เปิดข้อกฎหมาย‘อาวุธปืน’ พบ ‘สิ่งเทียมฯ’ยังเป็น‘ช่องโหว่’ ซื้อ-ครอบครองง่าย สู่‘ดัดแปลง’ก่อเหตุร้าย
กลับมาเป็นข่าวสะเทือนขวัญอีกครั้งกับเหตุ ‘กราดยิง” ครั้งล่าสุดที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เขตปทุมวัน ซึ่งเป็นย่าน “ใจกลางเมือง” ของกรุงเทพฯ เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 3 ต.ค. 2566 และแม้ครั้งนี้ความสูญเสียจะไม่มากเท่า 2 ครั้งก่อนหน้า คือเหตุกราดยิงที่ห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 จ.นครราชสีมา วันที่ 8 ก.พ. 2563 และเหตุกราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู วันที่ 6 ต.ค. 2565 แต่ที่น่าตระหนกเป็นอย่างยิ่ง คือผู้ก่อเหตุเป็นเพียงเด็กชายวัย 14 ปี แต่งกายในลักษณะ “ชุดปฏิบัติการทางยุทธวิธี (Tactical)” และเมื่อตำรวจเข้าตรวจค้นที่พัก ก็พบเครื่องกระสุนปืนจำนวนหนึ่ง อีกทั้งอาวุธปืนที่ใช้ก่อเหตุ คือปืน “แบลงก์กัน (Blank Gun)” ที่ดัดแปลงให้ยิงกระสุนจริงได้
หลังเกิดเหตุที่ห้างดังกลางเมืองหลวงของไทย “การเข้าถึงอาวุธปืน” กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงอย่างมากอีกครั้ง โดยประเทศไทยนั้นมี “กฎหมาย” ที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน คือ พ.ร.บ.อาวุธปื น เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปื น พ.ศ. 2490 ให้นิยามไว้ในมาตรา 4 ดังนี้
- “อาวุธปื น” หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกําลังดันของแก๊ส หรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอํานาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว4าสําคัญและได$ระบุไว$ในกฎกระทรวง
- “เครื่องกระสุนปืน” หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดแก๊ส เชื้อเพลิง เชื้อโรค ไอพิษ หมอกหรือควัน หรือกระสุน ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุุ่นระเบิดและจรวด ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน หรือเครื่องหรือสิ่งสําหรับอัดหรือทํา หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน
- “สิ่งเทียมอาวุธปืน” หมายความว่า สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันน่าจะทําให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน
สำหรับประเทศไทย กฎหมายอนุญาตให้บุคคลทั่วไปสามารถครอบครองอาวุธปืนบางชนิดได้ โดยอยู่ใน มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.นี้ ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดทํา ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนําเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ขณะที่ใน มาตรา 13 ระบุ “ข้อห้าม” ของบุคคลที่ไม่สามารถครอบครองอาวุธปืนได้ ดังนี้
1.บุคคลซึ่งต้องโทษจําคุกสําหรับความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา ดังต่อไปนี้ (ก) มาตรา 97-111 , มาตรา 120 มาตรา 177-183 , มาตรา 249 มาตรา 250 หรือมาตรา 293-303 (ข) มาตรา 254-257 และพ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษถึงวันยื่นคําขอใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีความผิดที่กระทําโดยความจําเป็นหรือเพื่อป้องกันหรือโดยถูกยั่วโทสะ
(2) บุคคลซึ่งต้องโทษจําคุกสําหรับความผิดอันเป็นการฝ่าฝ นต่อ พ.ร.บ.อาวุธปื น เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง พ.ศ.2477 มาตรา 11 มาตรา 22 มาตรา 29 หรือมาตรา 33 หรือ พ.ร.บ. นี้ ในมาตรา 7 มาตรา 24 มาตรา 33 หรือมาตรา 38
(3) บุคคลซึ่งต้องโทษจําคุกตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปในระหว่างห้าปีนับย้อนขึ้นไปจากวันยื่นคําขอ สําหรับความผิดอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน (1) และ (2) เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ (5) บุคคลซึ่งไม่สามารถจะใช้อาวุธปืนได้โดยกายพิการหรือทุพพลภาพ เว้นแต่จะมีไว้เพื่อเก็บตามมาตรา 11
(6) บุคคลซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือปรากฏว่าเป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟื อนไม่สมประกอบ (7) บุคคลซึ่งไม่มีอาชีพและรายได้ (8) บุคคลซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และ (9) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทั้งนี้ ใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับผู้ครอบครองอาวุธปืน ในมาตรา 23 แบ่งได้ดังนี้ (3) ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปื นและเครื่องกระสุนปื น มีอายุตลอดเวลาที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นเจ้าของอาวุธปื นนั้น , (4) ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนชั่วคราว มีอายุหกเดือนนับแต่วันออก , (6) ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ มีอายุตลอดเวลาที่ผู้รับใบอนุญาตมีอาวุธปืนนั้นไว้เพื่อเก็บ
สำหรับผู้ฝ่าฝืน จะมีความผิดตามมาตรา 72 แบ่งเป็น 1.ครอบครองปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท 2.ครองครองเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของปืน หรือครอบครองเฉพาะเครื่องกระสุนปืน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 3.ปืนผิดมือ มีอาวุธปื นที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย ผู้ฝ่าฝ นต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
และ 4.ทำกระสุนปืนใช้เอง การทําเครื่องกระสุนปื นที่ทําด้วยดินปืนมีควันสําหรับใช้เอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ผู้ฝ่าฝื น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท นอกจากนั้น การครอบครองเครื่องกระสุนปืนที่มิใช่สําหรับใช้กับอาวุธปื นที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ จะมีความผิดตามมาตรา 8 ประกอบมาตรา 72 ทวิ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
อนึ่ง ต้องย้ำว่า “การครอบครองปืนกับการพกพาอาวุธปืน ในทางกฎหมายเป็นคนละส่วนกัน” ซึ่งในมาตรา 23 ได้กล่าวถึงใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน ว่า “(7) ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันออก” ขณะที่ในมาตรา 22 ระบุผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน ดังนี้ 1.อธิบดีกรมตํารวจ (ปัจจุบันคือผุ้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) สําหรับในเขตกรุงเทพมหานคร และทั่วราชอาณาจักร กับ 2.ผู้ว่าราชการจังหวัด เฉพาะภายในเขตจังหวัดของตน และเฉพาะผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น
ซึ่งผู้ที่พกปืนโดยไม่มีใบอนุญาต จะมีความผิดตามมาตรา 8 ทวิ ประกอบมาตรา 72 ทวิ ดังนี้ 1.พกพาอาวุธปื นไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจําเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ กับ 2.พกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้น เพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด หากเป็นผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้พกอาวุธปืนติดตัว ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท แต่หากเป็นผู้ที่ได้รับอนญาต ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ประการต่อมา “เครื่องกระสุนปืน” แบ่งเป็น “ผุ้ขาย” ในมาตรา 24 ประกอบมาตรา 73 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใด ทํา ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ สั่ง นําเข้า มี หรือจําหน่าย ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนสําหรับการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท นอกจากนั้น ในมาตรา 34 ประกอบมาตรา ยังห้ามมิให้จําหน่ายอาวุธป นหรือเครื่องกระสุนปืนแก่ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ซื้อหรือมีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปื น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่คาดว่าตำรวจน่าจะต้องสืบสวนขยายผลต่อไป ว่าผู้ก่อเหตุซึ่งเป็นเพียงเด็กชายวัย 14 ปี ซื้อกระสุนปืนมาจากแหล่งใด เนื่องจากตามกฎหมายแล้ว การจะซื้อกระสุนปืนได้ต้องมีใบอนุญาตครอบครองอาวุธปืน และการจะขอใบอนุญาตครอบครองปืนได้ก็จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ หรืออายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่สิ่งที่ดูจะเป็น “ช่องโหว่” อย่างแท้จริงของปัญหาอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืนในประเทศไทย คือ “สิ่งเทียมอาวุธปืน” โดยหากดูกรณีกราดยิงที่สยามพารากอน มีรายงานว่าผู้ก่อเหตุใช้ปืนแบลงก์กัน ซึ่งถูกคิดค้นมาเพื่อใช้สำหรับประกอบการแสดงต่างๆ (เช่น กองถ่ายทำภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์) ที่ต้องการความสมจริง เนื่องจากแบลงก์กันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนปืนจริงทุกประการ แตกต่างเพียงโดยสภาพการผลิตจากโรงงานแล้วจะไม่สามารถใส่กระสุนจริงได้ โดยกระสุนปืนสำหรับแบลงก์กันจะมีเพียงเสียงและแสงไฟวาบจากปากกระบอกเท่านั้น
นอกจากนั้นยังมี “บีบีกัน (BB Gun)” หรือก็คือ “ปืนอัดลม-อัดแก๊ส” ที่รูปร่างหน้าตาเหมือนปืนจริง เพียงแต่วัสดุที่ใช้ในการผลิตจะมีหลากหลาย ให้น้ำหนักและความรู้สึกในการถือคล้ายปืนจริงมาก-น้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับราคาที่จำหน่าย มีตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจนถึงหลักพัน-หลักหมื่นบาท โดยบีบีกันนั้นก็เหมือนกับแบลงก์กัน คือสินค้าที่ผลิตออกจากโรงงานไม่สามารถใช้ยิงกระสุนจริงได้ โดยบีบีกันจะใช้ลูกปืนเม็ดพลาสติกกลมๆ จึงเป็นที่มาของตัวย่อ BB หรือ Ball Bullet นั่นเอง
ซึ่งทั้ง “แบลงก์กัน-บีบีกัน” ปัจจุบันยังอยู่ในสถานะ “คลุมเครือ” แม้ตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาวุธปื น เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปื น พ.ศ. 2490 จะระบุไว้ใน มาตรา 52 ประกอบมาตรา 77 ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสั่ง นําเข้า หรือค้าซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปืน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ แต่ก็ไม่มีบทลงโทษหรือข้อจำกัดใดๆ สำหรับผู้ซื้อหรือผู้ครอบครอง ตราบเท่าที่ไม่นำสิ่งเหล่านี้ไป “ดัดแปลง” ให้ใช้กระสุนจริงได้ และที่ผ่านมา ก็มีข่าวการใช้ “ปืนดัดแปลง” ก่อเหตุอาชญากรรมอยู่เนืองๆ!!!
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี