ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน พร้อมด้วย นายวรพจน์ เพชรนรชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 และคณะ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 และจังหวัดที่เหมาะสม โดยการถอดบทเรียนจาก “บางระกำโมเดล สู่ สี่แควโมเดล” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่น 2โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก
โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยาในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยการถอดบทเรียนจาก “บางระกำโมเดล สู่ สี่แควโมเดล” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 พร้อมมีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพิจารณาพื้นที่เป้าหมายรองรับน้ำหลากในพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร และอุทัยธานี เข้าร่วมประชุม อาทิ กรมประมง กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทยานฯ และ กอ.รมน.
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการเพิ่มพื้นที่แก้มลิงรับน้ำให้มากขึ้นซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ชุมชน-พื้นที่เศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงแล้งได้ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรได้อย่างมั่นคงมากขึ้น ดังนั้น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยาในครั้งนี้ มีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน โดยการตัดยอดน้ำได้อย่างน้อย 1,000 ล้าน ลบ.ม.ภายในปี 2566 ที่จะเป็นการบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีและมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นจากสภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันและสภาพอากาศที่มีความผันผวนมากขึ้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพและความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันทีในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร และอุทัยธานี โดยแยกตามประเภทพื้นที่รับน้ำและการเก็บกัก ได้แก่ 1.พื้นที่สาธารณะ บึงธรรมชาติ เช่น บึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ โดยดำเนินการขุดลอก ยกระดับสันเขื่อนดินเพื่อเก็บกักน้ำได้มากขึ้น 2.พื้นที่รับน้ำจากเทือกเขา เพื่อชะลอและเก็บกักน้ำไว้ใช้ทำเกษตร และ 3.พื้นที่ลุ่มต่ำ แก้มลิง ซึ่งต้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม รวมถึงมาตรการที่จะเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเร่งดำเนินการหน่วงน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้เร็วที่สุดก่อนถึงฤดูฝนปี’66 อย่างน้อย 1,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งสทนช.จะสรุปพื้นที่เป้าหมายดำเนินการใน 5 จังหวัดเสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบประมาณปลายเดือนธ.ค.นี้ ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี