"วสท."สันนิษฐานอุบัติเหตุทางเลื่อนที่สนามบินดอนเมือง เกิดจากการมีวัสดุตกหล่นไปขัดอยู่ที่ปลายหวี ทำให้ล้อกระเป๋าเดินทางเกิดการขัดตัวเป็นเหตุให้ปลายหวีแตก หลุดเข้าไปในระบบทางเลื่อน และไปง้างแผ่นพื้นทางเลื่อน ทำให้น็อตที่ล็อกแผ่นพื้นกับรางเลื่อนขาด จนเกิดช่องว่างให้ขาผู้บาดเจ็บหลุดเข้าไป
หลังวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และสภาวิศวกร ส่งผู้แทนเข้าไปสำรวจตรวจสอบจุดเกิดอุบัติเหตุทางเลื่อนอัตโนมัติที่สนามบินดอนเมือง จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ล่าสุดนายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย ที่ปรึกษาคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจเบื้องต้นในสถานที่เกิดเหตุ พบว่ามีการแตกหักของแผ่นหวี และมีบางชิ้นส่วนของหวีแตกหักลักษณะคล้ายเป็นรูปโค้งของวงกลม ซึ่งอาจจะเกิดจากการขัดกันระหว่างวัสดุสองชนิดในช่วงที่เกิดเหตุนั้น
โดยพบว่าแผ่นพื้นทางเลื่อนที่หลุดยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และหล่นอยู่ที่ท้องของกล่องทางเลื่อนอัตโนมัติเป็นระยะประมาณ 10 เมตรจากจุดเกิดเหตุ ลักษณะแผ่นพื้นหลุดดังกล่าว บ่งขี้ว่าน็อตที่ล็อกแผ่นพื้นกับรางเลื่อนขาด
จากข้อมูลของการบำรุงรักษา ซึ่งผู้ทำการตรวจความปลอดภัย (OA) ของระบบบันไดเลื่อนทั้งหมด รวมถึงทางเลื่อนอัตโนมัติได้รับรองความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ไว้แล้ว นอกจากนี้ในการใช้งาน เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาจะต้องตรวจสอบการทำงานของระบบก่อนการเปิดใช้งานทุกวัน จึงไม่เป็นเหตุให้ระบบบันไดเลื่อนและทางเลื่อนอัตโนมัติมีการทำงานที่ผิดปกติ
ดังนั้นการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว จึงสันนิษฐานเป็นลำดับได้ว่า อาจเกิดจากการที่มีวัสดุตกหล่นไปขัดอยู่บริเวณปลายหวี และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ล้อกระเป๋าเดินทางไปติดอยู่ที่ปลายหวีนั้นด้วย เมื่อล้อของกระเป๋าเดินทางไม่สามารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ จึงเกิดการขัดตัว จนกระทั่งปลายหวีแตกหักและหลุดเข้าไปในระบบทางเลื่อนอัตโนมัติ เป็นเหตุให้ไปง้างแผ่นพื้นทางเลื่อน เกิดการกระดกจนน็อตที่ล็อกแผ่นพื้นกับรางเลื่อนขาด ทำให้มีช่องว่างกว้างเพียงพอที่จะทำให้ขาของผู้บาดเจ็บที่กำลังก้าว หล่นลงไปในช่องว่าง ในขณะที่ทางเลื่อนยังทำงาน
ตามปกติ จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้น
ทั้งนี้ มีความจำเป็นจะต้องทำการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ขึ้นอีก และเพื่อหามาตรการป้องกันสร้างความปลอดภัยให้ประชาชนผู้ใช้งานต่อไป
ขณะเดียวกัน นายบุญพงษ์ ยังอธิบายถึงหลักการทำงานและความแตกต่างของทางเลื่อนอัตโนมัติและบันไดเลื่อน ซึ่งการทำงานและอุปกรณ์ของทั้งสองอุปกรณ์นี้คล้ายกัน มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนสองเรื่อง คือ มุมที่วัดจากแนวระนาบสำหรับทางเลื่อนอัตโนมัติจะไม่เกิน 1 1 องศา เพื่อให้แผ่นพื้นเรียบ หากมุมจากแนวระนาบเกินกว่านี้ จะต้องทำแผ่นพื้นให้เป็นขั้นบันไดเลื่อน และข้อแตกต่างของการรับน้ำหนัก ซึ่งทางเลื่อนอัตโนมัติ 1 แผ่นพื้น สามารถรับน้ำหนักได้ 160 กิโลกรัม ขณะที่บันไดเลื่อนจะออกแบบให้รับน้ำหนักที่ 75 กิโลกรัมต่อคน น้ำหนักที่ใช้ในการออกแบบดังกล่าวมีความสำคัญในการออกแบบอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของทั้งระบบบันไดเลื่อนและทางเลื่อนอัตโนมัติ นอกจากนี้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่ตามมาตรฐานสากล EN 1 15
พร้อมแนะนำ การใช้ทางเลื่อนและบันไดเลื่อนอย่างปลอดภัย 1.ระหว่างการใช้งานต้องมีสติ 2.งดหรือหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ 3.ควรจับราวบันไดตลอดเวลา และ4.หมั่นฟังเสียงทางเลื่อนหรือบันไดเลื่อน หากมีเสียงดังเกิดขึ้น ให้งดการใช้งานไปก่อนเพื่อความปลอดภัย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี