สอศ.คลอดหลักสูตรเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ฉบับใหม่ 23 สาขาวิชา ระดับปวช.และปวส.ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome Based Education) ตามมาตรฐานอาชีพของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และมาตรฐานสากล
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์โดยยึดผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome Based Education : OBE) โดยมี นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธาน และมีผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูจากโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน วิทยาลัยเทคนิคพังงา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี และอาจารย์จากมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม ณ มีโฮเทล เอสเคป กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) ดำเนินการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจระดับ ปวช.และระดับ ปวส.โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยยึดผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome Based Education : OBE) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรณาธิการกิจหลักสูตรโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์โดยเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ระดับ ปวช.และระดับ ปวส.ซึ่งการดำเนินงานเริ่มจากระยะที่ 1 พัฒนาหลักสูตร และระยะที่ 2 วิพากษ์หลักสูตร โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ครั้งสุดท้ายของการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome Based Education) ยึดโยงกับมาตรฐานสากล มาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) มาตรฐานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความถูกต้องและได้เอกสารหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ คือ ในแต่ละสาขาวิชามีความเชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่อง Skill Certificate และยังสามารถเชื่อมโยงผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับรายวิชาที่นำไปเทียบโอนความรู้ในระบบ Credit bank โดยมีสาขาวิชาทั้งหมด 23 สาขา ดังนี้ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ได้แก่ 1.สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ กล่าวคือ เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิ ปวช.และ 3 ใบประกาศนียบัตร (Certificate) ตามมาตรฐอาชีพ
2.สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือกล เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวช.และ 3 Certificate 3.สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าและพลังงานทางเลือก เชื่อมโยงกับ 4 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวช.และ 4 Certificate 4.สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวช.และ 3 Certificate 5.สาขาวิชาเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ เชื่อมโยงกับ 5 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิปวช.และ 5 Certificate 6.สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธา เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวช.และ 3 Certificate
7.สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวช.และ 3 Certificate 8.สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวฐานวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงกับ 4 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวช.และ 4 Certificate 9.สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปอาหาร เชื่อมโยงกับ 6 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวช.และ 6 Certificate 10.สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวช.และ 1 Certificate
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง (ปวส.) ได้แก่ 1.สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 1 Certificate 2.สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการผลิต เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 2 Certificate 3.สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงานทางเลือก เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 2 Certificate 4.สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและปัญญาประดิษฐ์ เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 1 Certificate 5.สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมระบบอัตโนมัติ เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 2 Certificate
6.สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 1 Certificate 7.สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เชื่อมโยงกับ 1 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 1 Certificate 8.สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 3 Certificate 9.สาขาวิชานวัตกรรมเชิงธุรกิจไมซ์และอีเวนต์ เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 2 Certificate 10.สาขาวิชานวัตกรรมแปรรูปและวิเคราะห์คุณภาพอาหาร เชื่อมโยงกับ 3 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 3 Certificate 11.สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตพืช เชื่อมโยงกับ 2 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 2 Certificate 12.สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตสัตว์ เชื่อมโยงกับ 6 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 6 Certificate 13.สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการผลผลิตทางการเกษตรโครงการ เชื่อมโยงกับ 5 มาตรฐานอาชีพ หรือได้รับวุฒิ ปวส.และ 5 Certificate
นอกจากนี้ สอศ.ยังได้มีการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ต่อเนื่อง 5 ปี) ยึดผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome Based Education : OBE) โดยเป็นการพัฒนาหลักสูตรเดิมที่มี 2 สาขาวิชา เป็น 3 สาขาวิชา คือ 1.สาขาวิชาวิศวกรรมทรอนิกส์และหุ่นยนต์ 2.สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและ 3.สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลักสูตรมีการเชื่อมโยงมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานสากล โดยผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้จะได้รับใบประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพด้วย
“โดยขั้นตอนการดำเนินการต่อจากนี้ สอศ.จะนำเสนอคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อพิจารณาต่อไป” รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวทิ้งท้าย
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี