สอศ.ประกาศแล้ว! 30 ผลงาน"สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา"ระดับชาติ ปีการศึกษา 2565 เน้นประดิษฐ์นวัตกรรม การลงมือทำ ขยายผลตอบโจทย์ประเทศ
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องไดมอนด์ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดพิธีปิด “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” การประกวด/ประเมินสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีเรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับมอบหมายจาก ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานในพิธี โดยมี ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา กล่าวรายงาน นายอิทธิพล ภู่โกสีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เซียร์ พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) นายบุญประเสริฐ พุฒิสรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซีเทค ไดแด็คติค จำกัด ประธานคณะกรรมการสิ่งประดิษฐ์ระดับชาติ ระดับภาค คณะกรรมการ ผู้บริหาร สถานประกอบการ ผู้อำนวยการสถานศึกษานักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมงาน
เรืออากาศโท สมพร กล่าวว่า ขอชื่นชมและขอบคุณทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือ ร่วมแรงและร่วมใจ ดำเนินการจัดกิจกรรมงาน สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา การประกวด/เมินสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ จนสำเร็จลุล่วงมาด้วยดี และทำให้เห็นได้ว่า นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา รู้จักประยุกต์ใช้ทักษะความรู้ความสามารถ ทางด้านทักษะวิชาชีพ วิชาการ และประสบการณ์ในการเรียนรู้ นำมาซึ่งการคิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ได้อย่างดีเยี่ยม นับเป็นนิมิตหมายอันดีและถือว่าเป็นจุดเริ่มของเยาวชนไทยยุคประเทศไทย 4.0 ได้ใช้ความรู้ทางความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือ STEM ศึกษา มาพัฒนาผลงานนวัตกรรมขับเคลื่อนสู่ชุมชนให้ก้าวไกลและก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย และให้ท่านผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูที่ปรึกษาทุกท่าน ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน นักเรียน นักศึกษา ได้ประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ให้เพิ่มมากขึ้น ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย "การพัฒนาคุณภาพนักเรียน นักศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ" และเป็นการเตรียมพร้อมของกำลังคนอาชีวศึกษา เข้าสู่การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมตามนโยบายของรัฐบาล ประเทศไทย 4.0 และจุดเน้นของเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
รองเลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อไปว่า จากคณะกรรมการได้วิเคราะห์และสรุปผลการนำนวัตกรรมเพื่อเข้าสู่การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ชุมชน และสังคม โดยวิเคราะห์สรุปผล ถอดบทเรียน และเพื่อประมวลผลองค์ความรู้สู่การพลิกโฉมภาพลักษณ์ สร้างโมเดล (Best practice) สกัดองค์ความรู้จากการลงมือทำ สู่การขยายผลตอบโจทย์ประเทศในมิติต่างๆ พร้อมพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยงาน “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” การประกวด/ประเมินสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2565 ระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2566 มีผลงานของนักศึกษาอาชีวศึกษาได้รับรางวัลระดับชาติ จำนวน 30 รางวัล แบ่งสิ่งประดิษฐ์ออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ รางวัลชนะเลิศ ผลงานเครื่องคัดขนาดปลาหมอความแม่นยําสูงระบบอัตโนมติ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี รองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงาน Thai-Aus Green House วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ รองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงาน รถตัดหญ้าตีนตะขาบบังคับด้วยสัญญาณวิทยุ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม รองชนะเลิศอันดับ 3 ผลงาน มินิสมาร์ทฟาร์มกบ วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ และ Honor Awards ผลงาน เครื่องผสมเกสรดาวเรือง วิทยาลัยเทคนิคลําปาง
ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ รางวัลชนะเลิศ ผลงาน มิเตอร์ ไอโอที วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี รองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงาน ระบบช่วยเตือนระวังผู้ติดอยู่ภายในรถ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ รองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงาน สัญญาณไฟจราจรที่คับขัน วิทยาลัยเทคนิคระนอง รองชนะเลิศอันดับ 3 ผลงาน ชุดรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องอัจฉริยะ Smart Camera Security Kit วิทยาลัยการอาชีพสตึก และ Honor Awards ผลงาน มิเตอร์ ไอโอที วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี
ประเภทที่ 3 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสิ่งแวดล้อม รางวัลชนะเลิศ ผลงาน เครื่องรีไซเคิลน้ำยาล้างระบบภายในเครื่องปรับอากาศ วิทยาลัยเทคนิคสงขลา รองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานวาล์วน้ำอัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ วิทยาลัยการอาชีพแม่น้ำแคว รองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงาน เตาประหยัดพลังงานปลอดสารพิษ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก รองชนะเลิศอันดับ 3 ผลงาน เรือ EV รุ่น ECO - SHIP วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา และ Honor Awards ผลงาน เครื่องคั่วกาแฟด้วยโอ่งดินพลังงานร่วมชนิดไร้ควัน วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
ประเภทที่ 4 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร รางวัลชนะเลิศ ผลงาน นาซิดาแฆ รองแง็ง บาร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา รองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงาน เครื่องดื่มฟังก์ชันชนิดผง อ้อยฟู่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี รองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงาน ไข่ปลาแซลมอนเทียม วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร รองชนะเลิศอันดับ 3 ผลงาน ผลิตภัณฑ์กึ่งสําเร็จรูปเส้นไข่ขาวจากไข่เค็มดิบไชยาพร้อมน้ำยาปู วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานีและ Honor Awards ผลงาน ยอหยา สควีซ (สังขยาใบยอ) วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
ประเภทที่ 5 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HEALTH CARE) รางวัลชนะเลิศ ผลงาน เครื่องวัดปริมาณการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด DTEC วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม รองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงาน เครื่องกายภาพบําบัดขาแสดงผลการนับด้วยระบบอัตโนมัติ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ รองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงาน อุปกรณ์ช่วยลงน้ำหนักเท้าสำหรับผู้ป่วยขาหัก วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ รองชนะเลิศอันดับ 3 ผลงาน เครื่องช่วยสื่อสารสําหรับผู้ป่วยติดเตียง วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม และ Honor Awards ผลงาน Lokomat เครื่องฝึกเดินสําหรับผู้ป่วย วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา
ประเภทที่ 6 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ รางวัลชนะเลิศ ผลงาน แว๊กซ์กําจัดขนอโลเวล่าพลัส วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง รองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงาน ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางธรรมชาติจากน้ำนมข้าว สารสกัดรังไหม และสารสกัดจากเปลือกกล้วย วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด รองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงาน แว็กซ์ สตริปส์ นาโนเจล จากกากน้ำตาลโตนด วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี รองชนะเลิศอันดับ 3 ผลงาน กล่องกันลืม (SmartBox) วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช และ Honor Awards ผลงาน ผลิตภัณฑ์จับยึดแคล้มก้ามปู PVC วิทยาลัยเทคนิคปากช่อง และรางวัลการเขียนโปรแกรมด้วย PLC ควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ทีม วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี ทีมที่ 1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ทีม วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี
ทั้งนี้ รองเลขาธิการ กอศ.ได้มอบโล่เกียรติคุณ ผู้ทรงคุณค่า ผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ จำนวน 1 ราย สถานศึกษาที่นำผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ที่ได้รับรางวัลนานาชาติและด้านความปลอดภัย จำนวน 10 แห่ง สถานศึกษาที่ได้รับรางวัล “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” การประกวด/ประเมินสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 รางวัล และสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลการเขียนโปรแกรมด้วย PLC ควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จำนวน 4 รางวัล
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี