ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะทางเสียง ถือเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ผู้เสียหายหรือประชาชนได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงดังในที่อยู่อาศัย เสียงดังในที่ทำงาน ซึ่งในกรณีเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเสียงดังนั้น ในประเทศไทยได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวไว้หลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายหลัก ซึ่งเป็นพื้นฐานรองรับการใช้อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานในการกําหนดนโยบาย มาตรการและแผนงาน เพื่อเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยในส่วนของมลภาวะเรื่องเสียงนั้นได้มีกำหนดไว้ในมาตรา 32 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่อง
(5) มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือนโดยทั่วไป
(6) มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องอื่นๆ
ทั้งนี้ การกําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะต้องอาศัยหลักวิชาการ กฎเกณฑ์และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานและจะต้องคํานึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นการวางหลักเกณฑ์กว้างๆ ทั่วไป ซึ่งต่อมามีประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กําหนด มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32(5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ข้อ 2 ให้กําหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไปไว้ดังต่อไปนี้
(1) ค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ
(2) ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ
และมีประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ค่าระดับ เสียงรบกวน ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32(6) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ข้อ 2 ให้กําหนดค่าระดับเสียงรบกวนไว้ที่ 10 เดซิเบลเอ หากระดับการรบกวนที่คํานวณได้มีค่ามากกว่าค่าระดับเสียงรบกวนตามวรรคแรก ให้ถือว่าเป็นเสียงรบกวนข้อ 3 วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐานและระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคํานวณค่าระดับเสียง ขณะมีการรบกวนและค่าระดับการรบกวน เป็นไปตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ
นอกจากนี้ในปัญหาเรื่องเสียงดังในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการ ป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียง ที่เกี่ยวกับเหตุรําคาญทางเสียง ดังนี้
มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นเหตุรําคาญ
(4) การกระทําใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่นแสง รังสีเสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือนฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ
นอกจากนี้ในประมวลกฎหมายอาญา ยังมีบทบัญญัติ ซึ่งเป็นโทษทางอาญา ซึ่งเกี่ยวกับมลภาวะทางเสียง ดังนี้ มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียงหรือทําให้เกิดเสียงหรือกระทําความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควรจนทําให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
มาตรา 372 การทะเลาะกันอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานก็อาจทําให้ผู้ทะเลาะเบาะแว้งส่ง เสียงดังอื้ออึง มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
มาตรา 376 ผู้ใดยิงปืนหรือใช้ดินระเบิดโดยใช้เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ซึ่งจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยนั้นมีกฎหมายดีๆ ที่บัญญัติขึ้นไว้เพื่อแก้ไขปัญหาทางเสียงซึ่งมีบทและสภาพบังคับทั้งแพ่งและอาญา แต่ปัญหาในทางเทคนิคเกี่ยวกับการวัดระดับเสียงนั้น ก็คงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การใช้บังคับกฎหมายหรือวัดระดับเสียงให้ประชาชนหรือผู้เสียหายนั้นยังไม่รวดเร็วทันใจหรือเต็มประสิทธิภาพ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี