PM2.5 เช้านี้แรงไม่หยุดล่าสุดพบ 14 จังหวัดภาคเหนือ-ภาคอีสานค่าฝุ่นแดงต่อเนื่อง แม่ฮ่องสอน ลำพูน อำนาจเจริญ มุกดาหาร ทะลุกว่า 100 ไมโครกรัม - จุดความร้อนไทยพุ่งแตะหลักพัน เชียงใหม่ขึ้นนำ 184 จุด พบมากในป่าอนุรักษ์
25 มี.ค.2567 กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กรมควบคุมมลพิษ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมง ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” เมื่อเวลา 09.00 น. ของวันที่ 25 มีนาคม 2567 พบ 14 จังหวัดของประเทศ มีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีแดง ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ #แม่ฮ่องสอน 129.1 ไมโครกรัม #ลำพูน 108.5 ไมโครกรัม #อำนาจเจริญ 104.8 ไมโครกรัม #มุกดาหาร 103.4 ไมโครกรัม #เชียงใหม่ 96.1 ไมโครกรัม #ยโสธร 91.8 ไมโครกรัม #ตาก 86.7 ไมโครกรัม #ลำปาง 85.2 ไมโครกรัม #พะเยา 84.7 ไมโครกรัม #อุบลราชธานี 82.3 ไมโครกรัม #กาฬสินธุ์ 79.3 ไมโครกรัม #ร้อยเอ็ด 78.8 ไมโครกรัม #น่าน 76.3 ไมโครกรัม และ #เชียงราย 75.1 ไมโครกรัม ในขณะที่อีก 23 จังหวัดมีค่าเกินมาตรฐานในระดับสีส้มที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ
สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครเช้าวันนี้ทุกเขตพบค่าคุณภาพอากาศดีไปจนถึงอากาศดีมาก
แอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” ยังคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่จะมีค่าคุณภาพอากาศที่ยังคงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโซนเภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM 2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูล PM2.5 แบบราย ชั่วโมงเพิ่มเติมผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"
ด้าน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) และจากดาวเทียมอีกหลายดวง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2567 ไทยพบจุดความร้อนทั้งประเทศ 1,016 จุด ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมยังระบุอีกว่าจุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 367 จุด ตามด้วยพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 316 จุด พื้นที่เกษตร 179 จุด พื้นที่เขต สปก. 83 จุด แหล่งชุมชนและอื่นๆ 59 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 12 จุด สำหรับจังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงสุด คือ #เชียงใหม่ 184 จุด
ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านพบจุดความร้อนมากสุดอยู่ที่พม่า 2,108 จุด ตามด้วยไทย 1,016 จุด ลาว 811 จุด เวียดนาม 570 จุด กัมพูชา 423 จุด และมาเลเซีย 165 จุด
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี