มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท บียอนด์ กรีน จำกัด จัดงานแถลงข่าวพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการผลิตและประยุกต์ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนและโซเดียมไอออนสำหรับรถกอล์ฟไฟฟ้า” เชิงพาณิชย์ ของโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ภายใต้แบรนด์ kkUVolts
ที่ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่นรองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายอมฤต สุวรรณเศวต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บียอนด์ กรีน จำกัด พร้อมด้วย น.ส.ศุภัสสร เชาว์วิศิษฐ กรรมการบริษัท บียอนด์ กรีน จำกัด ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ในการบูรณาการความร่วมมือเพื่อนำผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนของโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ภายใต้แบรนด์kkUVolts โดยมี ศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, นางศิริพรรณ อันชื่น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น และผู้บริหาร ของทั้ง 2 หน่วยงาน ร่วมงาน
น.ส.ศุภัสสร เชาว์วิศิษฐกรรมการบริษัท บียอนด์ กรีน จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันรถกอล์ฟมีการใช้แบตเตอรี่ ด้วยคุณภาพที่เทียบกับแบตเตอรี่ไอออน จะเห็นได้ว่ามีการปล่อยพลังงาน ที่สูงและมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ลูกค้าปัจจุบันค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้กันมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันในตลาดรถกอล์ฟเรา ประมาณ 20,000 คัน ซึ่งก็เป็นรถกอล์ฟที่ขับเองใช้งานเองประมาณ 13,000 กว่าคัน แล้วก็เป็นรถของเราเองประมาณ 3,000 กว่าคัน ปัจจุบันเราเปลี่ยนจากตะกั่วขดมาเป็นลิเทียมมากขึ้น บริษัท บียอนด์ กรีน จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ยุคใหม่ชั้นนำของประเทศ ไปใช้สำหรับรถกอล์ฟไฟฟ้าของบริษัท ซึ่งเป็นผู้นำด้านธุรกิจรถกอล์ฟไฟฟ้าอันดับหนึ่งของไทยและรถไฟฟ้าอเนกประสงค์ครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย
ด้านรองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าสำหรับแบตเตอรี่ของเราที่พัฒนาเสร็จแล้ว สามารถเอามาใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์คือลิเทียมไอออน ส่วนโซเดียมไอออน ตัวต้นแบบได้ทำเรียบร้อยแล้ว เพื่อแพ็กแบตเตอรี่ขึ้นมา ใช้กับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าไปแล้ว ส่วนการที่จะเอามาใช้กับยานยนต์ เช่น รถกอล์ฟหรือรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งตรงนี้ในความเป็นจริงสามารถนำมาใช้ได้เลย เพราะคือเซลล์ขนาดเดียวกัน กับลิเทียมไอออน เพียงแต่ว่า การเข้มข้นใช้งานอาจจะน้อยกว่าของลิเทียมไอออน หากเป็นยานยนต์ที่วิ่งไม่ไกล ก็สามารถใช้ได้ ซึ่งตรงนี้อยู่ระหว่างรอการผลิตออกมาเยอะๆ เพื่อนำมาไปใช้แพ็กแบตเตอรี่ได้ในจำนวนมาก ซึ่งอยู่ระหว่างการขยายโรงงาน ซึ่งทางทีมงานของโรงงานแบตเตอรี่ ก็สามารถทำโซเดียมไอออนได้ในปีนี้ อย่างน้อย 5 เมกะวัตต์
รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย กล่าวอีกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมทุกคนก็รู้กันอยู่แล้วว่า ก็จะเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยพลังงานสะอาด ทั้งการดึงพลังงานจากแหล่งต่างๆ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เป็นกระแสโลกที่กำลังไปในทิศทางนี้ส่วนความแตกต่างระหว่างลิเทียมไอออน และโซเดียมไอออน อย่างที่ทุกคนทราบดี เพราะทั้งสองชนิดนี้มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ที่ไม่เหมือนกันและที่สำคัญคือ สำหรับประเทศไทยเรา ไม่มีแหล่งแร่ลิเทียม แต่เรามีโซเดียมเยอะ เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถนำโซเดียมมาใช้เป็นแบตเตอรี่ได้ เราจะมีกำลังการผลิตมหาศาลสามารถตอบสนองความต้องการใช้งาน ในประเทศและจะมีการส่งออกได้อีกด้วย
สมใจ นามสุดตา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี