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “โครงการแนวทางการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำระดับชุมชนในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม” โดย นายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ หัวหน้าโครงการวิจัย เพื่อให้เกิดแนวทางการจัดตั้งและพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำให้มีความสามารถในการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม 33 ตำบล ใน 5 ภูมิภาค ครอบคลุม 15 จังหวัด สรุปและประมวลการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดย รศ.ดร.เจษฎา แก้วกัลยา ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กนช. รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และนายธนวัฒน์ สิงห์วนาวงศ์ผู้อำนวยการกลุ่มติดตามและประเมินผลโครงการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดยมี นางสาวอภิสรา เกษอินทร์ นายอำเภอท่าหลวง จ.ลพบุรี กล่าวต้อนรับ ณ อบต.หนองผักแว่น และอบต.ซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชนแต่ละตำบล พร้อมสื่อมวลชน ร่วมเวที
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ความสำคัญกับแนวทางการพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ 5 ภูมิภาค เพื่อช่วยยกระดับองค์กรผู้ใช้น้ำในการวางแผนน้ำของพื้นที่ที่จะสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นในอนาคต ช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ ในการขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน วช. จึงได้สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาระบบข้อมูลน้ำชุมชนผ่านระบบ DATA STUDIO เพื่อสนับสนุนการทำข้อมูล TWR ในการบริหารจัดการน้ำชุมชนผ่านองค์กรผู้ใช้น้ำและเกิดแผนการจัดการน้ำชุมชนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (ปี พ.ศ. 2558-2569) ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีร่วมกับภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยการใช้แอปพลิเคชั่นในการจัดเก็บข้อมูลแหล่งต้นทุนน้ำของชุมชนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำ วช. กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยเรื่องการบริหารจัดการน้ำที่เน้นให้ทุกภาคส่วนของสังคมรู้ถึงคุณค่าของน้ำ โดยแผนงานวิจัยเข็มมุ่งดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องเรื่องของการยกระดับศักยภาพของกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ เพื่อให้องค์กรผู้ใช้น้ำแข็งแรงหน่วยงานสนับสนุน เช่น มหาวิทยาลัยในพื้นที่ดูแลกันได้ในระยะยาวและเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้นำชุมชนกับ อบต. หน่วยงานจังหวัด เรามีอยู่ประมาณ 7,000 กว่าตำบล ดำเนินการ 33 ตำบล ใน 5 ภูมิภาคก่อน ระยะยาวต้องทำ 8,000 ตำบล อยู่ระหว่างหารือกันว่าจะทำอย่างไร
นายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาและการวางแผนบริหารจัดการน้ำไม่ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่ พื้นที่นอกเขตชลประทานการใช้น้ำของคนในชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันบริหารจัดการที่เป็นระบบ นำไปสู่แนวทางการพัฒนากลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ สำหรับพื้นที่ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี แหล่งน้ำส่วนมากเป็นแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นอยู่ในเขตป่าสงวน ชาวบ้านจะใช้น้ำเพื่อการเกษตรจากน้ำใต้ดิน โครงการจึงได้สนับสนุนการทำธนาคารน้ำใต้ดิน และฝายกั้นน้ำ เพื่อให้เกษตรกรได้มีน้ำใช้ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก หรือมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี