กว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา กระแส “การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development : SD)” ในบริบทสากลได้รับความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประชาคมโลกได้ร่วมกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ประกอบกับการมุ่งยกระดับให้สังคมได้ ร่วมพัฒนาแผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่น ๒๑(Agenda 21 : LA21)
ขณะที่สังคมไทยเองซึ่งเป็นสมาชิกรัฐภาคีแห่งสหประชาชาติ (United Nations : UN) มีหน้าที่สำคัญที่ต้องยึดหลักการพัฒนาที่ต้องยึดหลักความเป็นธรรม (Equity) ของสังคมทุกภาคส่วน บนพื้นที่ความร่วมรับผิดชอบ และศักยภาพตามสภาวการณ์ของประเทศ ทั้งเป็นประเทศในฐานะประชาคมอาเซียนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิสัยทัศน์ และการยกระดับเมืองที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม(Environmentally Sustainable Cities: ESC)
จากแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าวพบว่าไม่ได้มีแต่เรื่องสังคม และเศรษฐกิจ แต่ได้ให้ความสำคัญไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้ไม่ว่าจะดำเนินโครงการใด จำเป็นจะต้องมีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก่อนเสมอ การจัดการ “เมืองน่าอยู่” จึงต้องควบคู่กับ “สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” กลายเป็นที่มาของ “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” จัดโดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่รวมเอาเรื่องการจัดการเมือง และการจัดการสิ่งแวดล้อมเอาไว้อย่างลงตัวตามแนวทางของ “Agenda21” แห่งสหประชาชาติ โดย ผศ.ดร.มณฑิรา ยุติธรรม ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้การวางแผนยุทธศาสตร์เมือง และเกณฑ์ชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมเมืองมาเป็นตัวช่วย เนื่องจากไม่เพียงเรื่องของเศรษฐกิจเท่านั้นที่สามารถประเมินค่าออกมาเป็นตัวเลข เรื่องของสิ่งแวดล้อมก็สามารถประเมินผลกระทบออกมาเป็นเชิงตัวเลขได้เพื่อการพัฒนาและปรับตัวอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างการจัดการเมืองต่างๆ หลักสูตรมีกรณีตัวอย่าง และการฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เรียนหลายๆ ตัวอย่าง เช่น กรณีการท่องเที่ยวที่ลักษณะเป็นเกาะซึ่งมีความแตกต่างจากพื้นที่ฝั่งจะต้องมีการประเมินถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ให้เกิดความสมดุล ที่สำคัญที่สุด คือ จะต้องมีปริมาณน้ำจืดที่เพียงพอต่อการบริโภค รวมทั้งการจัดการปัญหาขยะล้นเกาะ เนื่องจากเมื่อนักท่องเที่ยวล้นเกาะ เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางกลับส่วนใหญ่มักไม่ได้นำขยะกลับมาฝั่งด้วย เป็นต้น
ซึ่งผู้เรียนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะได้มีการศึกษาลงพื้นที่จริง เพื่อฝึกปฏิบัติ และแก้ปัญหาเมือง ฝึกตั้งโจทย์ประเมิน และเสนอแนวทางจัดการและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนตามหลักวิชาการ ตลอดจนทำหน้าที่คอยเป็นพี่เลี้ยงเพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเองอย่างยั่งยืนได้ต่อไป
รายวิชาที่น่าสนใจของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ เมืองน่าอยู่ (Livable city), การวางแผนยุทธศาสตร์เมือง, สังคมคาร์บอนต่ำ (Low carbon society), การวางแผนสิ่งแวดล้อม (Environmental planning), มลพิษสิ่งแวดล้อมชุมชน และ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) นอกจากนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญานิเวศท้องถิ่น (Traditional ecological knowledge), การประเมินความเปราะบางและการปรับตัว (Vulnerability assessment and adaptation), การจัดการความขัดแย้ง(Conflict management), การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานชุมชน (Community based natural resource management) และการจัดการสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประเทศอาเซียน” ฯลฯ ร่วมด้วย ซึ่งเชื่อว่าหากเมืองได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบ และด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจะนำพาชาติสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ซึ่งจะตามมาด้วยความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
ติดตามรายละเอียดของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ https://graduate.mahidol.ac.th/download/old-news/th/news-events/graduate-programme022.php
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี