5 กันยายน 2565 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ด้วยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้นประเทศไทย จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี บวกกับมีฝนตกและมีความเสี่ยงสูงขึ้นทำให้เกิดแหล่งน้ำขังได้ในหลายพื้นที่ ทำให้ลูกน้ำยุงลายมีปริมาณมาก และเจริญเติบโตได้ดี โอกาสที่จะแพร่ระบาดก็เพิ่มมากขึ้นกลุ่มอายุที่พบเป็นโรคดังกล่าวมากคือ กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 10-14 ปี ในขณะที่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี
นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ 3 ขั้นตอน เปรียบเสมือนเป็นการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันถึง 3 ชั้น โดยเกราะคุ้มกันชั้นที่ 1 การป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เช่น สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ทายากันยุง ติดมุ้งลวด นอนในมุ้ง
เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 คือ การช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ปิดฝาอุปกรณ์เก็บกักน้ำ เช่น โอ่ง ไม่ให้ยุงลายวางไข่
และเกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 คือการไปพบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เกราะคุ้มกันเสริมแนะนำให้ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปี จนถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี ที่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้วเท่านั้น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี