สสส.สานพลัง มอ.หนุนเสริมเมืองแห่งสุขภาวะ14 จังหวัดภาคใต้พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสร้างความมั่นคงทางอาหาร-บุคคล-สุขภาพ-สิ่งแวดล้อม-จัดการภัยพิบัติ สู่เป้าหมายภาคใต้แห่งความสุข
13 มิ.ย.66 ที่ “เกาะกลางบางทะลุ” พื้นที่นันทนาการชุมชน ต.มะขามเตี้ย จ.สุราษฎร์ธานี คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 7 ลงพื้นที่โครงการศูนย์วิชาการนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (ศวนส.) และเยี่ยมชมพื้นที่ปฏิบัติการ ผลลัพธ์จากกลไกบูรณาการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 7 กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำโครงการศูนย์วิชาการนโยบายสารธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (ศวนส.) โดยใช้กลไกวิชาการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ภายใต้หลักคิดของการใช้กระบวนการทางวิชาการ ยกระดับและขยายผลความรู้จากปฏิบัติการในพื้นที่ เป็นการสานเสริมพลังภาคีเครือข่ายและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานของ สสส. นำไปสู่สังคมสุขภาวะที่ครอบคลุมทุกมิติ
ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส. กล่าวว่า ได้ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มอ. และภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ สานพลัง สร้าง และหนุนเสริมศักยภาพภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เน้นยกระดับข้อเสนอเชิงนโยบายจากการขับเคลื่อนงานใน 4 ประเด็นหลัก 1. ความมั่นคงทางอาหาร ขับเคลื่อนในประเด็นนโยบายสวนยางยั่งยืน พื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน และชุมชนสีเขียว 2. ความมั่นคงทางมนุษย์ ขับเคลื่อนในประเด็นการบูรณาการกลไกระดับอำเภอและระดับจังหวัด 3. ความมั่นคงทางสุขภาพ ขับเคลื่อนประเด็นการจัดบริการในพื้นที่ ผลักดันแนวทางปฏิบัติการพหุวัฒนธรรม 4. ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จัดการภัยพิบัติ และการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายภาคใต้แห่งความสุข ซึ่งจากเวทีสร้างสุขภาคใต้ที่ผ่านมาได้มีการเสนอผลักดันให้เกิดกลไกคณะกรรมการสุขภาวะระดับจังหวัดและกองทุนส่งเสริมสุขภาวะระดับจังหวัด จึงเกิดการพัฒนาความร่วมมือนำร่องในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อหนุนเสริมนโยบายดังกล่าว
ดร.ปรเมษฐ์ จินา ประธานคณะกรรมการนโยบายโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จากการร่วมเป็นจังหวัดนำร่องบูรณาการกลไกความร่วมมือฯ ได้มีการพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะทำงาน และพี่เลี้ยง ผลักดัน วางแผน บูรณาการความร่วมมือ การจัดกิจกรรมต่างๆ สร้างการรับรู้โครงการผ่านเวที Kick Off การถอดบทเรียน เพื่อหาข้อค้นพบ ตัวอย่างรูปธรรมความสำเร็จในระดับตำบล อำเภอ จ.สุราษฎร์ธานี อบรมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง ส่งเสริมสุขภาวะ 5 อ อาหาร อุบัติเหตุ ออกกำลังกาย อโรคยา และอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งชุมชนมะขามเตี้ยได้ร่วมทำงานในโครงการฯ ทั้งบุคคล ชุมชน และท้องถิ่น นำไปสู่ผลสำเร็จของการเกิดชุมชนมะขามเตี้ยแห่งความสุขนั้น 1. การเห็นปัญหาร่วมกัน "ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน" 2. การมี “ทุนและศักยภาพของพื้นที่” การสนับสนุนทุนทั้งจากภายนอกและภายในพื้นที่ รวมถึงศักยภาพผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำกลุ่มต่างๆมีความเข้มแข็ง อาสาสมัครทำงานเชิงพื้นที่อย่างยาวนาน และต่อเนื่อง 3. การใช้พื้นที่ประโยชน์ร่วมกัน การทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ผู้สูงอายุ นันทนาการ การจัดการขยะ สร้างสังคมสุขภาวะในพื้นที่อย่างแท้จริง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี