ชาวประมงพื้นบ้าน เฮ! คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทางทะเลเสนอ เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยแยกประมงพื้นบ้านออกจากประมงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมการทำการประมงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวประมงพื้นบ้าน และประชาชนที่เกี่ยวข้อง
ผลจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การประมงพ.ศ 2558 ตามที่ประธานกรรมการแก้ไขปัญหาประมงทะเลเพื่อฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมประมงเสนอเนื่องจากบทบัญญัติบางอย่างไม่สอดคล้องกับวิถีการทำการประมงในไทยจึงส่งผลกระทบทำให้ชาวประมงบางส่วนเลิกอาชีพการทำการประมงคือ เนื้อหากฎหมายไม่ได้มีการแบ่งแยกประมงพาณิชย์กับประมงพื้นบ้าน มาใช้บังคับ ก็เลยมีผลกระทบต่อประมงพื้นบ้าน
รัฐบาลก็เลยเสนอให้มีการแก้ไขพระราชกำหนดการประมง เพื่อเป็นการป้องกันประมงพื้นบ้านไม่ให้ได้รับผลกระทบไปด้วย เรียกว่าเป็นการรักษาสมดุลระหว่างการเอาผิดกับผู้ทำผิดกติกานานาชาติ แล้วจะต้องธำรงวิถีชีวิตการทำกินของพี่น้องประมงพื้นบ้านด้วย หลักการสำคัญของการขึ้นทะเบียนประมงพื้นบ้าน จะต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น ในความผิดของประมงพื้นบ้านไม่มีการยึดเรือ เป็นเพียงพักใบอนุญาตชั่วคราว ลงโทษเฉพาะลำที่ผิด ไม่เหมารวมโดยจะมีรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติม
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอแผนในการจัดแล้ว หลังทำกฎหมายรวมถึงสาระสำคัญที่ออกร่างตามพรก.ดังกล่าว ขั้นตอนต่อไปจะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจสอบร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก่อนนำกลับเข้าสู่ ครม.อีกครั้ง จากนั้นจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาต่อไป
สำหรับพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ฉบับเก่าที่ไม่สอดคล้องจึงต้องเปลี่ยน เนื่องจากบทบัญญัติบางประการของ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 และ พ.ร.ก. การประมง (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2560 ไม่สอดคล้องกับวิธีการทำประมงในประเทศ ส่งผลกระทบให้ชาวประมงบางส่วนต้องเลิกอาชีพทำการประมงไป อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพการทำประมง
สืบเนื่องจากเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองประเทศไทยเพื่อเป็นการเตือนอย่างเป็นทางการต่อกรณีที่ไทยไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในการทำประมงผิดกฎหมาย โดยสหภาพยุโรปประเมินว่า ไทยไม่มีระบบควบคุมการทำประมงที่ดีพอ กฎหมายประมงของไทยล้าสมัย นับตั้งแต่ได้ใบเหลืองถือเป็นการปฏิรูปการประมงไทยครั้งยิ่งใหญ่ โดยไทยดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปทุกด้าน คือ ปรับปรุงกรอบกฎหมาย การจัดทำแผนการบริหารจัดการประมงระดับชาติการสร้างระบบควบคุม ตรวจสอบ และติดตามการทำประมง การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป
.-008
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี