กทม.กางมาตรการเข้มรองรับคลื่นความร้อน บูรณาการทุกภาคส่วนพร้อมดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
วันที่ 7 มี.ค. 2567 นายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ด้วยกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 และสิ้นสุดฤดูร้อนช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2567 โดยคาดการณ์ว่าจะมีอุณหภูมิจะสูงสุด 44.5 องศาเซลเซียส ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนจัดดังกล่าว อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงเนื่องจากภาวะด้านสุขภาพ ได้แก่เด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน รวมถึงกลุ่มเสี่ยงที่ออกกำลังกาย หรือการทำงานใช้แรงงานอย่างหนักท่ามกลางอากาศที่ร้อน ส่วนใหญ่พบในคนหนุ่มสาวที่มีร่างกายแข็งแรง เช่น นักกีฬา คนงาน ทหาร เป็นต้น
กรุงเทพมหานคร โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการศึกษา สำนักพัฒนาสังคม สำนักเทศกิจ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักงานเขต50 เขต สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยา บูรณาการจัดทำแผนและวางมาตรการเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2567 ดังนี้ 1.มาตรการดำเนินการตลอดทั้งปี จัดทำแผนและแนวทางการดำเนินงานสำหรับเจ้าหน้าที่และประชาชน รวมทั้งจัดทำสื่อและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เพื่อเตรียมแจกจ่ายกลุ่มเสี่ยง ชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสื่อสารความเข้าใจแก่ประชาชน พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์เป็นระยะด้านป้องกันสุขภาพอนามัยของประชาชน ได้แก่ 1.พัฒนาขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ประจำชุมชน เจ้าหน้าที่ประจำสวนสาธารณะ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์กีฬา เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เด็กเล็ก ครู และเทศกิจ เพื่อสร้างความรู้และทักษะในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อนให้แก่ประชาชน 2.เตรียมความพร้อมในการดูแลกลุ่มเสี่ยงสำหรับวางแผนการดำเนินงานการสื่อสารแจ้งเตือน การดูแลและสนับสนุนอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในการป้องกันสุขภาพ และการติดตามเฝ้าระวังอาการในช่วงวิกฤต 4.เฝ้าระวังสถานการณ์การเจ็บป่วยจากความร้อน และรายงานผู้ป่วยที่มารับการรักษาในสถานพยาบาลทุกสัปดาห์ 5.เตรียมความพร้อมของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center : PHEOC) กรณีความร้อน จัดทำแผนปฏิบัติการฯ และหากค่าอุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 43.1 องศาเซลเซียส
ด้านลดอุณหภูมิเมือง ได้แก่ 1.เพิ่มพื้นที่สีเขียว ต้นไม้ล้านต้น สวน 15 นาที 2.สร้างช่องเปิดให้อาคาร การออกแบบให้อาคารหรือตึกสูงมีความพรุนเพิ่มขึ้น 3.เติมน้ำให้กับพื้นที่เมือง 4.เปลี่ยนวัสดุพื้นผิวให้ระบายความร้อน เพิ่มระบบระบายความร้อนด้วยน้ำให้กับตัวอาคาร
2. มาตรการระยะวิกฤต ดำเนินการเฝ้าระวัง เตือนภัยสถานการณ์ในพื้นที่มีปัญหาความร้อนให้ประชาชนให้รับทราบพร้อมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ แบ่งเป็น ระดับ/ดัชนีความร้อนเฝ้าระวัง อุณหภูมิ 27-32 องศาเซลเซียส ระดับเตือนภัยอุณหภูมิ 32-41 องศาเซลเซียส ระดับอันตราย อุณหภูมิ 41-54 องศาเซลเซียส และ ระดับอันตรายมาก อุณหภูมิมากกว่า 54 องศาเซลเซียส มีการติดตามตรวจสอบข้อมูลและแจ้งเตือนสถานการณ์ความร้อนจากกรมอุตุนิยมวิทยาให้ประชาชนทราบทุกวัน โดยเพิ่มความถี่ จัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพประชาชน และเตรียมความพร้อมของระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน สถานพยาบาลยกเลิกนัดผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นในช่วงที่อากาศร้อนจัด จัดศูนย์คลายร้อน (cool room) ให้พร้อมใช้และให้ประชาชนเข้าพักชั่วคราว และเตรียมความพร้อมของระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน 4.แพทย์และ อสส. ออกเยี่ยมบ้านติดตามอาการของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ให้ความรู้และคำแนะนำการดูแลป้องกันตนเองแก่ประชาชน เป็นต้น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี