PM2.5 เช้าวันนี้ พบ 23 จังหวัด เหนือ-อีสาน คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
24 มีนาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กรมควบคุมมลพิษ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมง ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” เมื่อเวลา 08.00 น. ของวันที่ 24 มีนาคม 2567 พบ 23 จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีส้ม ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดย 5 อันดับแรกคือ #แม่ฮ่องสอน 65.9 ไมโครกรัม #ลำพูน 59.2 ไมโครกรัม #เชียงใหม่ 58.2 ไมโครกรัม #มุกดาหาร 53.3 ไมโครกรัม #ลำปาง 51.1 ไมโครกรัม
สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครเช้าวันนี้พบค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศปานกลางไปจนถึงคุณภาพอากาศดี
แอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” ยังคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่จะมีค่าคุณภาพอากาศที่ยังคงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโซนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM 2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูล PM2.5 แบบราย ชั่วโมงเพิ่มเติมผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"
ขณะที่จุดความร้อนไทยขยับขึ้น 549 จุด พบมากที่สุดในพื้นที่ป่าสงวน 182 จุด
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) และจากดาวเทียมอีกหลายดวง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 ไทยพบจุดความร้อนทั้งประเทศ 549 จุด ข้อมูลจากดาวเทียมยังระบุอีกว่าจุดความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่พบในพื้นที่ป่าสงวน 182 จุด ตามด้วยพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 137 จุด พื้นที่เกษตร 126 จุด พื้นที่ สปก. 54 จุด แหล่งชุมชนและอื่นๆ 41 จุด รวมถึงพื้นที่ริมทางหลวง 9 จุด สำหรับจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนมากที่สุด คือ #แม่ฮ่องสอน 116 จุด
ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านพบจุดความร้อนต่อเนื่อง โดยสูงสุดอยู่ที่ลาว 1,771 จุด ตามด้วยพม่า 1,530 จุด กัมพูชา 652 จุด เวียดนาม 641 จุด และไทย 549 จุด
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่สามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรง GISTDA ยังคงติดตาม วิเคราะห์ และรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่
สามารถติดตามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fire.gistda.or.th สรุปสถิติจุดความร้อน (Hotspot) จากข้อมูลดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS ในพื้นที่ประเทศไทย ได้ที่ https://fire.gistda.or.th/dashboard.html
.012
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี