หญ้าทะเลตากแห้งตายเป็นจำนวนมากหลังจากที่น้ำทะเลลดลง ซึ่งเป็นปัญหามาจากภาวะโลกร้อนนั้น ส่งผลให้พะยูนต้องออกหากินไกลกว่าเดิม แต่ยังไม่พบว่าพะยูนจะมีการย้ายถิ่น ทางคณะกรรมการที่ศึกษาปัญหาหญ้าทะเลที่แต่งตั้งโดยรมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯกำลังเร่งศึกษาและแก้ไขปัญหาหญ้าทะเล ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเสนอในหลายแนวทาง ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
วันนี้ 19 เม.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มูลนิธิอันดามัน อ.เมืองตรัง จ.ตรัง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 ตรัง ได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการอนุรักษ์พะยูน จ.ตรัง ภายใต้แผนพะยูนแห่งชาติ โดยมีนายสกุล ดำรงเกียรติกุล รองผู้ว่าราชการ จ.ตรัง เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการอนุรักษ์พะยูน จ.ตรัง ภายใต้แผนพะยูนแห่งชาติ ซึ่งมีคณะกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 ตรัง , สมาคมประมงจังหวัดตรัง , มูลนิธิอันดามัน, กลุ่มอนุรักษ์ดุหยงและสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จ.ตรัง ได้มีการประชุมและข้อเสนอต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของหญ้าทะเลที่ตายเป็นบริเวณกว้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขุดร่องน้ำ การปล่อยน้ำเสียลงทะเล ปัญหาขยะพลาสติก การหาสถานที่ปลูกหญ้าทะเลที่เหมาะสมทดแทนพื้นที่เดิม และหลากหลายความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลและพะยูนที่ยั่งยืน
นายสันติ นิลรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง กล่าวว่า สถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรมในพื้นที่จังหวัดตรังและกระบี่ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของหญ้าทะเล และได้รับงบประมาณแก้ปัญหาหญ้าทะเล 8 โครงการ มีการลงพื้นที่และทำ workshop ในพื้นที่ เป็นแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาหญ้าทะเล จ.ตรัง จ.กระบี่
สำหรับผลการบินสำรวจครั้งที่ 1 พบว่ามีน้ำขุ่น และทัศนวิสัยการมองเห็นไม่ดี ท่านอธิบดีสั่งการให้บินสำรวจใหม่อีกครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 พบพะยูนคู่แม่ลูก 3-4 คู่ และพบพะยูน 86-120 ตัว พะยูนน้อยลง พื้นที่การแพร่กระจายกว้างขึ้น ไปจนถึงเกาะสุกร และสิเกา และพบพะยูน จ.กระบี่ มากขึ้นกว่าเดิม อาจจะอพยพมาจากตรัง
พบการตายของพะยูน 23 ตัว ปี 2566 ปกติการเกยตื้นของพะยูน จ.ตรัง ประมาณ 10 ตัว ส่วนใหญ่สาเหตุพบมีอาการป่วยของพะยูน อาจเกิดจากการขาดแคลนอาหาร และในปี 2567 พบเกยตื้น 4 ตัว และต้องรอเดือนธันวาคม 2567 อาจมีการเกยตื้นเพิ่มขึ้นส่วนของโลมาและเต่า เท่าเดิม โดยพบเต่าทะเลเกาะมุกด์ 222 ตัว และลิบง 180 ตัว และเต่า 1 ตัวกินหญ้าทะเล 80 ไร่
สาเหตุการตายของหญ้าทะเล ตะกอนของหญ้าทะเลเพิ่มขึ้น ระดับน้ำทะเลขึ้นลงต่างจากเดิม 30 ซม.ทำให้ระยะเวลาหญ้าทะเลตากแห้งเพิ่มขึ้น 5 ชม.ต่อวัน ส่งผลให้หญ้าทะเลได้รับผลกระทบ จึงต้องมีการสต๊อกของหญ้าทะเลเก็บไว้ ม.เกษตร วิจัยขยายพันธ์หญ้าทะเลโดยการเพาะเนื้อเยื่อ ทดลองปลูกหญ้าทะเลในนากุ้งร้าง ควบคุมน้ำ เข้า ออก เพื่อเก็บพันธุ์หญ้าทะเลเอาไว้ ปัจจุบันพบหญ้าคาทะเล ในจังหวัดตรังมีน้อยมาก.
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี