ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแก้ปัญหาสถานการณ์ภาวะโลกเดือด จัดนิทรรศการ “พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum)” ณ อาคารเรือนกระจก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และผู้บริหาร จุฬาฯ รศ.ดร.ธนัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกัมพล
ตันสัจจา ประธานสวนนงนุช พัทยา นางนันทวรรณชยา ภาจิตประพันธ์ ประธานบริษัท เฮิร์บฟอร์ยู จำกัด บริษัท เวิร์ดกรีน พลัส จำกัด และ นายธนาธิป ศิษย์ประเสริฐ ผู้แทนบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมเปิดนิทรรศการครั้งนี้
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาฯ ประกาศเจตนารมณ์ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ.2040 และมีเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ.2050 โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำมาอย่างต่อเนื่องนั่นคือการนำงานวิจัยและนวัตกรรมของจุฬาฯ มาสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้พร้อมเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ซึ่งคณาจารย์และนักวิจัยจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ และภาคีเครือข่ายกำลังเร่งขับเคลื่อนบ่มเพาะองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงงานวิจัยและนวัตกรรมให้ทันรับมือกับสภาวะโลกเดือดตามที่สหประชาชาติได้ประกาศไว้ ซึ่งเราได้รวบรวมองค์ความรู้นี้ไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต หรือ Living Plant Museum ที่ต่อไปจะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทย เป็น Living Lab ให้รู้เท่าทันโลก เพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และหาทางออกที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ให้กับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโลกได้ต่อไป
รศ.ดร.สีหนาท ประสงค์สุข หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิตแห่งนี้ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตจุฬาฯ การวิจัยพืชในระบบควบคุมอุณหภูมิ (evaporative cooling system) และจัดแสดงนิทรรศการถาวรนําเสนอข้อมูลความหลากหลายและวิวัฒนาการของพืชในรูปแบบที่พืชยังมีชีวิต มีพรรณไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ตํ่ากว่า 200 ชนิด ภายในอาคารเรือนกระจก พื้นที่ 464 ตารางเมตรจัดแสดง 6 รูปแบบ ประกอบด้วยนิทรรศการความหลากหลายของพืชในป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน พืชทนแล้งพืชน้ำ พืชกลุ่มเทอริโดไฟต์ กลุ่มพืชเมล็ดเปลือย และวิวัฒนาการของพืชดอกโดยมุ่งหวังให้เป็นองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
“ล่าสุด มีนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง ผลงานวิจัยของ ผศ.จิตรตรา เพียภูเขียว อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายผลไปยังพื้นที่ป่าชุมชนจังหวัดสระบุรีกว่า 3,000 ไร่ และในพื้นที่อีก 7 จังหวัด และเมื่อเติบโตเป็นไม้ใหญ่แล้วจะเกิดเห็ดป่า อาทิ เห็ดเผาะ เห็ดระโงก เห็ดไคล เห็ดน้ำหมาก เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นแรงจูงใจให้คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ป่าชุมชนไว้อย่างยั่งยืน” รศ.ดร.สีหนาทกล่าว
นอกจากนิทรรศการแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน “โครงการปลูกต้นกล้าสู้โลกเดือด” เตรียมต้นกล้าไม้ยางนาจากผลงานวิจัยที่มีอัตราการรอดสูงนำไปปลูกในชุมชนจำนวน 107 ต้น กิจกรรมปลูก “ต้นราชพฤกษ์อวกาศ” ในโครงการ Asian Herb in Spa
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี